ทบทวนอนามัยสิ่งแวดล้อม

วันพฤหัสบดีที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2553

คำถามสำหรับการนิเทศงานครั้งที่1

กระบวนการวินิจฉัยชุมชน
1. ขั้นตอนหลักของการวินิจฉัยชุมชนมีอะไรบ้าง
-เลือกเขตพื้นทีที่สนใจเบื้องต้น
-การเตรียมตัวเพื่อหาข้อมูล
-หาข้อมูลที่มีอยู่เดิม (secondary data)
-วิเคราะห์ จัดกลุ่มปัญหา และวางแนวทางในการวินิจฉัยชุมชน
-การทดสอบแบบสอบถาม
-การเตรียมตัวเพื่อออกสำรวจชุมชน
-การสำรวจชุมชนและบันทึกข้อมูล
-การลงข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล และแปลความข้อมูล
-การเรียงลำดับปัญหา
-การคัดเลือกปัญหาและจัดทำโครงการเพื่อแก้ปัญหา
- นำเสนอหน้าห้องเรียนต่อหน้าผู้เกี่ยวข้อง

2. การเตรียมตัวเพื่อหาข้อมูลที่มีอยู่เดิม (secondary data) ต้องทำอะไรบ้าง
2.1. วัตถุประสงค์
-. เพื่อให้มีความเข้าใจต่อกระบวนการทำงานก่อนและเมื่อออกค้นหาข้อมูลของชุมชนที่มีอยู่เดิม
-. มีการวางแผนและทำงานเป็นทีม
-. มีการเตรียมหัวข้อที่จะค้นหา แบ่งงาน และวิธีการค้นหาข้อมูล/การบันทึกข้อมูล
2.2. กิจกรรมสำคัญ/การเรียนรู้
-. กิจกรรมกลุ่มย่อย
- ใช้เอกสารอ้างอิงที่อาจารย์แนะนำในการทำกิจกรรม
2.3. การประเมินผล
-. ประเมินการทำกิจกรรมกลุ่ม
2.4. หัวข้อสำคัญ ตอบคำถามต่อไปนี้และจัดกรอบของการออกหาข้อมูลในครั้งแรกที่สถานีอนามัย
-. ชุมชนที่เรารับผิดชอบมีชื่อว่าอะไร เราเคยรู้จักมาก่อนหรือไม่และมีข้อมูลมากน้อยเพียงใด ตั้งอยู่บริเวณใด ห่างจากสถานีอนามัยเท่าไร ฯลฯ
- ชุมชนนี้มีประวัติเป็นมาอย่างไร ต้องสืบถามจากใครจึงจะได้ข้อมูลที่น่าเชื่อถือ
- ชุมชนนี้มีลักษณะอย่างไร
1. มีระบบชุมชนอย่างไร เช่น องค์กร โครงสร้างสังคมและครอบครัว เครือข่ายสำคัญ การเชื่อมโยง และแหล่งทุนทางสังคมและการเงินที่สำคัญ
2. มีวัฒนธรรมอย่างไร เช่น ความเชื่อ วิถีชีวิต การสื่อสาร และการยอมรับ/ใช้เทคโนโลยี ความสนใจและมีส่วนร่วมกับระบบสุขภาพ
3. การปกครองท้องถิ่นมีลักษณะอย่างไร เช่น ระบบและโครงสร้างบริหารท้องถิ่น ผู้นำชุมชน ผู้นำกลุ่มย่อย และหน่วยงานภาคประชาชน ทั้งนี้ต้องคำนึงถึงความเชื่อมโยง การมีส่วนร่วม กระบวนการตัดสินใจ ปัญหา และการตรวจสอบหรือประเมินผล
4. ระบบเศรษฐกิจเป็นอย่างไร เช่น อาชีพ แหล่งทำมาหากิน อัตราการจ้างงาน/ตกงาน รายได้ต่อหัวประชากร/ครัวเรือน แหล่งสนับสนุนทุน ตลอดจนการเข้าถึง และการเปลี่ยนแปลงในช่วงที่ผ่านมา
5. สภาพภูมิศาสตร์เป็นอย่างไร (geography) เช่น ที่ตั้ง มีพื้นที่มากน้อยเพียงใด มีแผนที่เป็นอย่างไร(การกระจายครัวเรือน ปัญหาสุขภาพ และแหล่งสำคัญในชุมชน เขตติดต่อ สิ่งแวดล้อม มีกี่แบ่งเขตอย่างไร (พื้นที่ทางเศรษฐกิจ พื้นที่อยู่อาศัย) สถานที่/หน่วยงานสำคัญ (เช่น อบต.โรงเรียน ตลาด) มีการแบ่งเป็นเขตเมือง ชานเมือง และชนบทอย่างไร การคมนาคมขนส่ง(การไปมาหาสู่ อาหาร/สินค้าไปโรงพยาบาล/สถานพยาบาล)
ตัวอย่างการเขียนแผนที่ชุมชนที่แสดงจุดสำคัญ
6. ประชากรศาสตร์ (demography) เช่น จำนวนประชากร การกระจายด้านโครงสร้างอายุ อาชีพ เผ่าพันธุ์/ชนชาติ
-. ระบบสุขภาพในชุมชนเป็นอย่างไร ทั้งแผนปัจจุบันหรือแผนอื่น ภาคราชการภาคเอกชน และภาคประชาชน จำนวน (ปริมาณ) ความพอเพียง ตลอดจนความครอบคลุมและการเชื่อมโยงกับหน่วยงานอื่นและการเข้าถึงบริการ เป็นต้น
-. ระบบการศึกษาในชุมชนเป็นอย่างไร เช่น โรงเรียน ระดับการศึกษา สุขอนามัยในโรงเรียน
-. สุขภาพชาวบ้านในชุมชนเป็นอย่างไร เช่น
1. สภาวะทางสุขภาพในภาพรวม และตัวชี้วัดที่สำคัญ เช่น อัตราเกิดอัตราตาย อัตราการตายปริกำเนิด อัตราตายของมารดา อัตราการเกิดโรคที่สำคัญ ตลอดจนการจัดลำดับสภาวะสุขภาพเมื่อเปรียบเทียบกับเพื่อนที่ข้างเคียง
2. ปัญหาสุขภาพที่พบบ่อยในสถานีอนามัย
3. ปัญหาสุขภาพที่พบบ่อยในชุมชน
4. สาเหตุการตาย 5 อันดับแรกในชุมชน
5. ความเชื่อ/ใส่ใจ/มีส่วนร่วมในสุขภาพของชาวบ้าน
6. ลักษณะการใช้บริการสุขภาพทั้งในและนอกชุมชน
7. ความต้องการทางสุขภาพของชาวบ้านเป็นอย่างไร
8. ความต้องการทางสุขภาพของชาวบ้าน
9. การแก้ปัญหา/ความร่วมมือของชาวบ้าน
10. ภาระงานและกิจกรรมที่สำคัญของสถานบริการสุขภาพในชุมชน
11. ความต้องการของบุคลากรทางสุขภาพในชุมชน
12. ความต้องการของสถานบริการสุขภาพในชุมชน
13. ระบบประกันสุขภาพ/สิทธิการรักษา
7. ภัยคุกคามและปัญหาสิ่งแวดล้อม
1. เสียง กลิ่น ฝุ่น
2. ยาเสพติด
3. ขโมย และความปลอดภัยในทรัพย์สิน
4. อุบัติเหตุทางจราจร/งาน
8. ปัญหาเฉพาะสำหรับพื้นที่มีหรือไม่ อะไรบ้าง เช่น การระบาดของยาเสพติดไข้เลือดออก ผู้สูงอายุ โรคเรื้อรัง
3. การเตรียมการณ์
1. การกำหนดวัน/เวลา/สถานที่ทำกิจกกรม
2. การเดินทาง
3. การเตรียมชุมชน เช่น การนัดหมายเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ การเข้าพบผู้นำ/ผู้ปกครองส่วนท้องถิ่น การนัดชาวบ้าน การประชาสัมพันธ์
4. การเตรียมตัวของนักศึกษา เช่น โครงสร้าง การแบ่งหน้าที่/งาน
5. แบบบันทึกและการบันทึกข้อมูล
6. แหล่งข้อมูลที่จะหาข้อมูลแต่ละประเภทจะได้จากแหล่งใด เช่น หนังสือ วารสารรายงานประจำปี เจ้าหน้าที่ ผู้นำ และชาวบ้าน
7. การประสานงานกับอาจารย์นิเทศ ครูพี่เลี้ยง
8. กิจกรรมและกระบวนการหลังได้ข้อมูล
1. การรวบรวมข้อมูล
2. การวิเคราะห์ข้อมูล
3. การแปลความ
4. การนำไปใช้
การสืบค้นหาข้อมูลที่มีอยู่เดิมนั้นไม่จำเป็นต้องได้ครบในคราวเดียว และอาจจำเป็นต้องใช้แหล่งข้อมูลหลายแหล่ง ถ้าไม่ได้ข้อมูลจริงอาจใช้โอกาสที่ออกสำรวจหาข้อมูลระดับปฐมภูมิในการหาข้อมูลต่อไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น