ทบทวนอนามัยสิ่งแวดล้อม

วันพฤหัสบดีที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2553

โครงการ/กิจกรรมด้านการกำจัดแมลงและสัตว์นำโรค

โครงการกำจัดแหล่งเพาะพันธ์แมลง
โครงการชุมชนสะอาดปราศจากยุงลายปลอดภัยไข้เลือดออก
หมู่บ้าน    ตำบล   อำเภอ   จังหวัด
ประจำปี xxxx
……………………………….
1.หลักการและเหตุผล
     โรคไข้เลือดออกนับเป็นปัญหาสาธารณสุขไทยตลอดมา เพราะไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่สร้างความสูญเสียชีวิตและค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและความความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งที่ทุกฝ่ายได้ช่วยกันรณรงค์ป้องกันและควบคุมมาโดยตลอด และได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต่างทั้งภาครัฐและเอกชน พบว่าปัญหาโรคไข้เลือดออกไม่ได้ลดลงมากนัก และยังคงเป็นปัญหาสำคัญในระดับประเทศ
     สาเหตุหนึ่งที่ทำให้ปัญหาโรคไข้เลือดออกยังคงคุกคามชีวิตประชาชนชาวไทยคือการที่ประชาชนขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพิษภัยของโรคไข้เลือดออก และการไม่มีพฤติกรรมตื่นตัวร่วมกันป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก อันอาจมีสาเหตุเนื่องมาจากการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ของหน่วยงานราชการหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้านสาธารณสุขยังไม่ครอบคลุมถึงทุกครัวเรือเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจและวิธีปฏิบัติตนให้แก่ประชาชนในการรณรงค์  การป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกให้ประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
     คณะผู้ปฏิบัติงาน  จึงได้จัดทำโครงการชุมชนสะอาดปราศจากยุงลายปลอดภัยไข้เลือดออกเพื่อรณรงค์ป้องกันโรคไข้เลือดออกขึ้นในหมู่บ้าน  ตำบล   อำเภอ   จังหวัด

2.วัตถุประสงค์
          1.
เพื่อให้ทราบถึงสาเหตุของการโรคและการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก
          2. เพื่อเป็นการรณรงค์ให้ประชาชนในตำบลป้องกันโรคไข้เลือดออก
          3. เพื่อเป็นการให้ประชาชนร่วมมือกับทุกภาคส่วนป้องกันและกำจัดยุงลาย
          3. เพื่อลดอัตราการเกิดโรคไข้เลือดออกของประชาชนในพื้นที่
          4. เพื่อให้ประชาชนเกิดพฤติกรรมในการทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ         
            5. เพื่อลดความชุกของลูกน้ำยุงลาย         
            6. เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก
          7. เพื่อเป็นการลดอัตราการสูญเสียชีวิตเนื่องจากการเป็นโรคไข้เลือก
          8. เพื่อเน้นให้ชุมชนตระหนักถึงอันตรายของยุงลายและโรคไข้เลือกออก

3.ระยะเวลาดำเนินการ
     xxxx-xxxx
4.เป้าหมาย
      ประชากรกลุ่มเป้าหมายมีอัตราการเป็นโรคไข้เลือดออกในจำนวนที่ลดลง
5.วิธีดำเนินการ
1. จัดทำโครงการเพื่อเสนอหน่วยงาน
2. จัดหา  จัดเตรียม  วัสดุอุปกรณ์ให้มีความพร้อมในการปฏิบัติงาน
3. ประสานงานกับชุมชนและหน่วยงานอื่นๆที่เกี่ยวข้อง
4. แจ้งผู้นำชุมชน และ อสม. เพื่อนัดวันเวลาออกทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงและแจกทรายอะเบท
5. ประชาสัมพันธ์เสียงตามสายและหอกระจายข่าวชุมชนพร้อมทั้งสื่อต่าง ๆ
6. สำรวจลูกน้ำยุงลายตามชุมชน วัด โรงเรียน และสถานบริการสาธารณสุข พร้อมทั้งแจกทรายอะเบท
7. ออกฉีดพ่นสารเคมีกำจัดยุงตัวเต็มวัย
8. ออกติดตามตรวจลูกน้ำยุงลายในหมู่บ้านที่สามารถกำจัดลูกน้ำยุงลายได้ดี
9. ประชุมคณะกรรมการเพื่อประเมินหมู่บ้านที่ได้รับรางวัลและมอบรางวัล
10. ประเมินผลโครงการ
6.งบประมาณ จากหน่วยงานxxxx ซึ่งประกอบด้วย
                    - ค่าทรายอะเบท                                จำนวน  xxxx.-บาท
                   - ค่าน้ำยาพ่นหมอควัน                           จำนวน  xxxx.-บาท
                   - ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง                              จำนวน  xxxx.-บาท
                   - ค่าจัดทำสื่อโฆษณาประชาสัมพันธ์              จำนวน  xxxx.-บาท
                   - ค่าของรางวัลชุมชนที่ไม่มีไข้เลือดออก          จำนวน  xxxx.-บาท
7.สถานที่ดำเนินการ
     หมู่บ้าน(เป้าหมาย)ในเขตพื้นที่รับผิดชอบของหน่วยงาน(เป้าหมาย)
8.ผลที่คาดว่าจะได้รับ
     1. ประชาชนเกิดความรู้ ความเข้าใจในเรื่องไข้เลือดออก     2. ทำให้ประชาชนเกิดพฤติกรรมในการทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ     3. ทำให้สามารถลดความชุกของลูกน้ำยุงลาย     4. ทำให้สมารถลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก
9.หน่วยงานที่รับผิดชอบ
หน่วยงานที่เป็นเจ้าของโครงการ




โครงการปลูกพืชไล่แมลง
โครงการศึกษาผลการใช้มะกรูดควบคุมลูกน้ำยุงลาย
ตำบล อำเภอจังหวัด ปี
1.หลักการและเหตุผล
ปัจจุบันไข้เลือดออกเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ และพบว่ามีการระบาดอยู่เสมอ โรค
ไข้เลือดออก(Dengue Hemorrhagic Fever) เกิดจากเชื้อไวรัสเดงกี่ (Dengue Virus) ซึ่งมี 4 ชนิด
ได้แก่ ไวรัสเดงกี่ 1,ไวรัสเดงกี่ 2,ไวรัสเดงกี่ 3,ไวรัสเดงกี่ 4 โดยมียุงลายตัวเมียเป็นพาหะนำโรค เมื่อ
ร่างกายได้รับเชื้อไวรัสเดงกี่ ครั้งแรก จะมีอาการแสดงของโรคไม่รุนแรงและร่างกายจะสร้าง
แอนติบอดีย์ต่อเชื้อไวรัสเดงกี่ชนิดนั้น เมื่อร่างกายได้รับเชื้อไวรัสเดงกี่ชนิดใหม่ จะเป็นการติดเชื้อ
ครั้งที่สอง เรียกว่ามีการติดเชื้อทุติยภูมิ จะทำให้เกิดอาการของโรครุนแรงคือ มีอาการของโรค
ไข้เลือดออกและมีภาวะช็อค
จากรายงานการระบาดของโรคไข้เลือดออกในเขตพื้นที่xxxxxxxx พบว่า ปี xxxx มี
ผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก xxx รายคิดเป็นอัตราป่วย xx ต่อแสนประชากร และในเขตพื้นที่
รับผิดชอบของสถานีอนามัยxxxx พบผู้ป่วยไข้เลือดออก จำนวน x ราย คิดเป็นอัตราป่วย xxx
ต่อแสนประชากร จากผลการสำรวจลูกน้ำยุงลายในชุมชนxxxxxx ช่วงที่มีการระบาด
พบว่า ค่า HI= xx CI= xxxและมีผู้ป่วยไข้เลือดออก ปี xxxxจำนวน x ราย คิดเป็นอัตราป่วย xxx ต่อ
แสนประชากร
การควบคุมโรคดำเนินการโดยการพ่นหมอกควัน และใส่ทรายอะเบท ทำให้การควบคุม
ลูกน้ำยุงลายได้ผลดีในระดับหนึ่ง แต่การพ่นหมอกควันและใส่ทรายอะเบท มีต้นทุนในการ
ดำเนินการค่อนข้างสูง (ค่าใช้จ่าย ประมาณ 7,500 บาท/ครั้ง ) วัสดุอุปกรณ์มีไม่เพียงพอ (เครื่องพ่น
หมอกควันและน้ำยา)เพราะต้องหมุนเวียนกันใช้หลายหมู่บ้านและมีแผนการจัดซื้อน้ำยาพ่นหมอก
ควัน 1 ครั้ง/ปี หรือเฉพาะในช่วงที่มีการระบาด และใส่ทรายอะเบทมีข้อจำกัดในการใช้ เพราะมี
ประชาชนบางกลุ่ม เช่น เด็ก และผู้สูงอายุ มีอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้วิธีดังกล่าว (เด็กและ
ผู้สูงอายุมีผื่นแพ้จากการใช้น้ำที่ใส่ทรายอะเบท) ชาวบ้านxxxxxประกอบด้วย ผู้นำชุมชน อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) จึงได้คิดหานวัตกรรมการกำจัดลูกน้ำยุงลายแนวใหม่ เพื่อลดต้นทุนในการจัดซื้อวัสดุครุภัณฑ์ในการกำจัดลูกนํ้ายุงลายและลดอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ทรายอะเบท จากการศึกษาผลการใช้มะกรูดควบคุมลูกน้ำยุงลายควบคุมลูกน้ำที่บ้านxxxx ในการศึกษาผลการใช้มะกรูดควบคุมลูกน้ำยุงลาย) พบว่า ประชาชนร้อยละ xx ใช้มะกรูดในการควบคุมลูกน้ำยุงลาย ร้อยละ xxx ไม่พบอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้น้ำที่ใส่มะกรูด ร้อยละ xx เชื่อว่ามะกรูดสามารถควบคุมลูกน้ำยุงลายได้ ร้อยละ xx เห็นว่าควรจะมีการสนับสนุนให้ปลูกมะกรูดเป็นพืชสวนครัวในทุกครัวเรือน และร้อยละ xx มีความพึงพอใจในการใช้มะกรูดควบคุมและกำจัดลูกน้ำยุงลาย
จากภูมิปัญญานี้ ทำให้(ชื่อเจ้าของโครงการ)ต้องการพัฒนางานด้านการควบคุมโรคไข้เลือดออกในชุมชนให้ครอบคลุมพื้นที่รับผิดชอบ โดยชุมชนมีส่วนร่วม สนับสนุนภูมิปัญญาท้องถิ่น และสร้างเครือข่ายการใช้มะกรูดควบคุมลูกน้ำยุงลายในหมู่บ้าน และชุมชนใกล้เคียง (ชื่อเจ้าของโครงการ)จึงได้จัดทำโครงการศึกษาผลการควบคุมลูกน้ำยุงลายโดยใช้มะกรูด ขึ้น เพื่อให้ชุมชนได้ตระหนักในการดูแลสุขภาพของตนเอง ชุมชนมีความภาคภูมิใจเนื่องจากนวัตกรรมที่ใช้เกิดจากภูมิปัญญาท้องถิ่น ซึ่งส่งผลให้การดำเนินงานของชุมชนมีประสิทธิภาพเกิดความต่อเนื่องของกิจกรรมและช่วยลดอัตราการป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกได้
2.วัตถุประสงค์
2.1 เพื่อศึกษาผลการใช้มะกรูดควบคุมลูกน้ำยุงลายโดยชุมชนมีส่วนร่วม
2.2 เพื่อสร้างเครือข่ายแลกเปลี่ยนเรียนรู้การใช้มะกรูดควบคุมและกำจัดลูกน้ำยุงลายและ
ขยายผลสู่หมู่บ้านและอำเภอใกล้เคียง
2.3 เพื่อสนับสนุนการภูมิปัญญาท้องถิ่น และการใช้สมุนไพรในการควบคุมลูกน้ำยุงลาย
3.กลุ่มเป้าหมายในการศึกษา
กลุ่มเป้าหมาย ทั้งหมด xxx คน
3.1 อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ,ผู้นำชุมชน, สมาชิกองค์การบริหาร
ส่วนตำบลxxx จำนวน xหมู่บ้าน หมู่บ้านละ xxคน รวม xxxคน
4.กลวิธีดำเนินการ
ขั้นเตรียมการ
4.1ประชุมชี้แจงเจ้าหน้าที่ อาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.),ผู้นำชุมชน เพื่อแจ้งวัตถุประสงค์และวางแผนดำเนินการ
4.2 เสนอโครงการเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณ
4.3 จัดทำแผนปฏิบัติการของโครงการ เพื่อควบคุมกำกับและประเมินผลโครงการขั้นดำเนินการ
4.4 สำรวจลูกน้ำยุงลาย และภาชนะ โดย อสม.แต่ละหมู่บ้าน เปลี่ยนกันออก สำรวจข้อมูล
ในพื้นที่ (เขตตำบล xxx หลังคาเรือน)
4.5 จัดทำเวทีประชาคมแก่แกนนำ ผู้นำชุมชน จำนวน x หมู่บ้าน เพื่อ ระดมสมอง และค้นหาปัญหาการเกิดโรคไข้เลือดออกในชุมชน และหาแนวทาง/วางแผนการแก้ไขปัญหาโดยชุมชนมีส่วนร่วม
4.6 อบรมเชิงปฏิบัติการแก่กลุ่มแกนนำ เพื่อค้นหา ปัญหา สาเหตุ และแนวทางการแก้ไข) พร้อมจัดกิจกรรมรณรงค์ควบคุมลูกน้ำยุงลาย
4.7 เก็บรวบรวมข้อมูล ประเมินผลโครงการ
4.8 จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์เผยแพร่นวัตกรรม
ขั้นประเมินผลโครงการ
4.10 ประเมินการใช้มะกรูดในการควบคุมและกำจัดลูกน้ำยุงลาย โดยประเมินจากการสำรวจลูกน้ำยุงลาย โดย อสม.แต่ละหมู่บ้านเปลี่ยนกันออกสำรวจ
- ค่า HI< 10 CI=0
4.11 ประเมินผลความพึงพอใจ ในการใช้มะกรูดควบคุมลูกน้ำยุงลาย โดยใช้แบบสอบถาม
5.ระยะเวลาดำเนินการ
xxxx-xxxx
6.การประเมินผล
7.1 ประเมินผลจากการสำรวจความพึงพอใจของครัวเรือนที่ตอบแบบสอบถาม จำนวนxxx หลังคาเรือน
7.2 จากการสัมภาษณ์ ด้านความรู้ ทัศนคติ ในการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก
7.3 การสำรวจลูกน้ำยุงลาย ค่าHI <10 , CI =0 (ในครัวเรือนที่ใช้นวัตกรรมการควบคุมลูกน้ำยุงลายโดยใช้มะกรูด )
7.หน่วยงานที่รับผิดชอบ
8. KPI:
8.1 ค่า HI<10, CI=0
8.2 อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก < 50 ต่อประชากรแสนคน
9. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
9.1 ชุมชนมีส่วนร่วมในการควบคุมและกำจัดลูกน้ำยุงลายโดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นซึ่ง
ส่งผลให้การดำเนินงานด้านการควบคุมโรคไข้เลือดออกของชุมชนมีประสิทธิภาพเกิดความ
ต่อเนื่อง และยั่งยืน
9.2 มีเครือข่ายการใช้มะกรูดควบคุมและกำจัดลูกน้ำยุงลายในชุมชนและหมู่บ้านใกล้เคียง
เพื่อเป็นการการขยายผลการใช้ภูมิปัญญาท้อง
9.3 เกิดนวัตกรรมใหม่ในการควบคุมลูกน้ำยุงลายโดยใช้มะกรูด และนวัตกรรมใหม่เป็นที่
ยอมรับของชุมชนและหน่วยงานอื่นๆ
10. ผู้เขียนโครงการ
โครงการสำรวจ/ทำลายลูกน้ำยุง
โครงการรณรงค์สำรวจลูกน้ำยุงลาย ป้องกันไข้เลือดออก
หมู่ที่ x ตำบลxxz อำเภอxxxจังหวัดxxxxx
ปีงบประมาณ xxxx
หลักการและเหตุผล
                จากรายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา (รง.506) ของเครือข่ายบริการสาธารณสุข อำเภอxxxเกี่ยวกับสถานการณ์ของไข้เลือดออกพบว่า อุบัติการณ์ของไข้เลือดออกยังเป็นปัญหาทางสาธารณสุขของพื้นที่อำเภอxxxxเป็นอย่างมากด้วยเหตุผลหลายประการด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นปัญหาของแรงงานต่างถิ่น การย้ายที่อยู่ซึ่งเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ปัญหาการแพร่กระจายของเชื้อ ปัญหาชุมชนแออัด รวมทั้งปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการระบาดของโรค จากการศึกษาย้อนหลัง 5 ปี พบว่าปี พ.ศ.xxxx -xxxxมีผู้ป่วยจำนวน xxx ราย จากอุบัติการณ์โรคดังกล่าวพบว่า การระบาดของโรคไข้เลือดออก อำเภอxxxxเป็นแบบเว้น x ปี ระบาดหนัก 1 ปี หากนับตามปรากฏการณ์ดังกล่าว ปี xxxx    จะ เป็นปีที่เกิดการระบาดใหญ่อีกครั้ง  จากการวิเคราะห์อุบัติการณ์ของโรคในเดือนxxxx พบว่า มีจำนวนผู้ป่วยสูงกว่าช่วงระยะเวลาเดียวกันในปี xxxx ซึ่งมีแนวโน้มว่าไข้เลือดออกจะระบาดก่อนช่วงเวลาปกติ ซึ่งมักจะพบการระบาดในเดือนxxxx
จากเหตุการณ์ดังกล่าว รวมทั้งปัจจัยทางสังคมของอำเภอxxxx ซึ่งไม่เหมือนกับพื้นที่อื่นๆ ทั้งในด้านกายภาพ , ภูมิประเทศ , ฤดูกาลที่มีฝนตกเป็นช่วงๆ และการเคลื่อนย้ายของประชากร (หน่วยงานรับผิดชอบ) มีความจำเป็นต้องรีบดำเนินการป้องกันการระบาดของโรคที่จะเกิดขึ้น และกำหนดให้มีการรณรงค์การกำจัดลูกน้ำยุงลายและทำลายภาชนะขังน้ำที่ไม่จำเป็นที่มีอยู่ในชุมชนให้ได้มากที่สุด เพื่อเป็นการป้องกันโรคล่วงหน้า

วัตถุประสงค์
 1. เพื่อให้ อสม. ชุมชนมีส่วนร่วมในการทำลายลูกน้ำยุงลายในชุมชน
2. เฝ้าระวังพฤติกรรมการทำลายลูกน้ำยุงลาย
3. คนรู้จักป้องกันการแพร่กระจายเชื้อในชุมชน

พื้นที่เป้าหมาย
กลวิธีดำเนินงาน
1. อสม./กรรมการชุมชน ร่วมกันจัดทำแผนและโครงการ
2. จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ ในการดำเนินการในพื้นที่สำหรับ อสม./กรรมการชุมชน
3. แบบสำรวจ/วัสดุภัณฑ์ / เคมีภัณฑ์ ในการกำจัดลูกน้ำ
4. ให้ความรู้เรื่องไข้เลือดออก
4.สอนทักษะการใช้อุปกรณ์ ทรายอะเบท แบบสำรวจ
4. ดำเนินการ พ่นสารเคมีในชุมชน ช่วงรณรงค์
5. เคาะประตูบ้านให้เจ้าบ้านมีส่วนร่วมในการกำจัดลูกน้ำ
 6. แจกรางวัลสำหรับเขตรับผิดชอบของ อสม.ที่ไม่มีลูกน้ำยุงลาย

ระยะเวลาดำเนินการ
พื้นที่ดำเนินการ

ผู้รับผิดชอบโครงการ

งบประมาณ         
               
                2.1 ทรายอะเบท   จำนวน xxx ซอง 
                2.2 สารเคมีกำจัดยุง จำนวน x ลิตร
                2.3 เครื่องพ่นฝอยละออง(ULV.) x เครื่อง
3. ของรางวัลจำนวน x ชิ้น ๆ ละ xxx บาท เป็นเงิน  xxxx  บาท
รวมเงินสนับสนุนจากเทศบาลตำบลเกาะสมุย เป็นเงินทั้งสิ้น xxxxบาท
รวมเงินทั้งโครงการเป็นเงิน xxxx.-บา ท (หกพันบาท)

ผลที่คาดว่าจะได้รับ
                1. ค่าดัชนี HI. CI. ของลูกน้ำในชุมชนที่รับผิดชอบ ไม่ควรมีค่ามากกว่า 10
                2. อสม. และประชาชนมีพฤติกรรมการทำลายลูกน้ำที่ถูกต้อง
                3. อุบัติการณ์โรคไข้เลือดออก ต่ำกว่าในระยะเวลาเดียวกันของปี xxxx
                4. ประชาชนในเขตรับผิดชอบมีทักษะในการป้องกันไม่ให้ยุงกัด

 การประเมินผล
1. อสม. คนในชุมชนทุกคนเข้าร่วมกิจกรรม และ มีความเข้าใจในกระบวนการป้องกันควบคุมไข้เลือดออกเป็นอย่างดี
2. แบบสอบถามพฤติกรรมการทำลายลูกน้ำ และสอบถามการป้องกันไม่ให้ยุงกัด
3. ติดตามโดยเฝ้าระวังสำรวจลูกน้ำโดย อสม.ทุกเดือน


โครงการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น