ทบทวนอนามัยสิ่งแวดล้อม

วันพฤหัสบดีที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2553

ความรู้พื้นฐานด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม(การจัดการสิ่งปฏิกูล)

1
สิ่งปฏิกูล
นิยามและความหมาย
สิ่งปฏิกูล หมายถึงของเสียที่ปล่อยออกมาจากร่างกายโดยมีน้ำหนักแห้ง 27 กรัมต่อคนต่อวัน น้ำหนักเปียก 100-200 กรัมต่อคนต่อวัน มี E. coli ประมาณ 400 พันล้านต่อคนต่อวัน มีฟิคัลโคลิฟอร์ม 2000 พันล้านต่อคนต่อวัน มีฟิคัลสเตรปโตคอกไคประมาณ 450 พันล้านต่อคนต่อวัน
อีกความหมายหนึ่ง
สิ่งปฏิกูล หมายถึง อุจจาระหรือปัสสาวะ และหมายรวมถึงสิ่งอื่นใดซึ่งเป็นสิ่งโสโครกหรือมีกลิ่นเหม็นความจำเป็นในการบำบัดและกำจัดสิ่งปฏิกูลเนื่องจากว่าอุจจาระ มีเชื้อโรค เช่น E.coli ปนเปื้อนอยู่ ซึ่งสามารถติดต่อมายังมนุษย์ได้ ไม่ว่าจะเป็นการผ่านทางอาหารหรือน้ำเป็นสื่อ เมื่อมนุษย์ได้รับเข้าไปอาจก่อให้เกิดโรคได้ จึงมีความจำเป็นที่จะต้องมีการบำบัดและกำจัดสิ่งปฏิกูลให้ดีและถูกต้องเพื่อความปลอดภัยของมนุษย์
วัตถุประสงค์ในการบำบัดและกำจัดสิ่งปฏิกูล
เพื่อที่จะทำลายเชื้อโรคหรือป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรคที่ปนเปื้อนมากับสิ่งฏิกูลและเพื่อทำการย่อยสลายสารอินทรีย์ในสิ่งฏิกูลไม่ให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อมต่างๆ เช่น มลพิษทางน้ำ มลพิษทางดิน เป็นต้น เช้อืโรคที่ปนเปื้อนมากับสิ่งฏิกูลมักทำให้เกิดโรคทางระบบทางเดินหายใจเป็นส่วนใหญ่ จึงต้องทำการสกัดกั้นการแพร่กระจายของเชื้อโรคจากสิ่งฏิกูลไม่ให้แพร่กระจายไปได้
ระบบบำบัดและการกำจัดสิ่งปฏิกูล
หมายถึงระบบที่นำมาใช้ในการเปลี่ยนสภาพของเสียในสิ่งปฏิกูลให้อยู่ในสภาพที่ปลอดภัยจากการเกิดโรคไม่ก่อให้เกิดอันตรายแล้วจึงทำการกำจัดทิ้งไปหรือใช้ประโยชน์อย่างอื่น เช่น ทำปุ๋ย เชื้อเพลิง ฯลฯ โดยระบบบำบัดและการกำจัดสิ่งปฏิกูลอันดับแรกเรามักเรียกว่าส้วมซึ่งมีหลายลักษณะแล้วแต่จะเลือกใช้ตามความเหมาะสมของแต่ละคนหรอแต่ละท้องถิ่น ซึ่งแบ่งได้เป็น 4 กลุ่ม ซึ่งบางกลุ่มอาจไม่เหมาะสมที่จะนำมาใช้เพราะอาจเกิดปัญหาสิ่งแวดล้อม แต่จะขอกล่าวเพื่อเป็นความรู้พื้นฐานของการบำบัดและการกำจัดสิ่งปฏิกูล ดังนี้
1.ระบบไม่ใช้น้ำ สิ่งปฏิกูลถูกนำไปบำบัดและกำจัดนอกอาคารหรือนอกบริเวณที่ตั้งอาคาร ( Dry system,off-site treatment and disposal )คือระบบบำบัดและกำจัดสิ่งปฏิกูลมที่ไม่ใช้น้ำราดหรือขับเคลื่อนสิ่งปฏิกูลลงถังเก็บ และสิ่งปฏิกูลจะถูกนำไปบำบัดนอกอาคาร ซึ่งไม่ใช่วิธีที่ถูกสุขลักษณะนักเนื่องจากอาจมีการปนเปื้อนในระหว่างการเดินทางไปกำจัดโดยระบบดังกล่าวมีใช้อยู่ 3 ประเภท คือ
1.1 ส้วมถังเท (Bucket Latrine) ลักษณะของส้วมคือมีที่เก็บกักสิ่งปฏิกูลเป็นถัง ตัวเรือนส้วมและมีพื้นที่ส้วมที่มีรูหรือช่อง ให้มีขนาดโตพอที่สิ่งปฏิกูลจะตกลงไปได้ โดยต้องมีที่ปิดฝาถังที่มิดชิดเพื่อป้องกันแมลงลงไป จากนั้นเมื่อเต็มก็นำไปบำบัดต่อไป
1.2 ส้วมเคมี (Chemical Toilets) อาจจัดไว้ในพวกส้วมถังเท แต่ต่างกันตรงที่มีการใช้สารเคมีย่อยสลายสารอินทรีย์และทำลายเชื้อโรคในสิ่งปฏิกูล
1.3ส้วมหลุมตัน (Vault Privies) ลักษณะของส้วมคือมีหลุมกักเก็บสิ่งปฏิกูลซึ่งสร้างด้วยวัสดุที่ป้องกันไม่ให้น้ำซึมเข้าออกได้ เช่น ทำด้วยคอกรีต เหล็กไร้สนิม ไฟเบอร์กลาส
2.ระบบไม่ใช้น้ำ สิ่งปฏิกูลถูกนำไปบำบัดและกำจัดภายในอาคารหรือภายในบริเวณที่ตั้งอาคาร ( Dry system, on -site treatment and disposal )สิ่งปฏิกูลจะถูกนำไปบำบัดและกำจัดภายในอาคารหรือบริเวณที่ตั้งอาคาร จะไม่ใช้น้ำเป็นตัวขับเคลื่อนสิ่งปฏิกูล และสิ่งปฏิกูลจะถูกบำบัดแลกำจัดภายในที่กักเก็บจนกว่าจะเกิดการย่อยสลายสิ่งปฏิกูลอย่างสมบูรณ์และมีความปลอดภัย แล้วจึงนำกากตะกอนหรือของเหลวที่ผ่านการบำบัดแล้วไปกำจัดให้เหมาะสมต่อไป เช่น ทำปุ๋ย ถมที่ลุ่ม ปรับสภาพดิน เป็นต้น ซึ่งการบำบัดด้วยวิธีนี้ได้แก่
2.1 ส้วมหลุม (Pit Privies) ไม่ใช้น้ำในการขับเคลื่อนสิ่งปฏิกูล ลักษณะทำเป็นหลุมดิน ใหหลุมมีขนาดเพียงพอที่จะย่อยสลายอย่างสมบูรณ์และปลอดภัยได้
2.2 ส้วมหมัก (Composting Latrines) ไม่ใช้น้ำในการขับเคลื่อนสิ่งปฏิกูล มีวัตถุประสงค์ของการใช้ส้วมชนิดนี้คือจะใช้หมักทำปุ๋ย
2.3 ส้วมร่องดิน (Trench Latrines) ไม่ใช้น้ำในการขับเคลื่อนสิ่งปฏิกูล ลักษณะเป็นร่องดินที่ขุดเป็นแนวตามยาวเมื่อใช้งานเสร็จก็จะกลบ มักใช้กับกรณีที่อาศัยอยู่ชั่วคราว เช่น ค่ายทหาร แคมป์ลูกเสือ เป็นต้น
2.4 ส้วมแขวน (Overhang Latrines) ลักษณะของส้วมแขวนประกอบด้วยตัวเรือนส้วมและพื้นที่ส้วมที่สร้างบนเสาไม้เหนือน้ำตามริมฝั่งแม่น้ำ ทะเล หรือมหาสมุทร
3.ระบบใช้น้ำ สิ่งปฏิกูลถูกนำไปบำบัดและกำจัดนอกอาคารหรือนอกบริเวณที่ตั้งอาคาร ( Wet system, offsite treatment and disposal )หมายถึงระบบที่ใช้น้ำในการขับเคลื่อนสิ่งปฏิกูลลงสู่ที่กักเก็บและสิ่งปฏิกูลถูกบำบัดภายในถังกักเก็บ แล้วปล่อยส่วนที่เป็นของเหลวที่ยังคงมีสารอินทรีย์และเชื้อโรคไปบำบัดและกำจัดต่อโดยท่อระบายน้ำเสียไปยังระบบบำบัดน้ำเสียศูนย์กลางภายนอกอาคาร
4.ระบบใช้น้ำ สิ่งปฏิกูลถูกนำไปบำบัดและกำจัดในอาคารหรือบริเวณ ( Wet system, on-site treatment and disposal )หมายถึงระบบที่ใช้น้ำในการขับเคลื่อนสิ่งปฏิกูลลงสู่ที่กักเก็บและสิ่งปฏิกูลถูกบำบัดภายในถัง กักเก็บ อาจมีการแบ่งชนิดของส้วมตามลักษณะที่ใช้น้ำและลักษณะของหลุมที่เก็บกักสิ่งปฏิกูลได้หลายอย่าง แต่ที่นิยมใช้กันอยู่ในปัจจุบันคือ
4.1 ส้วมราดน้ำ (Pour-flush Toilet) เป็นส้วมที่ให้มีน้ำขังอยู่ใต้พื้นส้วมซึ่งมีการออกแบบที่รองรับให้น้ำขังอยู่ ถังเกรอะ หรือ บ่อเกรอะ (Septic Tanks) เป็นส้วมระบบที่ใช้น้ำและให้มีน้ำขังอยู่ที่โถส้วมแบบราดน้ำหรือแบบชักโครกผลักดันน้ำไหลไปยังที่เก็บกักสิ่งปฏิกูล เพื่อการบำบัดและกำจัดสิ่งปฏิกูลในถังเกรอะซึ่งสร้างไว้ห่างจากพื้นส้วมโดยมีท่อนำสิ่งปฏิกูลลงสู่ถังข้อมูลที่ควรนำมาพิจารณาเลือกใช้ระบบบำบัดและกำจัดสิ่งปฏิกูลโดยทั่วไปแล้วข้อมูลที่ควรนำมาพิจารณาเลือกใช้ระบบบำบัดและกำจัดสิ่งปฏิกูล มีดังต่อไปนี้
1.สภาพภูมิอากาศ ซึ่งได้แก่ อุณหภูมิ และปริมาณน้ำฝนที่ตกในท้องถิ่นนั้น เป็นต้น
2.สถานที่ตั้งของระบบ ได้แก่ สภาพภูมิประเทศ ลักษณะของดิน อุทกวิทยา เป็นต้น
3.ประชากรเป็นอย่างไร ได้แก่ จำนวนประชากรทั้งในปัจจุบันและอนาคต ลักษณะของบ้านที่อยู่อาศัย
4.สุขภาพของคนในบ้านทุกกลุ่มเป็นอย่างไร ระดับรายได้ ความเชี่ยวชาญในการสร้างส้วมของคนในท้องถิ่นสาธารณูปโภค เป็นต้น
5.การอนามัยสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นเป็นอย่างไร การปรับปรุงคุณภาพน้ำเป็นอย่างไร และการกำจัดสิ่งปฏิกูลมีหรือไม่ถ้ามีเป็นอย่างไร เป็นต้น
6.องค์ประกอบทางสังคมและวัฒนธรรมเป็นอย่างไร ความสนใจของประชาชนเป็นอย่างไร ระดับความรู้เรื่องสุขวิทยาของประชาชนเป็นอย่างไร เป็นต้น
สรุป
สิ่งปฏิกูลเป็นสิ่งที่จะต้องมีการบำบัดและกำจัด เพราะว่าสิ่งปฏิกูลเป็นแหล่งเพาะพันธุ์โรค หรือแพร่การกระจายเชื้อโรค ไม่ว่าจะทางอาหารหรือน้ำเป็นสื่อ เมื่อมนุษย์ได้รับเชื้อโรคเข้าไปก็จะทำให้เกิดโรคได้ โดยที่มีการบำบัด และกำจัดได้ด้วยวิธีต่าง ๆ ได้แก่ ระบบไม่ใช้น้ำ สิ่งปฏิกูลถูกนำไปบำบัดและกำจัดนอกอาคารหรือนอกบริเวณที่ตั้งอาคาร ระบบไม่ใช้น้ำ สิ่งปฏิกูลถูกนำไปบำบัดและกำจัดภายในอาคารหรือภายในบริเวณที่ตั้งอาคารระบบใช้น้ำสิ่งปฏิกูลถูกนำไปบำบัดและกำจัดนอกอาคารหรือนอกบริเวณที่ตั้งอาคารระบบใช้น้ำ และสิ่งปฏิกูลถูกนำไปบำบัดและกำจัดในอาคารหรือบริเวณ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นต้องคำนึงถึงความเหมาะสมด้วย เช่น สภาพภูมิอากาศ สถานที่ตั้งของระบบ องค์ประกอบทางสังคมและวัฒนธรรม เป็นต้น
ประเภทของส้วมในประเทศไทย
1.       ส้วมหลุม
ส้วมหลุม ถือเป็นส้วมแบบแรกที่คนไทยใช้ เป็นหลุมดินมีทั้งที่ใช้เป็นแบบหลุมแห้งหรือหลุมเปียกที่ขุดเป็นหลุมกลมหรือหลุมสี่เหลี่ยม แล้วปลูกตัวเรือนครอบหลุมไว้ อาจมีไม้กระดาน 2 แผ่นพาดปากหลุมสำหรับนั่งเหยียบและเว้นช่องตรงกลางไว้สำหรับถ่ายทุกข์หรือทำฐานโดยใช้แผ่นไม้กระดานมาปิดปากหลุมแล้วเจาะช่องสำหรับถ่าย ตำแหน่งของส้วมหลุมมักจะสร้างไว้ไกลจากบ้านพอสมควรเพื่อแก้ปัญหาเรื่องกลิ่นเหม็น เมื่อหลุมเต็มก็กลบหลุม ย้ายไปขุดที่ใหม่ ส้วมหลุมที่มีลักษณะถูกต้องตามแบบของกรมสุขาภิบาลต้องมีฝาปิดและมีท่อระบายอากาศ อาจทำจากไม้ไผ่ทะลุปล้องให้เป็นท่อกลวง เจาะทะลุพื้นส้วมเป็นการลดกลิ่นเหม็นจากภายในหลุมส้วม
คนไทยสร้างส้วมหลุมลักษณะดังกล่าวใช้กันมาแต่โบราณ ส้วมหลุมมีปรากฏชัดเจนในสมัยรัชกาลที่ 6 ในยุคที่รัฐเข้ามาจัดการเรื่องส้วมของประชาชนนับตั้งแต่ทศวรรษ 2440 ส้วมที่กรมสุขาภิบาลแนะนำในสมัยนั้นคือส้วมหลุมและส้วมถังเท[14]
2.       ส้วมถังเท
ส้วมถังเทมีลักษณะคล้ายส้วมหลุมแต่ใช้ถังวางไว้ในหลุมใต้ฐานไม้สำหรับรองรับอุจจาระของผู้ขับถ่าย เป็นการกำจัดอุจจาระที่ยึดหลักการถ่ายอุจจาระลงถังที่เตรียมไว้แล้วจึงนำไปทิ้ง การเก็บและบรรทุกถังไปชำระตามปกติ[14] โดยมากจะทำการเก็บและบรรทุกถังอุจจาระไปเททิ้งทำกันวันละครั้ง
บริษัทสอาดก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2440 ถือเป็นบริษัทแห่งแรกในพระนครที่ดำเนินการรับจ้างขนเทอุจจาระ ในช่วงแรกของการดำเนินกิจการตั้งอยู่ที่บางขุนพรหม กิจการของบริษัทสอาดดำเนินการมาประมาณ 20 ปี ก็ได้ขายกิจการต่อให้กับบริษัทออนเหวง ถือเป็นบริษัทรับขนเทอุจจาระรายใหญ่ที่สุดในกรุงเทพฯ รับเหมาสัมปทานเวจสาธารณะของกรมสุขาภิบาลและของประชาชนทั่วไปในกรุงเทพ
อัตราค่าถังเท ถังละประมาณหนึ่งบาทหรือหกสลึงต่อเดือน ไม่บังคับใช้หากใครไม่อยากจะใช้ระบบถังเทก็ไปใช้บริการสาธารณะได้เช่นกัน เมื่อซื้อถังไปแล้ว ลูกค้าก็จะนำไปใช้แล้ว ทุกคืนราวเที่ยงคืน บริษัทก็จะออกเก็บโดยใช้วัวสองตัวลากรถบรรทุกที่ปิดกั้นด้วยแผ่นสังกะสีทั้งสี่ด้าน แต่ด้านหลังเป็นบานประตูเปิดปิดได้ คันหนึ่งก็รับถังได้ประมาณ 30-40 ถัง จะมีพนักงานเอาถังใหม่มาเปลี่ยนกับถังเก่า[15] แต่เนื่องจากส้วมถังเทเป็นส้วมที่ยากต่อการดูแลรักษา และการควบคุมให้ปลอดภัยต่อการแพร่ของเชื้อโรค ทางการจึงไม่ส่งเสริมให้ประชาชนใช้[14]
3.       ส้วมบุญสะอาด
ส้วมบุญสะอาดประดิษฐ์โดยนายอินทร์ บุญสะอาด ผู้ตรวจการสุขาภิบาลประจำอำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2474 คือส้วมหลุมที่มีลักษณะพิเศษ กล่าวคือฝาปิดหลุมส้วมมีลักษณะเป็นลิ้นและลิ้นนี้จะเข้าไปขัดกับประตูส้วม คนที่เข้าส้วมต้องใช้เท้าถีบให้ลิ้นที่เป็นฝาปิดนี้ไปขัดกับประตูและจะมีส่วนยื่นออกมานอกประตู จะทำให้คนข้างนอกรู้ว่ามีคนใช้งานอยู่ เมื่อถ่ายเสร็จแล้วผู้ใช้จะต้องปิดฝาส้วมไว้ตามเดิม มิฉะนั้นจะไม่สามารถเปิดประตูส้วมออกมาข้างนอกได้ เป็นกลไกเพื่อป้องกันการลืมปิดฝาหลุม[16]
4.       ส้วมคอห่าน
ผู้ประดิษฐ์ ส้วมคอหงษ์ หรือ คอห่านคือพระยานครพระราม (สวัสดิ์ มหากายี) อดีตสมุหเทศาภิบาล ผู้สำเร็จราชการมณฑลพิษณุโลก เมื่อปี พ.ศ. 2467 ขณะดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดสวรรคโลกและจังหวัดอุตรดิตถ์ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่รัฐบาลร่วมมือกับมูลนิธิร็อกกี้เฟลเลอร์ทำโครงการปราบโรคพยาธิปากขอ และรณรงค์ให้ราษฎรให้ใช้ส้วม
ส้วมหลุมและส้วมถังเทจะมีกลิ่นเหม็นและป้องกันแมลงวันได้ไม่ดี พระยานครพระรามได้คิดค้นลองทำส้วมชนิดใหม่ไว้หลายแบบ ในที่สุดได้ทดลองทำหัวส้วมที่ช่องปล่อยทิ้งของเสียด้านใต้โถมีลักษณะเป็นท่อกลมที่โค้งกลับขึ้นด้านบนจึงสามารถขังน้ำไว้ในคอท่อนั้นได้ ส้วมชนิดนี้ใช้น้ำราดให้อุจจาระตกลงไปในบ่อฝังอยู่ใต้ดิน แมลงวันจะไม่สามารถตามลงไปได้เพราะติดน้ำกั้นไม่ให้ลงไปอยู่ อุจจาระและน้ำในบ่อจะไหลซึมลงไปในดินจึงเรียกวิธีการนี้ว่า ส้วมซึม[15]
ระบบส้วมซึมในระยะแรกมีข้อเสียตรงน้ำอุจจาระที่ซึมสู่พื้นดินเป็นตัวการแพร่เชื้อโรคได้ ต่อมามีการปรับปรุงเป็นระบบบ่อเกรอะบ่อซึมโดยบ่อที่ฝังใต้ดินมักทำจากคอนกรีต แบ่งออกเป็น 2 ห้องหรือมากกว่า ใช้สำหรับรับอุจจาระจากโถส้วม มีน้ำและแบคทีเรียเป็นตัวย่อยสลาย มีบ่อกรองที่เรียกว่า บ่อเกรอะ แล้วระบายน้ำสู่บ่อซึม ระบบนี้ดีกว่าบ่อซึมแต่ก็ยังไม่ปลอดภัยเต็มที่ หัวส้วมแบบคอห่านและระบบบ่อเกรอะบ่อซึมซึ่งคนทั่วไปเรียกกันว่า ส้วมซึม ได้เข้ามาแทนที่การใช้ส้วมหลุม ส้วมถังเท ช่วยให้การขับถ่ายในส้วมมีความสะดวกสบายมากขึ้นด้วยราคาค่าก่อสร้างที่ไม่แพงนักและยังมีใช้อย่างแพร่หลายในปัจจุบัน
5.       ส้วมชักโครก
ส้วมชักโครก ในปัจจุบัน
ส้วมแบบนี้มีส่วนประกอบที่ค่อนข้างสลับซับซ้อนที่เรียกว่า ชักโครก เพราะเมื่อก่อนตัวถังที่กักน้ำ อยู่เหนือที่นั่งถ่ายสูงขึ้นไป เวลาเสร็จกิจต้องชักคันโยกให้ปล่อยน้ำลงมา มีเสียงน้ำดัง จึงเรียกว่า ชักโครก[14]
ขุนนางชาวอังกฤษชื่อ เซอร์จอห์น แฮริงตัน ได้ประดิษฐ์ส้วมชักโครกรุ่นแรกขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1596 (พ.ศ. 2139) มีถังพักน้ำติดตั้งสูงเหนือโถส้วม เมื่อกดชักโครกแล้ว น้ำจะดันของเสียผ่านท่อไปยังถังเก็บ ต่อมาในปี ค.ศ. 1775 (พ.ศ. 2318) อเล็กซานเดอร์ คัมมิงส์ ได้พัฒนาส้วมชักโครก โดยการดัดท่อระบายของเสียข้างใต้ที่ลงบ่อเกรอะให้เป็นรูปตัวยู สามารถกักน้ำไว้ในท่อ และยังกันกลิ่นของเสียไม่ให้ย้อนกลับขึ้นมาได้ นับเป็นต้นแบบของชักโครกที่ใช้งานในปัจจุบัน[15]
ในประเทศไทยส้วมชักโครกแบบนั่งราบเริ่มแพร่หลายมากขึ้นในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ชักโครกในสมัยนั้นจะมีถังพักน้ำติดตั้งสูงเหนือโถ เมื่อชักโครกน้ำจะไหลลงมาชำระให้อุจจาระลงไปสู่ถังเซ็ปติกแทงก์ (Septic Tank) ที่ไว้เก็บกักอุจจาระ[15] ส้วมชักโครกยุคปัจจุบันได้รับการพัฒนาทั้งด้านการออกแบบให้มีรูปทรงสวยงาม ทันสมัยและเทคโนโลยีการใช้งานเช่นเรื่องการประหยัดน้ำ ระบบชำระล้างที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น เสียงเบาลงหรือมีระบบอัตโนมัติต่าง ๆ มากมาย
6.       ส้วมสาธารณะ
ส้วมสาธารณะ คือ ห้องส้วมในที่สาธารณะหรือสถานประกอบการที่จัดเตรียมไว้ให้ประชาชนทั่วไปใช้บริการ ซึ่งจากอดีตที่ผ่านมาส้วมเป็นปัญหาพื้นฐานที่สำคัญทางด้านสุขาภิบาล สิ่งแวดล้อมของประเทศไทย และทางกรมอนามัยเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบในการดำเนินการในเรื่องนี้[17]
 มาตรฐานส้วมไทย
ในปี พ.ศ. 2547 กรมอนามัยได้สำรวจส้วมสาธารณะในประเทศไทย 1,100 แห่ง ผู้ใช้บริการ 5,786 คน ใน 20 จังหวัด พบปัญหาทั้งความไม่สะอาดและผู้ใช้ยังใช้ไม่เป็น ส้วมสาธารณะส่วนใหญ่แยกชาย/หญิงร้อยละ 76 ในจำนวนนี้จัดให้คนพิการ 10% มีส้วมสะอาดระดับปานกลาง 58.9% มีส้วมสกปรก 19.5% มีกลิ่นเหม็น 34% ส่วนประเด็นการใช้ส้วมของคนไทยพบว่า 83.6% เคยชินกับการใช้ส้วมแบบนั่งยอง ๆ ราดน้ำ ส่วนชักโครก พบว่า 22.1% จะใช้เท้าเหยียบลงบนที่นั่งหรือยกที่นั่งขึ้นแล้วขึ้นไปเหยียบบนโถส้วม ที่สำคัญคือยังมีคนถึง 6.5% หลังใช้ส้วมแล้วไม่ล้างมือ[18]และจากการสุ่มสำรวจส้วมสาธารณะในประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2549 สุ่มสำรวจส้วมจำนวนกว่า 6,149 แห่ง ในพื้นที่ 12 จังหวัด อาทิ นนทบุรี ลพบุรี ชลบุรี ราชบุรี นครราชสีมา ขอนแก่น กำแพงเพชร ฯลฯ เมื่อเดือนมีนาคม 2549 ที่ผ่านมา ปรากฏว่ามีส้วมที่ไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานสูงถึง 5,993 แห่ง มีปัญหาเรื่องความสะอาด 90% ที่พบมากคือ ถังขยะไม่มีฝาปิด ไม่มีกระดาษชำระหรือสายฉีดน้ำ และไม่มีสบู่ล้างมือ ปัญหาเรื่องความพอเพียงพบ 76% ส่วนใหญ่ไม่มีส้วมสำหรับผู้พิการ ผู้สูงอายุและสตรีมีครรภ์ ส่วนเรื่องความปลอดภัยพบปัญหา 69% ไม่มีการแยกส้วมชาย-หญิง พื้นไม่แห้ง และส้วมตั้งอยู่ในที่เปลี่ยว[19][20]
ส้วมสาธารณะในประเทศไทยยังไม่เอื้ออำนวยต่อคนพิการ กรมอนามัยเปิดเผยว่า จากการสำรวจส้วมสาธารณะใน 20 จังหวัด จำนวน 1,100 แห่ง เมื่อปี 2547 พบว่ามีส้วมคนพิการเพียง 10% คือสถานที่สาธารณะต่าง ๆ เช่น สถานที่ราชการ สถานีขนส่งทุกประเภท โรงแรม สวนสาธารณะ ร้านอาหาร สนามกีฬา สถานบันเทิง และสถานที่ท่องเที่ยวต่าง ๆ เป็นต้น ไม่มีส้วมสำหรับคนพิการ[21] และส่วนใหญ่ถ้ามีก็ไม่สามารถใช้งานได้ มักใส่กุญแจไว้ หรือใช้เป็นห้องเก็บอุปกรณ์ทำความสะอาดแทน จึงเป็นความยากสำหรับคนพิการในการเดินทางไปไหนมาไหน ซึ่งทางกระทรวงสาธารณสุขได้รณรงค์ขอให้ทุกสถานที่จะต้องมีส้วมสำหรับคนพิการอย่างน้อย 1 ห้อง[22]
 การส่งเสริมและรณรงค์
ในปี พ.ศ. 2548 ทางกระทรวงสาธารณสุขและสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (สสปน.) ได้จัดทำแผนแม่บทการพัฒนาส้วมสาธารณะไทย โดยกำหนดพื้นที่เป้าหมายหลัก 11 ประเภท อาทิ สถานที่ราชการ โรงเรียน โรงพยาบาล ศาสนสถาน สวนสาธารณะ สถานีบริการน้ำมัน ตลาดสด ฯลฯ ด้วยการวางกรอบการพัฒนาไว้ 3 ประเด็น คือ สะอาด เพียงพอ ปลอดภัย และได้มาตรฐาน หรือมีคำย่อว่า "HAS" ซึ่งมาจากคำว่า Healty Accessibility และ Safety[23]
ในปี พ.ศ. 2549 ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ งานประชุมส้วมโลก 2006 หรือ World Toilet Expo & Forum 2006 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 16-18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 ที่อิมแพ็คอารีน่า เมืองทองธานี โดยจะมีผู้แทนจาก 19 ประเทศ อาทิ สหรัฐอเมริกา อังกฤษ เยอรมนี ญี่ปุ่น ฮ่องกง จีน อินโดนีเซีย ออสเตรเลีย อินเดีย สิงคโปร์ เวียดนาม เข้าร่วม ซึ่งเป็นงานที่มีการอภิปรายหาแนวทางการแก้ปัญหาเรื่อง การพัฒนาส้วมสาธารณะรวมถึงมีการจัดนิทรรศการแสดงส้วมไทย และส้วมแปลก ๆ ที่มีความสร้างสรรค์ใหม่ ๆ งานครั้งนั้นยังเป็นการสร้างความตระหนักให้ผู้ที่เกี่ยวข้อง หันมาดูแลส้วมสาธารณะให้ดีขึ้นอีกด้วย[24][25]
นอกจากนั้นกรมอนามัยได้มีโครงการต่าง ๆ เกี่ยวกับส้วมสาธารณะ เช่นโครงการสายสืบส้วม (Toilet Spy) เป็นโครงการที่มีอาสาสมัคร ตัวแทนประชาชนในการเฝ้าระวัง ดูแล ตรวจตราและแจ้งเบาะแสส้วมทั้งที่ได้มาตรฐานให้กรมอนามัยทราบและดำเนินการ[26] และอีกโครงการของกรมอนามัย คือโครงการพัฒนาส้วมสาธารณะไทย พ.ศ. 2549-2551 โดยตั้งหลักชัยอยู่ที่ 3 คำสำคัญคือ สะอาด เพียงพอ และปลอดภัย มีการลงนามความร่วมมือกับหน่วยงานต่าง ๆ ได้แก่ กรมการปกครอง กรมอุทยานแห่งชาติ และกลุ่มธุรกิจผู้ค้าน้ำมัน[27]
 ส้วมกับกฎหมายไทย
ประเทศไทยได้ใช้มาตรการหลายอย่าง รวมทั้งมีมาตรการทางกฎหมายซึ่งมีบทบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับส้วม ปรากฏอยู่ในกฎหมายหลายฉบับเริ่มจาก บทบัญญัติในการจัดการเรื่องส้วมและสิ่งปฏิกูลตามกฎหมายไทย ซึ่งเกิดขึ้นมาจากสภาวการณ์ที่มีโรคระบาดเกิดขึ้น จนเริ่มมีการออกพระราชกำหนดสุขาภิบาลกรุงเทพฯ ร.ศ. 116 ซึ่งถือเป็นกฎหมายฉบับแรกเกี่ยวกับการสุขาภิบาลของคนกรุงเทพฯ มีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันโรคติดต่อมิให้แพร่หลาย การจัดการเวจ ที่ถ่ายอุจจาระและปัสสาวะของมหาชน และในปี พ.ศ. 2469 มีการตราพระราชสีห์น้อยถึงสมุหเทศบาลทุกมณฑลให้ควบคุมการสุขาภิบาลเกี่ยวกับการถ่ายอุจจาระและการทำลายส้วมตามริมแม่น้ำ ลำคลองทั่วไป จนกระทั่งมีการตราพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2477 และในปี พ.ศ. 2480 ได้เกิดพระราชบัญญัติควบคุมการใช้อุจจาระเป็นปุ๋ย ซึ่งกฎหมายสาธารณสุขก็ได้มีการตราขึ้นใหม่เป็นพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2484 โดยมีบทบัญญัติเกี่ยวกับการจัดให้มีส้วม การกำหนดเขตห้ามสร้างส้วม และการจัดการความสะอาดของส้วม ซึ่งต่อมาได้มีการแก้ไขปรับปรุงหลายครั้ง จนกระทั่งมีการยกเลิกพระราชบัญญัติควบคุมการใช้อุจจาระเป็นปุ๋ย พ.ศ. 2480 และพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2484 แล้วประกาศใช้พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 จนถึงปัจจุบัน[28]
นอกจากนั้นใน กฎกระทรวง ฉบับที่ 39 (พ.ศ. 2537) ซึ่งออกตามพระราชบัญญัติ ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ได้กำหนดจำนวนของห้องน้ำและห้องส้วม ของอาคารประเภทต่าง ๆ ไว้ด้วย เพื่อควบคุม คุณภาพและมาตรฐานของอาคาร[29]
ทางด้านกฎกระทรวงกำหนดสิ่งอำนวยความสะดวกในอาคารสำหรับผู้พิการหรือทุพพลภาพและคนชรา พ.ศ. 2548 กำหนดไว้ว่า
"อาคารประเภท โรงพยาบาล สถานพยาบาล ศูนย์บริการสาธารณสุข สถานีอนามัย อาคารที่ทำการของราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์การของรัฐที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย สถานศึกษา หอสมุดและพิพิธภัณฑสถานของรัฐ สถานีขนส่งมวลชน ที่มีพื้นที่ส่วนใดของอาคารที่เปิดให้บริการแก่บุคคลทั่วไปเกิน 300 ตารางเมตร และ สำนักงาน โรงมหรสพ โรงแรม หอประชุม สนามกีฬา ศูนย์การค้า ห้างสรรพสินค้าประเภทต่าง ๆ ที่มีพื้นที่ส่วนใดของอาคารที่เปิดให้บริการแก่บุคคลทั่วไปเกิน 2,000 ตารางเมตร ได้ระบุว่านอกจากห้องส้วมสำหรับบุคคลทั่วไปแล้ว ต้องจัดให้มีห้องส้วมสำหรับผู้พิการหรือทุพพลภาพ และคนชราเข้าใช้ได้อย่างน้อย 1 ห้อง รวมถึงสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง"[30]โดยในตัวบทกฎหมายได้ระบุลักษณะของส้วมสำหรับผู้พิการไว้อย่างละเอียด
การใช้ส้วมของคนไทย
วัฒนธรรมการใช้ส้วมของคนไทยนั้นแต่เดิมคนไทยจะใช้ท่านั่งยอง ๆ ในสมัยก่อนก็เหมาะกับลักษณะการบริโภคอาหารของคนไทยที่มักกินอาหารประเภทที่ย่อยง่าย กากใยสูง ใช้เวลาไม่นานก็ยังไม่ทันเป็นตะคริว ก็ปฏิบัติภารกิจส่วนตัวเรียบร้อย ส่วนฝรั่งการนั่งยอง ๆ เป็นการไม่สะดวกเพราะอาหารส่วนใหญ่ เป็นเนื้อทำให้ต้องใช้เวลานาน ในระบบขับถ่ายจึงต้องนั่งแบบโถนั่งเหมือนเก้าอี้ ซึ่งพฤติกรรมในปัจจุบันได้เปลี่ยนไป เป็นแบบตะวันตกมากขึ้น เราจึงเห็นส้วมนั่งยอง ๆ มีน้อยลง ในขณะที่ส้วมแบบโถนั่งชักโครก มีจำนวนเพิ่มขึ้นทั้งในเมืองและในส่วนภูมิภาค[31] ซึ่งก็มีคนไทยบางส่วนมีความเคยชินกับการใช้ส้วมแบบนั่งยอง ๆ และพบว่า 22% จะใช้เท้าเหยียบลงบนที่นั่งบนส้วมแบบชักโครก[32]
ส่วนเรื่องการต่อคิวส้วมสาธารณะ ในบ้านเรามักจะต่อคิวเข้าแถวเป็นห้อง ๆ แต่ในยุโรป อเมริกา ญี่ปุ่นและอีกหลายประเทศ เขาจะเข้าคิวเดียวตรงทางเข้าเลย พอห้องไหนว่าง คนแรกในแถวก็เข้าไป การเข้าแบบนี้มีข้อดีหลายอย่างคือ ไม่ต้องรอนานและเป็นไปตามสิทธิ คือ มาก่อน เข้าก่อน[2]

อ้างอิง
^ มนฤทัย ไชยวิเศษ. ส้วมและเครื่องสุขภัณฑ์ในประเทศไทย. สำนักพิมพ์มติชน ISBN : 974-322-627-3
^ 2.0 2.1 ส้วมนั้น สำคัญไฉน สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม
^ บุญต่วน แก้วปินตา. ส้วม สุขภาพ และสิ่งแวดล้อมในศตวรรษที่ 21. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อม 2545; -59.
^ 5.0 5.1 5.2 ศันสนีย์ วีระศิลป์ชัย. การขับถ่ายของชาววัง. ศิลปวัฒนธรรม 2548; 26 (9) :32-40.
^ จดหมายเหตุลาลูแบร์ ฉบับสมบูรณ์, แปลโดย สันต์ ท. โกมลบุตร, 2510
^ คึกฤทธิ์ ปราโมช. สี่แผ่นดิน เล่มหนึ่ง. สำนักพิมพ์ดอกหญ้า 2000 พิมพ์ครั้งที่ 12 กรุงเทพฯ โอ เอ็น จี การพิมพ์ 2544 หน้า 39.
^ จุลลดา ภักดีภูมินทร์. ที่ลงพระบังคน. สกุลไทย ฉบับที่ 2478 ปีที่ 48 วันอังคารที่ 16 เมษายน 2545.
^ ชัยโรจน์ ขุมมงคล ,เล่าเรื่องส้วมไทย
^ สำนักงานสถิติแห่งชาติ, ตัวชี้วัดที่สำคัญ ผลสำมะโน/สำรวจ ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ พ.ศ. 2551, หน้า 12
^ ไทยโหมโรง"ส้วมโลก"ข้ามปี ดึงกลุ่มสุขภัณฑ์แจมออกบูท : ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2548
^ การประชุมส้วมโลก (World Toilet Expo and Forum 2006 การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
^ คึกฤทธิ์ ปราโมช. ขุนช้างขุนแผน ฉบับอ่านใหม่. สำนักพิมพ์ดอกหญ้า 2000 พิมพ์ครั้งที่ 4 กรุงเทพฯ นวสาส์นการพิมพ์ 2547 หน้า 202.
^ จุลลดา ภักดีภูมินทร์. ถนนสิบสามห้าง "ศรีสำราญ" สกุลไทย ฉบับที่ 2477 ปีที่ 48 วันอังคารที่ 9 เมษายน 2545.


ของเสียอันตราย
นิยามของของเสียอันตราย
ในประเทศไทยมีการให้นิยามโดยหลายหน่วยงาน เช่นสำนักคณะงานกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ(เดิม)เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ..2535 ได้ให้คำนิยามของเสียที่เป็นอันตรายว่าหมายถึงสารหรือวัตถุที่ไมใช้หรือใช้ไม่ได้ที่มีส่วนประกอบหรืเจือปนด้วยสารไวไฟ สารกัดกร่อน สารพิษ สารที่สามารถชะล้างได้ สารกัมมันตรังสี และ/หรือสิ่งที่ทำให้เกิดโรค ซึ่งเกิดจากกิจกรรมต่างๆ เช่น อุตสาหกรรม ชุมชน เกษตรกรรม การให้คำนิยามของสำนักงานคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาตินี้อาจอิงมาจากนิยามของสหรัฐอเมริกา คำนิยามที่มีกฎหมายรองรับได้แก่คำนิยามของกระทรวงอุตสาหกรรมซึ่งใช้ในการควบคุมเฉพะปัญหามลพิษจากโรงงานอุตสาหกรรมตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรมฉบับที่ 25 (..2531) ให้คำจำกัดความของเสียอันตรายว่าเป็นวัสดุที่ไม่ได้ใช้แล้วที่มีคุณสมบัติเป็นสารไวไฟ กัดกร่อน เกิดปฏิกิริยายาได้ง่าย มีสารพิษปะปน หรือมีตัวทำละลาย เสื่อมคุณภาพตามรายชื่อที่ระบุไว้ปนเปื้อน หรือกากตะกอนที่เกิดจากการผลิตหรือเกิดจากระบบบำบัดน้ำเสีย จากกิจกรรมตามรายชื่อที่ระบุได้แก่
-กากตะกอนจากการละลายเกลือ และกากตะกอนจากโรงผลิตโซดาไฟด้วยวิธีใช้เซลปรอท
-กากวัตถุมีพิษ และกากตะกอนจากโรงงานผลิตและบรรจุยาฆ่าแมลง
-ฝุ่นจากระบบกำจัดตะกั่วในอากาศ และกากตะกอนจากโรงงานหลอมตะกั่ว
-ชิ้นส่วนอุปกรณ์อีเลคโทรนิกส์ที่เสื่อมหรือไม่ได้คุณภาพ
-น้ำยาเคมีจากถังชุบโลหะ กากที่เหลือจากการชุบโลหะ รวมทั้งกากตะกอนจากโรงงานชุบโลหะ
-ของเสียจากโรงงานผลิตวัตถุระเบิด
-ปลายขั้วหลอดที่ผลิตไม่ได้คุณภาพที่ปนเปื้อนสารปรอท จากโรงงานผลิตหลอดฟูออเรสเซนต์
-ถ่านไฟฉายที่ผลิตไม่ได้คุณภาพ ฝุ่นจากระบบกำจัดอากาศ กากตะกอนจากโรงงานผลิตถ่านไฟฉาย
-กากสีจากห้องพ่นสีของโรงงานที่ประกอบกิจการเกี่ยวกับรถยนต์และจักรยานยนต์
แหล่งกำเนิดของของเสียอันตราย
แหล่งกำเนิดของเสียต่างมี 3 ประเภทใหญ่ๆ ได้แก่ 1) แหล่งชุมชนอันประกอบด้วย บ้านเรือน
สถาบันการศึกษา โรงพยาบาล และแหล่งพาณิชยกรรม 2) โรงงานอุตสาหกรรม และ 3) แหล่งเกษตรกรรมแหล่งกำเนิดของเสียทั้ง 3 แหล่งสามารถก่อให้เกิดทั้งของเสียที่ไม่อันตราย (non-hazardous waste) และของเสียอันตราย (hazardous waste) ทั้งนี้จะกล่าวเฉพาะแหล่งกำเนิดใหญ่ 2 แหล่งคือแหล่งชุมชนและโรงงานอุตสาหกรรม
1. แหล่งชุมชน
ของเสียที่ไม่เป็นอันตราย ที่มีแหล่งกำเนิดมาจากชุมขนจะประกอบด้วยสารอินทรีย์ เช่นเศษอาหาร เศษหนัง เศษกระดาษ สารอนินทรีย์ เช่น เศษแก้ว เศษโลหะ เศษวัสดุก่อสร้าง ตัวอย่างของเสียอันตรายจากชุมชนได้แก่ ถ่านไฟฉายหมดอายุ กระป๋องสารปราบศัตรูพืช ยาหมดอายุ หลอดไฟหมดอายุหรือชำรุดแล้ว แบตเตอรี่หมดอายุ โทรทัศน์ วิทยุ น้ำมันเครื่องเก่าน้ำยาล้างอัดรูป นอกากนั้นของเสียอันตรายจากชุมชนอีกประเภทหนึ่งที่จำเป็นต้องมี
การจัดการเฉพาะ ได้แก่ ของเสียจากโรงพยาบาล เนื่องจากเป็นของเสียที่เป็นแหล่งแพร่เชื้อโรคชนิดต่างๆ สู่มนุษย์ ได้อย่างมาก ตัวอย่างของเสียจากโรงพยาบาลได้แก่ เข็มและกระบอกฉีดยา สำลี
พลาสเตอร์ สายยางให้อาหาร สายสวนปัสสาวะอุจจาระ สายน้ำเกลือ สายดูดเสมหะ ชิ้นเนื้อส่วนต่างๆ เสมหะ เลือด น้ำในช่องท้อง น้ำในไขสันหลัง เป็นต้น สำนักงานคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (เดิม) ได้ทำการสำรวจปริมาณขยะติดเชื้อที่เกิดจากโรงพยาบาลในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลพบว่า อัตราขยะติดเชื้อเฉลี่ย 0.65 กก/เตียง/วัน
2 โรงงานอุตสาหกรรม
ตัวอย่างของของเสียที่ไม่เป็นอันตรายจากโรงงานอุตสาหกรรม ได้แก่ เศษวัตถุดิบจากอุตสาหกรรม
อาหาร เช่น เศษผัก ผลไม้ เนื้อสัตว์ เศษกระป๋องและบรรจุภัณฑ์ เศษผ้าจากโรงงานอุตสาหกรรมสิ่งทอ เป็นต้น ตัวอย่างของเสียอันตรายได้แก่ บรรจุภัณฑ์ของสารปราบศัตรูพืช และสารเคมีต่างๆ ชิ้นส่วนอิเลคทรอนิกส์ ตะกอนก้นถังกลั่นน้ำยาเคมีต่างๆ ขยะที่มีใยแอสเบสตอสปนเปื้อน กากตะกอนที่มีโลหะหนักเป็นส่วนประกอบ ของเสียอันตรายจากแหล่งเกษตรกรรม ได้แก่ บรรจุภัณฑ์ของสารปราบศัตรูพืชต่างๆ แหล่งกำเนิดของเสียอันตรายที่สำคัญที่สุดคือโรงงาน อุตสาหกรรม เนื่องจากของเสียอันตรายที่เกิดจากโรงงานอุตสาหกรรมมีถึงร้อยละ 73-75 ของปริมาณของเสียอันตรายทั้งหมดดังแสดงในภาพที่ 1 (มูลนิธิโลกสีเขียว,2540) นอกจากนั้น บริษัทEngineering
Science มีการประเมินโรงงานอุตสาหกรรมจะเป็นแหล่งกำเนิดของเสียอันตรายร้อยละ 90-92 ของปริมาณของเสียทั้งหมด
ผลกระทบของของเสียอันตราย
ของเสียอันตรายเหล่านี้หากไม่ได้รับการควบคุมดูแลอย่างถูกวิธีแล้วก็จะก่อให้เกิดผกระทบสิ่งแวดล้อมตามมาอย่างมากมาย ถ้าของเสียเหล่านี้ถูกกองทิ้งในที่ว่างเปล่าโดยปราศจากการดูแลอาจทำให้สารเคมีผสมปนกันจนอาจเกิดการลุกติดไฟเอง เกิดการระเบิด หรือเกิดปฏิกิริยาเคมีกลายเป็นไอหรือควันระเหยออกมาได้ นอกจากนี้ของเสียอันตรายหากหมักหมมทิ้งกองไว้มากๆเป็นเวลานานภาชนะจะเกิดการผุกร่อน ทำให้ถูกลมพัดฟุ้งกระจาย ของเสียบางส่วนจะถูกน้ำฝนชะล้างลงสู่แหล่งน้ำผิวดินหรืซึมลงสู่พื้นดินไปสู่ชั้นน้ำบาดาล ซึ่งอาจนำไปใช้เพื่อการผลิตน้ำประปาหรือการเกษตรกรรม ทำให้เกิดการสะสมของสารเหล่านี้ในห่วงโว่อาหารได้ซึ่งจะส่งผลโดยตรงต่อสุขภาพมนุษย์ตัวอย่างผลของการทิ้งของเสียอันตรายอย่างไม่ถูกวิธีได้แก่ กรณีโรคมินามาตะของญี่ปุ่น เกิดจากโรงานทิ้งสารปรอทในรูปสารปรอทอนินทรีย์ลงในอ่าวมินามาตะ เพราะมีรายงานว่าสารปรอทในรูปนี้จะก่อให้เกิดอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตน้อยมาก เมื่อเวลาผ่านไปแบคทีเรียจะเปลี่ยนสภาพปรอทอนินทรีย์เป็นสารประกอบอินทรีย์(รูปปรอทเมทิล)ซึ่งเป็นพิษอย่างรุนแรงต่อสิ่งมีชีวิต สารนี้สะสมในสัตว์น้ำต่างๆที่อาศัยอยู่บริเวณอ่าว และคนบริโภคสัตว์น้ำเหล่านั้นก็เกิดอาการพิษจากสารปรอท ผู้ป่วยจะมีอาการตามัว หูตึง ยืนไม่นิ่งนอกจากนี้ยังเยเกิดกรณีพิษของสารแคดเมียมก่อให้เกิดโรคอิไต-อิไต ซึ่งเกิดจากการทิ้งขี้แร่จากการทำเหมืองสังกะสีลงในแม่น้ำแห่งหนึ่งในญี่ปุ่น ขี้แร่นี้มีแคดเมียมปนเปื้อนอยู่ น้ำในแม่น้ำแห่งนี้ถูกใช้ไปเป็นแหล่งน้ำเพื่อการประปา รวมทั้งใช้เป็นแหล่งสำหรับการเกษตร ประชากรที่ใช้น้ำจากแม่น้ำสายที่เกิดเป็นโรคไต กระดูกผุ และการ
มีเด็กพิการในอัตราสูงผิดปกติสำหรับประเทศไทยมีข่าวเกี่ยวกับปัญหากากสารพิษซึ่งปรากฎในหนังสือพิมพ์และการร้องเรียนของประชาชน ส่วนมากเป็นปัญหาจากการลอบทิ้งทั้งของเสียที่ไม่เป็นอันตรายและของเสียอันตรายจากโรงงานอุตสาหกรรม รวมทั้งการเก็บรวบรวมและการกำจัดอย่างไม่ถูกวิธีและขาดการควบคุมสอบติดตาม กรณีที่ได้รับความสนใจของสื่อมวลชนและประชาขนทั่วไปคือกรณีเพลิงไหม้คลังสินค้าบริเวณท่าเรือคลองเตยซึ่งเป็นคลังเก็บสารมีขนาดใหญ่ เมื่อเดือนมีนาคม พ.. 2534 ทำให้เกิดควันไฟและไอระเหยของสารพิษปกคลุมทั่วบริเวณ นอกจากนั้น
สารเคมีบางส่วนยังถูกฝนชะล้างลงสู่แหล่งน้ำ ส่งผลกระทบโดยตรงต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนที่อาศัยใน
บริเวณนั้นซึ่งมีประชาขนอาศัยอยู่กันอย่างหนาแน่นแออัด หลังจากเหตุการณ์เพลิงไหม้ได้มีการนำสรเคมีและกากที่เหลือบรรจุภาชนะและนำไปทำการฝังกลบ บริเวณกองพลทหารราบที่ 9 กองทัพภาคที่ 1 ห่างจากตัวเมืองกาญจนบุรี25 กิโลเมตร สารเคมีที่เหลือจากไฟไหม้และนำมาทำการฝังกลบได้แก่ คาร์บอเนต เรซิน โทลูอีน ทินเนอร์ โซดาแอชสารที่ก่อให้เกิดการกัดกร่อน สารประกอบไซยาไนด์ ปุ๋ยและสารปราบศัตรูพืช สารเมทิลโบรมาย สารพาราฟอร์มาดิฮาย ปริมาณรวม 100 ตัน ทั้งในรูปของแข็ง ทรายและเถ้าถ่าน ก่อนการฝังกลบมีการใช้ปูนขาวทำลายฤทธิ์ การเลือกพื้นที่บริเวณนี้เป็นที่ฝังกลบมีความไม่เหมาะสมอย่างยิ่งเนื่องจากบริเวณใกล้เคียงเป็นแหล่งน้ำซับซึ่งเป็นต้นน้ำของลำห้วยกระดก และลำห้วยพุมะนาดซึ่งไหลบรรจบกันที่บ้านท่าแจง และในที่สุดก็ไหลลงสู่แม่น้ำแควใหญ่ หมู่บ้านโดยรอบมีศักยภาพที่จะได้รับอันตรายเพราะมีการใช้น้ำในลำห้วยในการเพาะปลูกและเลี้ยงวัว รวมทั้งใช้น้ำบ่อในการอุปโภคบริโภคด้วย นอกจากนั้นจากการติดตามตรวจสอบของสื่อมวลชนพบว่าบ่อฝังกลบมีรอยแตกรวมทั้งไม่มีการติดตามตรวจสอบจากหน่วยงานที่รับผิดชอบ องค์การสิ่งแวดล้อมจังหวัดกาญจนบุรีได้ทำเรื่องร้องทุกข์ต่อสำนักงาน
เลขาธิการนายกรัฐมนตรีขอให้มีการแก้ไขปัญหาผลกระทบนี้ กรมควบคุมมลพิษซึ่งได้รับมอบหมายให้ดำเนินการตรวจสอบและเสนอมาตรการแก้ไข ได้เสนอให้ทำการขุดถังสารเคมีออกแล้วทำการขนย้ายไปฝังกลบ ณ หลุมใหม่ซึ่งมีการแยกสารเคมีแต่ละชนิดออกจากกัน โดยที่สารเคมีแต่ละชนิดจะต้องบรรจุในถังเหล็กทา epoxy กันสนิม แล้วทำการฝังกลบแบบปลอดภัย (secure landfill)(ปราการ, 2537)กรณีโรงงานหลอมโลหะในจังหวัดสมุทรปราการ นำเศาตะกรันโลหะในขณะยังร้อนไปทิ้งบนพื้นที่ที่เคยใช้ทิ้งสารเคมีมาก่อน ทำให้เกิดไอระเหยของสารเคมีจนมีผู้เสียชีวิต 2 ราย เนื่องจากเกิดอาการแน่นหน้าอก หายใจไม่ออกจากการสูดดมสารพิษ โรงงานผลิตเม็ดพลาสติกนำกากของเสียจากกระบวนการผลิตซี่งมีกลิ่นเหม็นรุนแรงไปทิ้งที่บริเวณตำบลกระพง จังหวัดระยอง (กรมควบคุมมลพิษ, 2539) กรณีการลักลอบนำกากาอุตสาหกรรมประเภทแผงวงจรไฟฟ้าไปเผาในป่าสงวนแห่งชาติป่าท่ากวย-ห้วยกระเวน อำเภอบ้านไร่ จังหวัดอุทัยธานี เพื่อแกะลอกแผ่นทองแดงที่เคลือบอยู่ไปใช้ประโยชน์ ทำให้ชาวบ้านได้รับความเดือดร้อนเนื่องจากมีกลิ่นเหม็นอย่างรุนแรงและมีเขม่าควันฟุ้งกระจายไปทั่ว ทำให้มีผู้ป่วยเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ ผิวหนังและระบบประสาท (สำนักนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม, 2538) จากการเพิ่มของจำนวนโรงานอุตสาหกรรมและปริมาณของเสียรัฐบาลได้มีมาตรการต่างๆในการจัดการของเสียเหล่านี้ดังจะกล่าวรายละเอียดในหัวข้อต่อไป
การจัดการของเสียอันตราย
1. การเก็บรวบรวมที่แหล่งกำเนิด
การเก็บรวบรวมที่แหล่งกำเนิดมีจุดประสงค์เพื่อให้มีปริมาณของเสียอันตรายมากพอที่จะนำไปบำบัดและกำจัดหรือเก็บรวบรวมไว้เพื่อรอการขนย้ายและกำจัดภายนอกโรงงาน การเก็บรวบรวมของเสียอันตรายมีแนวทางดังนี้
-ควรเก็บของเสียแต่ละชนิดให้อยู่ในภาชนะที่เหมาะสมทนทานต่อการกัดกร่อนมีฝาปิดมิดชิด
-ควรแยกเก็บของเสียที่อาจทำปฏิกิริยากันไว้ในภาชนะที่แยกออกจากกัน
-ด้านข้างภาชนะควรมีเครื่องหมายแสดงชนิดของของเสียอันตรายที่บรรจุอยู่
-ควรเก็บในบริเวณที่มีการระบายอากาศดี
2. การขนย้าย (transportation)
ในกรณีที่ต้องนำของเสียอันตรายไปทำการบำบัดหรือกำจัดภายนอกแหล่งกำเนิด เมื่อเก็บรวบรวมของเสียอันตรายได้แล้ว จะต้องทำการขนย้ายด้วยพาหนะที่ลอดภัย มีการป้องกันการรั่วไหลได้เป็นอย่างดี ด้านข้างพาหนะจะต้องแสดงเครื่องหมายแสดงชนิดของของเสียอันตรายที่กำลังทำการขนย้ายด้วย
3. การบำบัด(treatment) และการกำจัด (disposal)
การบำบัดและการกำจัดสามารถทำได้ 5 วิธีใหญ่ๆ คือ 1) การบำบัดด้วยกระบวนการทายภาพและเคมี 2)การบำบัดด้วยกระบวนทางชีวภาพ 3)การปรับเสถียร(stabilization/solidification) 4)การเผา 5)การฝังกลบ ซึงมีรายละเอียดดังนี้
3.1 การบำบัดด้วยกระบวนการทางกายภาพและเคมี
มีจุดประสงค์เพื่อทำให้ของเสียอันตรายสดความอันตรายลง มีความสามรถในการละลายต่ำลง มี
ความคงตัวมากขึ้น ตัวอย่างกระบวนการทางกายภาพและเคมีที่นำมาใช้ได้แก่
การทำให้สารละลายกรดและด่างมีสภาพเป็นกลาง
การแยกโลหะหนักออกจากน้ำด้วยการตกตะกอนทางเคมี (chemical precipitation) แล้วนำตะกอนไปทำการฝังกลบ
การเก็บรวบรวม
การขนย้าย
การบำบัดทางกายภาพ
เคมี หรือชีวภาพ
การเผา
กากตะกอน เถ้าจากการเผา
ของเสียที่ผ่านการบำบัดแล้ว
(ไม่มีอันตราย)
ทำให้คงตัว
การฝังกลบแบบปลอดภัย
ภาพที่ 2 แนวทางการจัดการของเสียอันตราย
การทำปฏิกิริยาออกซิเดชั่น เพื่อให้ของเสียอันตรายอยู่ในรูปที่มีความเป็นพิษน้อยลง
การดูดซับด้วยถ่านกัมมันต์ (activated carbon)
การผสมของเสียอันตรายกับปูนซีเมนต์ เพื่อให้ของเสียอันตรานั้นละลายน้ำได้น้อยลง เพื่อจะได้ถูกชะล้างน้อยลง
3.2 การบำบัดด้วยกระบวนการทางชีวภาพ
ใช้ในการกำจัดของเสียทีถูกย่อยสลายได้ด้วยกระบวนการทางชีวภาพ อย่างไรก็ตามวิธีนี้มีข้อจำกัดอยู่มากเนื่องจากของเสียอันตรายส่วนมากยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ กระบวนการบำบัดทางชีวภาพที่นำมาใช้มีทั้งกระบวนการแบบใช้และไม่ใช้ออกซิเจน
3.3 การปรับเสถียร (stabilization/solidification)
การปรับเสถียรกากของเสียเป็นการผสมสารเคมีที่เหมาะสมเข้ากับของเสีย เพื่อให้เกิดโครงสร้างที่ของเสียถูกจับไว้ ทำให้ของเสียถูกชะล้างละลายออกมาละลายได้น้อยลง การปรับเสถียรกากของเสียนี้เป็นการเตรียมของเสียเพื่อนำไปฝังกลบอย่างปลอดภัย ตัวอย่างการปรับเสถียรได้แก่การผสมปูนซีเมนต์กับตะกอนโลหะหนักแล้วนำมาหล่อเป็นก้อน ตะกอนที่ผ่านการปรับเสถียรแล้วต้องนำมาทดสอบสมบัติการถูกชะล้าง(leaching test) ภายไต้สภาวะมาตรฐานก่อนนำไปฝังกลบ สารละลายที่ผ่านการชะล้างของเสียแล้วจะต้องมีสารปนเปื้อนต่ำกว่าปริมาณที่กำหนดไว้
3.4 การเผาด้วยเตาเผาอุณหภูมิสูง (incineration)
การบำบัดด้วยกระบวนการทางกายภาพและเคมีไม่สามารถทำลายของเสียอันตรายบางชนิดได้ เช่น
น้ำมัน สารปราบศัตรูพืชบางชนิด ตัวทำละลายอินทรีย์ สารเคมีที่เสื่อมคุณภาพ จึงจำเป็นต้องทำการกำจัดโดยการนำมาเผาที่อุณหภูมิสูงเพื่อให้ของเสียเปลี่ยนสภาพเป็นเถ้า แล้วนำเถ้านี้ไปฝังกลบต่อไปการเผาของเสียอันตรายต้องเผาที่อุณหภูมิสูงถึง 1000-1200 องศาเซลเซียส และต้องมีส่วนเผาไอก๊าซซ้ำเพื่อให้มีมลสารเหลือน้อยที่สุด เตาเผาจะต้องมีการปรับอัตราส่วนเชื้อเพลิงและอากาศที่เหมาะสมนอกจากนี้จะต้องมีเครื่องฟอกอากาศซ้ำ เช่น เครื่องดักฝุ่น เครื่องกำจัดไอกรดด่าง ก่อนปล่อยอากาศออกสู่สิ่งแวดล้อม
3.5 การฝังกลบอย่างปลอดภัย (secure landfill)
ดังที่กล่าวมาแล้วว่าการกำจัดด้วยกระบวนการทางกายภาพและเคมีและการเผา เป็นการเปลี่ยน
สภาพของเสียอันตรายให้อยู่ในสภาพที่มีความเป็นอันตรายน้อยลงหรือมีความคงตัวมากขึ้น ซึ่งอยู่ในรุปของของแข็งที่ไม่ละลายน้ำหรือเถ้าจากการเผาไหม้ ต่อจากนั้นนำไปปรับให้เสถียร (solidification/ stabilization) ก่อนแล้วจึงนำไปทำการฝังกลบอย่างปลอดภัยต่อไปโครงสร้างของหลุมฝังกลบนั้นจะต้องมีการป้องกันการรั่วซึมของน้ำและสารอันตรายอย่างรัดกุมมากที่ก้นหลุมและด้านข้างหลุมมีการบดอัดด้วยดินเหนียวซึ่งมีอัตราการไหลซึมของน้ำต่ำ กรณีหลุมฝังของ
GENCO มีอัตราการไหลซึมของน้ำชั้นดินเหนียวต่ำกว่า 10-7 ซม./วินาที ต่อจากนั้นจึงปูด้วยแผ่นยางหรือแผ่นพลาสติก เช่นแผ่น HDPE จำนวน 2 ชั้น เหนือชั้นแผ่นยางแต่ละชั้นเป็นชั้นระบายน้ำ ซึ่งอาจเกิดการ
รั่วไหลลงมา น้ำเหล่านี้จะไหลลงท่อเพื่อรวบรวมนำมาบำบัดภายนอกต่อไป เมื่อฝังกลบกากของเสียจนเต็มหลุมแล้วต้องทำการปิดหลุมด้วยดินอัดแน่น ต่อจากนั้นปูแผ่นยางหรือแผ่นพลาสติกสังเคราะห์ ปูทับด้วยดินอีกชั้นแล้วปลูกพืชคลุมดินไว้เพื่อลดการชะล้างพังทลายหน้าดินไป นอกจากนั้นด้านบนของหลุมฝังกลบจะต้องมีท่อระบายอากาศเพื่อระบายก็าซที่เกิดขึ้นภายในออกสุ่ภายนอก เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการอัดตัวของก๊าซจนดันหลุมฝังกลบให้มีรอยแตกได้ ด้านข้างของหลุมฝังกลบทั้ง 2 ด้านต้องมีบ่อบาดาลเป็นบ่อสังเกตการณ์การั่วไหลออกสู่ภายนอก โดยต้องทำการเก็บตัวอย่างน้ำในบ่อทั้งสองมาตรวจสอบปริมาณสารปนเปื้อนอยู่เสมอ
การจัดการของเสียอันตรายในประเทศไทย
จากที่กล่าวมาแล้วข้างต้นว่าแหล่งกำเนิดของเสียอันตรายมี 3 แหล่ง คือ แหล่งชุมชน โรงงาน
อุตสาหกรรมและเกษตรกรรม โดยมีแหล่งชุมชนและโรงงานอุตสาหกรรมเป็นแหล่งกำเนิดสำคัญ ดังนั้นในหัวข้อนี้จะขอกล่าวเฉพาะการจัดการของเสียจาก 2 แหล่งนี้เป็นแหล่งสำคัญ
1.การจัดการของเสียอันตรายจากโรงงานอุตสาหกรรม
โรงงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ มีทั้งอยู่ภายไต้ความรับผิดชอบของกระทรวงอุตสาหกรรม และการ
นิคมอุตสาหกรรม ดั้งนั้นทั้ง 2 หน่วยงานจึงจำเป็นต้องมีมาตรการในการจัดการของเสียเหล่านี้อย่างเหมาะสมดังนี้
1.1 กรมโรงงานอุตสาหกรรม
โรงงานซึ่งสังกัดกรมโรงงานอุตสาหกรรมมีจำนวนมกถึง 103,751 โรงงานในปี พ..2538 ตั้งกระจายอยู่ทั่วไปมิได้ตั้งอยู่รวมกันเช่นเดียวกับโรงงงานในนิคมอุตสาหกรรม โรงงานเหล่านี้มีตั้งแต่ขนาดเล็กไปจนถึงขนาดใหญ่ โรงงานขนาดใหญ่มักจะมีระบบบำบัดของเสียที่ไม่ได้มาตรฐาน แต่สำหรับโรงงานขนาดเล็กซึ่งมีจำนวนมากมักแอบปล่อยทิ้งของเสียโดยมิไดผ่านการบำบัดใดๆ ซึ่งเมื่อมองโดยภาพรวมแล้วของเสียที่ถูกแอบปล่อยทิ้งนี้มีปริมาณสูงมาก กรมโรงงานอุตสาหกรรมจึงเห็นความจำเป็นที่จะก่อตั้งศุนย์บริการกำจัดกากอุตสาหกรรมเพื่อรับการบำบัดของเสียจากอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดเล็ก ซึ่งมีเงินทุนและบุคลากรไม่เพียงพอที่จะจัดการให้มีระบบบำบัดของเสียของโรงงานเองได้ นอกจากนั้นศูนย์นี้ยังบำบัดของเสียอันรายจากอุตสาหกรรมทุกขนาดด้วย กรมโรงงานอุตสาหกรรมมีแผนงานจัดสร้างศูนย์บริการกำจัดกากอุตสาหกรรมในพื้นที่ที่มีการก่อกำเนิดของเสียที่มีอันตรายร้ายแรงในระดับต้นๆก่อน เช่น ของเสียที่มีสารโลหะหนัก บริเวณที่มีความจำเป็นต้องจัดสร้างศูนย์บริการกำจัดกาก ได้แก่ แขวงแสมดำ อ. บางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร จ.ราชบุรี จ.ชลบุรี จ.สระบุรี จ.ระยอง ปัจจุบันศูนย์บริการกำจัดกากที่เปิดดำเนินการแล้วมี 2 แห่ง คือ (1) ศูนย์บริการกำจัดกากแขวงแสมดำ  เขตบางขุนเทียน และพื้นที่ฝังกลบ จ.ราชบุรี และศูนย์บริการกำจัดกาก นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด ปัจจุบันบริษัทผู้รับสัมปทานในการดำเนินการศูนย์ก่อสร้างทั้ง 2 แห่งคือบริษัท บริหารและพัฒนาการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
จำกัด (General Environmental Conversation Co., Ltd.,) หรือเป็นที่รู้จักกันทั่วไปในนาม GENCO ซึ่งมีการก่อตั้งตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 15 มีนาคม พ..2537 โดยกระทรวงอุตสาหกรรมถือหุ้นในบริษัทนี้ร้อยละ25 รายละเอียดของศูนย์แต่ละแห่งมีดังนี้
(1) ศูนย์บริการกำจัดกาก แขวงแสมดำ เขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร เป็นศูนย์แห่งแรกโดยเริ่มต้นจากที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมได้ลงทุนจัดสร้างศูนย์นี้แล้วเสร็จในปี พ.. 2531ต่อจากนั้นกรมโรงงานอุตสาหกรรมได้ดำเนินการให้มีการเช่าดำเนินการโดยบริษัทเอกชน โดยบริษัท gENCO
เข้ามาดำเนินการตั้งแต่ปี พ.. 2539 จนถึงปัจจุบันศูนย์นี้สามารถรองรับของเสียประเภท กรด ด่าง และโลหะหนัก มีความสามารถรับน้ำเสียจากโรงงานฟอกย้อม 800ลบ../วัน น้ำเสียจากโรงงานชุบโลหะ 200ลบ../วันและกากตะกอนและของแข็งที่ปนเปื้อนด้วยโลหะหนัก 100ตัน/วัน กากตะกอนจากระบบบำบัดน้ำเสียภายในศูนย์รวมทั้งกากตะกอนและของแข็งที่รับจากภายนอกจะถูกทำให้คงตัวแล้วจะถูกส่งไปทำการฝังกลบ(secure landfill) ยังศูนย์ราชบุรี ในปี พ.. 2537 มีผู้ใช้บริการศูนย์แสมดำจำนวนทั้งสิ้น 549 ราย โดยมีปริมาณของเสียที่จะถูกส่งเข้าระบบดังนี้ น้ำเสียจากโรงงานชุบโลหะ 7,700ลบ../เดือน น้ำเสียจากโรงงานฟอกย้อม 4,800 ลบ../เดือน กากตะกอนของแข็งและอันตรายอื่นๆ 1,540 ตัน/เดือน จากตัวเลขเหล่านี้จะเห็นได้ว่าของเสียอันตรายที่ได้รับการบำบัดอย่างถูกต้องยังมีปริมาณน้อยมากเมื่อเทียบกับปริมาณที่เกิดขึ้นทั้งหมด
(2)ศูนย์บริการกำจัดกาก นิคมอุตสาหกรรม มาบตาพุด จ. ระยอง ให้บริการในการเก็รวบรวม การขนส่ง การบำบัดและกำจัด รวมทั้งให้คำปรึกษาแนะนำด้านการจัดการกับวัสดุเหลือใช้หรือของเสียทุกประเภท ศูนย์บริการที่สร้างขึ้นนี้มีศักยภาพในการจัดการกากของเสียได้ 500-1,000 ตันต่อวัน ตัวอย่างอุตสาหกรรมที่ส่งของเสียมาบำบัดในศูนย์นี้ได้แก่ ของเสียจากอุตสาหกรรมเหล็ก อุตสาหกรรมรถยนต์อุตสาหกรรมอิเลคทรอนิกส์ อุตสาหกรรมน้ำมันและปิโตรเคมี ตัวอย่างชนิดของเสียได้แก่ กระดาษห่อวัตถุดิบที่ใช้ทำยา ถ่านไฟฉาย หลอดไฟ แผ่นวงจรอิเลคโทรนิกส์ กากตะกอนจากระบบบำบัดน้ำเสียของโรงงานชุบโลหะตะกอนจากโรงงานทำสีการให้บริการของทั้ง 2 ศูนย์นี้ประกอบด้วย 6 ขั้นตอน ได้แก่ ()การขนส่งกาก ของเสีย () การศึกษาวิเคราะห์ของเสียก่อนการบำบัด () การบำบัดน้ำเสีย ()การปรับเสถียรกากของเสีย ()การฝังกลบอย่างปลอดภัย และ ()การผสมกากเป็นเชื้อเพลิง โดยมีรายละเอียดขั้นตอนดังนี้
() การขนส่งกากของเสียในการขนส่งกากของเสีย GENCO ได้จัดการขนส่งด้วยวิธีต่างๆตามลักษณะของของเสียรถทุกคันต้องมีอุปกรณืกู้ภัยในกรณีเหตุฉุกเฉิน เช่น อุปกรณ์ดับเพลิง เครื่องดูด
สารเคมี เครื่องสูบน้ำ หมวก ชุดนิรภัย อุปกรณ์สื่อสาร วิธีการขนส่งของเสียมีดังนี้
- ของแข็ง เช่น หลอดฟลูออเรสเซนต์ ถ่านไฟฉาย จะเก็บขนโดยใช้ตู้คอนเทนเนอร์ที่ปิดมิดชิด ทาง
GENCO ได้นำตู้คอนเทนเนอร์เปล่ามาตั้งไว้ให้ที่โรงงาน เมื่อใส่ของเสียเต็มแล้วก็จะมายกตู้ใส่รถพ่วงไปบำบัดที่ศูนย์
- ของเหลวปริมาณน้อย เช่น ตัวทำละลายอินทรีย์ ตะกอนสี จะบรรจุไว้ในถังพลาสติกที่มีฝาปิดมิดชิดและเข็มขัดรัดฝา ในการขนส่งจะวางถังเหล่านี้ในตู้ปิดทึบเพื่อป้องกันการรั่วไหลเมื่อเกิดอุบัติเหตุ
- ของเหลวปริมาณมาก เช่นน้ำเสียจากโรงงานฟอกย้อม น้ำเสียจากโรงงานชุบโลหะ จะใช้รถบรรทุกที่มีลักษณะคล้ายรถน้ำมัน
() การศึกษาวิเคราะห์ของเสียก่อนการบำบัดก่อนที่โรงงานใดจะทำสัญญา
ว่าจ้าง GENCO ทำการบำบัดของเสียนั้น โรงงานจะต้อส่งตัวอย่างของเสียมาให้ GENCO เพื่อตรวจสอบสมบัติต่างๆของของเสีย สารปนเปื้อนในของเสีย และการศึกษาความเป็นไปได้ในการบำบัดน้ำเสียด้วย ดังนั้นเมื่อถึงขั้นตอนที่โรงงานส่งของเสียมาบำบัดจริง GENCO จะต้องทำการตรวจสอบปริมาณและสมบัติของเสียว่าเป็นประเภทเดียวกับที่ตกลงกันไว้หรือไม่ วิธีใดเป็นวิธีการบำบัดที่เหมาะสม และจะต้องใช้สารเคมีในการบำบัดเท่าใด
() การบำบัดน้ำเสีย
ปัจจุบันระบบบำบัดน้ำเสียมีเฉพาะศูนย์แสมดำเท่านั้น น้ำเสียที่รับบำบัดได้แก่น้ำเสียจากโรงงานฟอกย้อมและโรงงานชุบโลหะ รายละเอียดกระบวนการบำบัดน้ำเสียมีดังนี้
กระบวนการบำบัดน้ำเสียจากโรงงานฟอกย้อม ประกอบด้วยหน่วยบำบัดต่างๆดังแสดงในภาพ ซึ่งแต่ละหน่วยมีหลักการดังนี้
-บ่อสูบน้ำเสีย
-ถังวัดอัตราการป้อนน้ำเสียด้วย weir สามารถปรับให้น้ำเสียไหลผ่านตามที่ต้องการ น้ำส่วนเกินจะไหลผ่านท่อน้ำล้นกลับเข้าสู่บ่อสูบ
-ถังกวนเร็ว (rapid mixing tank) ทำการกวนเร็วเพื่อผสมสารเคมีช่วยในการตกตะกอนอนุภาคต่างๆ
ในขั้นตอนนี้เป็นการช่วยทำลายเสถียรภาพของอนุภาคแขวนลอย
-ถังกวนช้า (flocculation tank) เป็นการกวนช้าเพื่อช่วยให้ตะกอนรวมตัวกันเป็นตะกอนขนาดใหญ่
-ถังตกตะกอน (sedimentation tank หรือ clarifier) เป็นถังที่ปล่อยให้น้ำนิ่งเพื่อให้ตะกอนแยกจากน้ำ
-บ่อผึ่ง (stabilization pond) น้ำใสจากถังตกตะกอนจะปล่อยลงสู่บ่อผึ่งจำนวน 3 บ่อซึ่งต่อกัน แบบ
อนุกรม เพื่อลดปริมาณ BOD และมลสารอื่นๆในน้ำ
-ถังทำตะกอนข้น (sludge thickener) ตะกอนจากก้นถังตกตะกอนจะทำให้น้ำข้นขึ้น
-ลานตากตะกอน (sludge drying bed) ตะกอนที่ผ่านการทำให้ข้นแล้วจะนำมาตากไว้ที่ลานตาก
ตะกอน เพื่อให้ได้ตะกอนที่แห้งมาก สะดวกต่อการนำมาฝังกลบที่ศูนย์ จ. ราชบุรี ต่อไป
() การปรับเสถียรกากของเสีย (stabilization and solidification)กากของเสียต่างชนิดกันจะมีวิธีการที่เหมาะสมในการปรับเสถียรต่างกัน ดังนั้นก่อนการปรับเสถียรของเสียชนิดใดๆ ต้องมีการทำการทดลองเบื้องต้นในห้องทดลองก่อนเสมอ ตัวอย่างการปรับเสถียรได้แก่ กากตะกอนปรอทนำมาปรับเสถียรด้วยโซเดียมซัลไฟด์แล้วผสมเข้ากับปูนซีเมนต์ทำให้กลายเป็นของแข็งสารๆเหล่านี้
จะถูกนำมารวมกันผสมให้เข้ากันโดยการใช้เครื่องโม่ผสม
บ่อสูบ (pump sump)
น้ำไหลล้นกลับ
ลานตากตะกอน
(drying bed)
ถังทำตะกอนข้น
(sludge thickener)
โพลิเมอร์
น้ำที่ผ่านการบำบัดแล้ว
บ่อผึ่งที่ 3
บ่อผึ่งที่ 2
บ่อผึ่งที่ 1
ถังตกตะกอน (clarifier)
ถังวัดอัตราการไหลของน้ำด้วย weir
ถังกวนช้า(flocculation
ถังกวนเร็ว(rapid mixing
น้ำเสียจากโรงงานฟอกย้อม
ระบบปรับpH
สารส้ม
ตะกอน
น้ำใส
น้ำใส
ตะกอนแห้ง
กระบวนการบำบัดน้ำเสียจากโรงงานฟอกย้อม
ที่มา: ดัดแปลงจาก ศักดิ์ชัย (2541)
() การฝังกลบอย่างปลอดภัย (secure landfill)
กากของเสียที่ผ่านการบำบัดที่เหมาะสมแล้วจะถูกนำไปฝังกลบอย่างปลอดภัย ลักษณะของหลุมฝัง
กลบดังทีกล่าวมาแล้วในหัวข้อ 3.3 กากจากศูนย์แสมดำถูกส่งไปฝังกลบที่ จ.ราชบุรี ส่วนศูนย์มาบตาพุดมีพื้นที่ฝังกลบในบริเวณนั้นอยู่แล้ว
() การผสมกากเป็นเชื้อเพลิง
เป็นการนำของเสียที่เป็นสารอินทรีย์มาผสมเป็นเชื้อเพลิงเพื่อนำมาใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น
อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ สารอินทรีย์ที่นำมากำจัดโดยวิธีนี้จะต้องไม่เป็นสาทีมีปฏกิริยารุนแรง สารที่ระเบิดได้สารกัมมันตภาพรังสี
1.2 นิคมอุตสาหกรรม
นอกจากในส่วนของกรมโรงงานอุตสาหกรรมแล้ว การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) ก็เป็นอีกหน่วยงานหนึ่งที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการดูแลนิคมอุตสาหกรรมต่างจำนวน 23 นิคม ซึ่งมีโรงงานในสังกัดทั้งสิ้นประมาณ 2,200 โรง โรงงานเหล่านี้ก่อให้เกิดของเสียในรูปต่างๆ การนิคมอุตสาหกรรมจึงมีความจำเป็นที่ต้องมีมาตรการในการควบคุมและจัดการของเสียเหล่านี้เมื่อนิคมอุตสาหกรรมเริ่มเปิดดำเนินการ คือเมือมีโรงงานอุตสาหกรรมเข้ามาเปิดดำเนินการในขั้นต้น
การยื่นขอใบอนุญาติจัดตั้งโงงานจะต้องระบุถึงกระบวนการผลิต วัตถุอันตรายที่ใช้ และประมาณการกากอุตสาหกรรมที่จะเกิดขึ้น รวมทั้งมาตรการควบคุม จัดการและรายงานผลการดำเนินงาน กนอ.จึงจะออกใบอนุญาติให้จัดตั้งโรงงานได้ เมื่อจัดตั้งแล้วทางโรงงานจะต้องจัดทำบัญชีรายงานประเภทและปริมาณกากอุตสาหกรรมที่เกิดขึ้น และส่วนที่จัดเก็บไว้ในโรงงานต่อกนอ.เป็นเป็นประจำทุกเดือน นอกจากนั้นปี พ.. 2538 เป็นต้นมา กนอ.มีโครงการรณรงค์แยกขยะในนิคมอุตสาหกรรม เพื่อให้ผู้ประกอบการทำการแยกขยะตามชนิดของขยะ เพื่อสะดวกต่อการจัดเก็บและทำลาย และโดยเฉพาะอย่างยิ่งป้องกันมิให้มีการทิ้งขยะอันตรายปะปนมากับขยะทั่วไป กนอ.ได้กำหนดความหมายของขยะทั่วไปและขยะอันตรายไว้อย่างชัดเจน และกำหนดให้มีการจัดการขยะทั้ง 2 ประเภทด้วยวิธีที่แตกต่างกัน สำหรับขยะทั่วไปที่เกิดขึ้นในโครงการทั้งหมด ให้มีรถเก็บขนแล้วนำมากำจัดโดยวิธีการเผาในเตาเผาขยะมูลฝอย หรือวิธีการฝังกลบ(sanitary landfill) สำหรับขี้เถ้าจากเตาเผาขยะต้องนำมาฝังกลบในบ่อฝังกลบขี้เถ้าที่สามารถเก็บขี้เถ้าได้ไม่ต่ำกว่า 10 ปี สำหรับของเสียอันตราย นิคมอุตสาหกรรมจัดสร้างโรงพักกากชั่วคราวเพื่อพักรอการส่งไปกำจัดที่
ศูนย์บริการกำจัดกากโรงงานอุสาหกรรมต่อไป โดยกนอ.มีข้อกำหนดว่าโรงพักกากชั่วคราวสามารถเก็บกักกากอย่างน้อยได้ 5 ปี ภายในโรงพักกากจะต้องแบ่งส่วนต่างๆเพื่อเก็บกากแต่ละประเภทแยกกัน พื้นจะต้องทำด้วยวัสดุป้องกันการซึมผ่านของน้ำหรือของเหลว โรงพักกากจะต้องมีประตูเลื่อน ปิด-เปิดได้ นอกจากนั้นยังมีการกำหนดบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสมสำหรับกากแต่ละชนิด อาทิ น้ำมันหรือตัวทำละลายควรบรรจุในภาชนะ mild steel กากของแข็งที่เป็นสารอนินทรีย์และโลหะหนักควรบรรจุในภาชนะที่ทำด้วย mild steel หรือ plastic เป็นต้น อย่างไรก็ตามการนิคมอุตสาหกรรมมีนโยบายที่จะเปลี่ยนแปลงบทบาทจากการเก็บรวบรวมกากเพื่อส่งให้กับศุนย์บริการกำจัดกากของกรมโรงงานอุตสาหกรรม มาเป็นการรวบรวมกำจัด และบำบัดกากอุตสาหกรรมอย่าง
ครบวงจร
การจัดการกากของเสียอันตรายจากแหล่งชุมชน
ของเสียอันตายจากแหล่งชุมชนนั้นอาจแบ่งได้เป็น 2 ส่วนคือ 1) ของเสียจากที่พักอาศัยและแหล่ง
พาณิชยกรรม และ 2) ของเสียจากโรงพยาบาล
สำหรับของเสียจากที่พักอาศัยและแหล่งพาณิชยกรรมนั้น ในประเทศไทยการวางแผนจัดการของเสียอันตรายที่เป็นรูปธรรมเพียงที่กรุงเทพมหานครเท่านั้น ส่วนเทศบาลอื่นๆยังมิได้มีการจัดการในเรื่องนี้อย่างจริงจังคือยังมิได้มีมาตรการชัดเจนในการบังคับให้แยกทิ้งขยะอันตรายในชุมชน ทำให้ของเสียอันตรายเหล่านี้มีการปนเปื้อนสู่สิ่งแวดล้อมอย่างมาก
ในแผนพัฒนากรุงเทพมหานครฉบับที่ 5 (.. 2540-2544) แผนสาขาสิ่งแวดล้อม แผนงานที่ 4
แผนงานจัดการมูลฝอย สิ่งปฏิกูล และของเสียอันตราย ได้กล่าวไว้ในกทม.เกิดขยะอันตราย เช่น ถ่านไฟฉายหลอดไฟ กระป๋องยาปราบศัตรูพืช สีสปรย์ ยาเสื่อมคุณภาพ เกิดขึ้นประมาณ 22-23 ตันในปี พ.. 2538 ดังในแผนงานที่ 4 นี้ได้กำหนดวัตถุประสงค์ให้สามารถเก็บขนขยะและกำจัดมูลฝอยติดเชื้อและของเสียอันตรายจากชุมชนอย่างถูกสุขลักษณะ โดยมีเป้าหมายในการแยกขยะอันตรายจากชุมชนอย่างน้อยร้อยละ 20 ของปริมาณขยะอันตรายทั้งหมดในปี พ.. 2544 โดยให้ความรู้แก่ประชาชนในเรื่องปัญหา พิษภัย และผลกระทบจากขยะอันตรายจากชุมชนต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชน เพื่อรณรงค์ให้มีการคัดแยกขยะอันตรายจากขยะมูลฝอยทั่วไป รวมทั้งมีแนวทางและมาตรการที่เกี่ยวข้องกับขยะอันตราย ได้แก่
ให้มีระบบการเก็บขนขยะอันตรายจากชุมชน เพื่อลดปัญหาการปนเปื้อนของเสียอันตรายที่ปะปนมากับมูลฝอยทั่วไป
สนับสนุนให้เอกชนเข้ามามีบทบาทในด้านการให้บริการเก็บขนมูลฝอยติดเชื้อและขยะอันตราย
เพิมศักภาพในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่เก็บขนขยะมูลฝอยติดเชื้อและขยะอันตราย พร้อมทั้งมีการตรวจสุขภาพ การสนับสนุนค่าตอบแทน และสวัสดิการแก่เจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานเสี่ยงต่อสุขภาพ
แนวทางการจัดการขยะอันตรายจากชุมชนในกทม
(1)รณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนร่วมมือกันในการคัดแยกขยะอันตรายจากชุมชนทั่วไปก่อนนำไปทิ้ง โดยใช้สื่อประชาสัมพันธ์ต่างๆได้แก่ แผ่นพับ โปสเตอร์ สปอตวิทยุ-โทรทัศน์ นิทรรศการป้ายประชาสัมพันธ์
และหนังสือเสริมสร้างความรู้ด้านสิ่งแวดล้อม
(2) ระบบการแยกทิ้งขยะอันตรายจากชุมชน
(2.1) จัดหาถุงขยะรองรับขยะอันตรายให้ประชาชนในพื้นที่เป้าหมายในเขต
ทดลอง 9 เขต ได้แก่ คลองเตย สวนหลวง บางกะปิ บึงกุ่ม ห้วยขวาง ราชเทวี สาธร และธนบุรี และถุงรองรับ
มูลฝอยขนาดใหญ่ความจุไม่ต่ำกว่า 240 ลิตร โดยใช้รถเก็บขนจัดเก็บ 2 สัปดาห์/ครั้ง
(2.2) จัดหาถังขยะรองยับยะอันตรายขนาดความจุไม่น้อยกว่า 240 ลิตร                สำหรับรองรับขยะอันตรายประเภทต่างๆโดยตั้งวางไว้ตามจุดต่างๆ เช่น สถานีบริการน้ำมัน ห้างสรรพสินค้า
สถานที่ราชการ และสำนักงานเขตทั่วกรุงเทพมหานคร โดยใช้รถเก็บขนขยะสัปดาห์ละ 1 ครั้ง
(3) การเก็บขนขยะอันตรายใช้รถเก็บขนขยะจากเขตทดลอง 9 เขตและจุดตั้งถังขยะรองรับขยะอันตรายทั่วกทม.
(4) การเก็บรวบรวมและเก็บกักขยะอันตราย
ขยะที่เก็บขนได้จะถูกนำไปเก็บรวบรวมไว้ยังสถานีเก็บกักบริเวณโรงงานกำจัดขยะของกทม.โดยต้องแยกบริเวณออกจากบริวณออกจากบริเวณเก็บกักขยะทั่วไป กทม.ได้ขอความร่วมมือไปยังกรมโรงงานอุตสาหกรรมเพื่อส่งผู้เชี่ยวชาญจากบริษัท GENCO ทำการกำจัดต่อไป นอกจากนี้ กทม.ยังได้จัดทำโครงการเตรียมการจัดทำระบบการเก็บกักและบำบัดเบื้องต้นอีกด้วย
(5) การกำจัดมูลขยะอันตราย
กทม.ได้ทำบันทึกข้อตกลงร่วมกับกระทรวงอุตสาหกรรมเมื่อวันที่ 22 มกราคม 2540 โดยกทม.จะ
รับผิดชอบในส่วนการเก็บขนและเก็บรวบรวมขยะอันตรายจากชุมชน แล้วส่งต่อให้บริษัท GENCO เป็นผู้นำไปบำบัดและกำจัดต่อไปในส่วนของของเสียจากโรงพยาบาบซึ่งจัดว่าเป็นของเสียอันตรายนั้น แต่ละโรงพยาบาลก็จะต้องมีการบำบัดและกำจัดน้ำเสียและขยะอย่างถูกต้อง การบำบัดน้ำเสียจากโรงพยาบาลจะทำโดยการย่อยสลายสารปนเปื้อนในน้ำด้วยกระบวนการทางชีวภาพ ต่อจากนั้นจะทำการฆ่าเชื้อโรคก่อนปล่อยน้ำทิ้งไป สำหรับขยะติดเชื้อที่เกิดขึ้นจะต้องทำการรวบรวมลงในถุงแดงซึ่งเป็นพลาสติกสีแดงและมีตัวอักษรแสดงชัดเจนว่าเป็นขยะติดเชื้ออันตราย เมื่อรวบรวมได้แล้วจะทำการกำจัดขยะติดเชื้อจะทำโดยการเผาด้วยเตาเผาชนิดต่าง ๆ ตามความเหมาะสม เตาเผาเหล่านี้จะมีแบบมาตรฐานของหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง อาทิ กองสุขาภิบาล กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข หลังจากการเผาแล้วจะต้องนำเถ้าที่ได้ไปทำการฝังกลบอย่างถูกต้องต่อไป
สถานการณ์ของของเสียอันตราย พ.. 2544
ปริมาณของเสียอันตรายใน พ.. 2544 ไม่ต่างจากปริมาณที่เกิดขึ้นใน พ.. 2543 มากนัก เนื่องจาก
ภาวะเศรษฐกิจถดถอยทำให้โรงงานอุตสาหกรรมยังคงมีกำลังการผลิตค่อนข้างต่ำ คาดว่ามีประมาณ 1.68 ล้านต้น โดยกว่าร้อยละ 78 หรือประมาณ 1.31 ล้านตันเกิดจากภาคอุตสาหกรรม และอีกร้อยละ 22 หรือประมาณ0.37 ล้านตันเกิดจากชุมชน ของเสียอันตรายส่วนใหญ่กว่าร้อยละ 64 หรือ 1.07 ล้านตัน เกิดขึ้นในกรุงเทพฯ และปริมณฑล ซึ่งหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชนได้มีการดำเนินการจัดการของเสียอันตรายดังนี้
ประเทศไทยมีโรงงานซึ่งกำจัดของเสียอันตรายที่มีศักยภาพในการรองรับของเสียอันตรายจาก
อุตสาหกรรมได้เพียง 0.18 ล้านตัน หรือคิดเป็นร้อยละ 11 จากจำนวนที่เกิดขึ้นทั้งหมด โรงงานรับกำจัดของเสียอันตราย (โรงงานปรับคุณภาพของเสียรวม หรือโรงงานลำดับที่ 101) ที่ได้รับอนุญาตอย่างถูกต้องจาก กรมโรงงานอุตสาหกรรมมีทั้งหมด 5 แห่ง ได้แก่
1) ศูนย์บริการกำจัดกากอุตสาหกรรมมาบตาพุด จังหวัดระยอง (GENCO) ให้บริการกำจัดของเสีย
อันตรายทุกประเภทได้ 42,000 ตัน
2) ศูนย์บริการกำจัดกากอุตสาหกรรมแสมดำและราชบุรี (GENCO) กำจัดของเสียอันตราย อนิ
นทรีย์ได้ประมาณ 88,000 ตัน
3) บริษัท ปูนซีเมนต์ไทย (แก่งคอย) จำกัด รับกำจัดของเสียอันตรายที่สามารถนำมาเป็นเชื้อเพลิง
และวัตถุดินทดแทน เช่น น้ำมันหล่อลื่นใช้แล้ว ประมาณ 46,000 ตัน
4) บริษัท เทคโนเคม จำกัด จังหวัดฉะเชิงเทรา กำจัดของเสียอันตรายประเภทตัวทำลายอนินทรีย์ได้
ประมาณ 4,000 ตัน และ
5) บริษัท รีไซเคิล เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด จังหวัดชลบุรี กำจัดของเสียประเภทสารละลายและเคมีภัณฑ์
ได้ประมาณ 4,000 ตันนอกจากนี้ยังมีของเสียอันตรายบางประเภท เช่น สารพีซีบี กากโลหะทองแดงผสมเงิน ประมาณ 330 ตัน ถูกส่งไปกำจัดหรือรีไซเคิลในต่างประเทศ อย่างไรก็ตามยังมีของเสียอันตรายอีกจำนวนมากที่โรงงานอุตสาหกรรมทำการเก็บกักหรือกำจัดเอง บางแห่งทำการลักลอบทิ้งหรือมีการว่าจ้างบริษัทตัวแทนให้บริการเก็บขนนำไปกำจัดอย่างไม่ถูกต้องเป็นปัญหาต่อสิ่งแวดล้อม กรมโรงงานอุตสาหกรรมมีโครงสร้างระบบรองรับกากอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นโดยการสร้างเตาเผากาก อุตสาหกรรมที่นิคมอุตสาหกรรมบางปู ขนาด 15,000 ตัน/ปี คาดว่าจะเปิดดำเนินการใน พ.. 2547 และโครงการปรับปรุงศูนย์บริการกำจัดกากอุตสาหกรรมแสมดำ ซึ่งจะแล้วเสร็จภายใน พ.. 2546 ขณะนี้กำลังอยู่ในขั้นดำเนินการก่อสร้างทั้ง 2 โครงการ บริษัท บริหารและพัฒนาเพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม จำกัด (มหาชน) หรือGENCO มีโครงการขยายพื้นที่ฝังกลบศูนย์บริการกำจัดกากอุตสาหกรรมมาบตาพุด จังหวัดระยอง ให้สามารถฝังกลบกาก อุตสาหกรรมในพื้นที่ส่วนขยายได้ 92,000 ตัน/ปี โดยมีอายุการใช้งานประมาณ 10 ปี ซึ่งจะดำเนินการใน พ.. 2545 นอกจากนี้กรมโรงงานอุตสาหกรรมได้ส่งเสริมให้เกิดการบริหารจัดการของเสียอันตรายได้มากขึ้น ตามกฎกระทรวงฉบับที่ 15 (2544) โดยได้อนุญาตการประกอบกิจการโรงงานลำดับที่ 105 และ 106 ได้แก่ โรงงานคัดแยกหรือฝังกลบสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว และโรงงานประกอบกิจการนำผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่ไม่ใช้แล้วหรือของเสียจากโรงงานมาผลิตเป็นวัตถุดิบหรือผลิตภัณฑ์ใหม่ ประกาศในราชกิจานุเบกษา เมื่อวันที่ 19ธันวาคม 2544
ของเสียอันตรายจากชุมชน
ใน พ.. 2544 มีปริมาณของเสียอันตรายจากชุมชนเกิดขึ้นประมาณ 370,000 ตัน โดยเกิดขึ้นในเขต
กรุงเทพมหานคร และปริมณฑลร้อยละ 40 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยละ 20 ภาคเหนือ ร้อยละ 13 ภาคใต้ ร้อยละ 11 ภาคกลางร้อยละ 10 และภาคตะวันออกร้อยละ 6 ตามลำดับ ของเสียอันตรายจากชุมชนเหล่านี้ ส่วนใหญ่ยังคงถูกทิ้งรวมไปกับขยะมูลฝอยทั่วไป กรมควบคุมมลพิษได้เสนอให้มีการยกร่างและปรับปรุงกฎหมายให้ สามารถควบคุมเฉพาะเรื่องการจัดการของเสียอันตราย เพื่อทำให้สามารถควบคุมการแยกของเสียอันตรายจาก ชุมชนมากำจัดหรือปรับสภาพมาใช้ใหม่ได้อย่างถูกต้อง รวมทั้งมีโครงการศึกษาเพื่อการจัดตั้งศูนย์กำจัดของเสียอันตรายจากชุมชนโดยคัดเลือกพื้นที่ที่เหมาะสมในการจัดตั้งศูนย์เพื่อรองรับของเสียอันตรายในพื้นที่กรุงเทพฯ ปริมณฑลและภาคกลางฝั่งตะวันตก 18 จังหวัด โดยจะแล้วเสร็จใน พ.. 2545
ปริมาณมูลฝอยติดเชื้อใน พ.. 2544 ซึ่งเกิดจากสถานพยาบาล ทั้งของรัฐและเอกชนกว่า 24,000 แห่ง มีประมาณ 15,300 ตัน คิดเป็นร้อยละ 4.1 ของปริมาณของเสียอันตรายจากชุมชน มีการจัดการดังต่อไปนี้
กรุงเทพมหานครได้ว่าจ้างให้ บริษัท เทพธนาคม จำกัด ดำเนินการเก็บขนและทำลายมูลฝอยติดเชื้อ
แทนการให้บริการเก็บขนและกำจัดมูลฝอยติดเชื้อจากโรงพยาบาล ศูนย์บริการสาธารณสุข และสถานพยาบาล ในเขตกรุงเทพมหานคร โดยใช้รถยนต์เปิดข้างขนาดความจุ 4 ลูกบาศก์เมตร ควบคุมอุณหภูมิไม่เกิน 15 องศา เซลเซียส จำนวน 20 คัน สามารถให้บริการเก็บรวบรวมมูลฝอยติดเชื้อได้ประมาณ 12 ตัน/วัน ซึ่งทั้งหมดนำไป เผากำจัดยังโรงงานกำจัดมูลฝอยอ่อนนุช โดยเก็บค่าบริการเฉพาะค่าเก็บขน แต่ไม่คิดค่ากำจัด ส่วนการจัดการมูลฝอยติดเชื้อในส่วนภูมิภาค สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข รายงานว่า มูลฝอย ติดเชื้อที่เกิดจากสถานพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขซึ่งมีประมาณ 750 แห่ง มีสถานพยาบาล ร้อยละ87 ที่มีเตาเผามูลฝอยติดเชื้อของตนเอง โดยโรงพยาบาลศูนย์ฯ และโรงพยาบาลทั่วไป มีเตาเผามูลฝอยติดเชื้อครบทุกแห่ง แต่โรงพยาบาลชุมชนบางส่วนที่ยังไม่มีเตาเผา ในจำนวนนี้ ร้อยละ 89 ใช้งานได้ดี ส่วนที่เหลือ ร้อย
ละ 11 อยู่ระหว่างการซ่อมบำรุง ในส่วนของโรงพยาบาลเอกชนมีเพียงบางแห่งที่มีเตาเผามูลฝอยติดเชื้อของ ตนเอง สถานพยาบาลขนาดเล็กต่างๆ ที่ไม่มีเตาเผา ใช้วิธีทำลายเชื้อเบื้องต้น แล้วส่งให้ราชการส่วนท้องถิ่นไปกำจัดร่วมกับ มูลฝอยชุมชนปัจจุบันมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 6 แห่ง ไม่รวมกรุงเทพฯ ที่มีเตาเผา มูลฝอยติดเชื้อ สำหรับบริการกำจัดแบบศูนย์กลาง ได้แก่ เทศบาลนครหาดใหญ่ องค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี เทศบาลสมุทรสาคร เทศบาลเมืองภูเก็ต เทศบาลขอนแก่น และ เทศบาลเมืองสุพรรณบุรี กระทรวงสาธารณสุข ได้แต่งตั้งคณะกรรมการและคณะทำงานจัดการมูลฝอยติดเชื้อแห่งชาติ
ประกอบด้วยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ให้ดำเนินการจัดทำแผนการจัดการมูลฝอยติดเชื้อแบบศูนย์กลาง โดยมีแนวคิดให้ เตาเผามูลฝอยติดเชื้อของราชการส่วนท้องถิ่น ทั้ง 7 แห่ง และโรงพยาบาลในจังหวัดต่าง ๆ อีก 22 แห่ง เป็นศูนย์กำจัด มูลฝอยติดเชื้อระดับจังหวัด สำหรับพื้นที่ที่ไม่มีระบบกำจัดมูลฝอยติดเชื้อแบบศูนย์กลาง ได้มี แผนการก่อสร้างระบบกำจัดมูลฝอยติดเชื้อแบบศูนย์กลางขึ้น จำนวน 47 แห่ง และมีการก่อสร้างเตาเผามูลฝอยติดเชื้อของโรงพยาบาล ชุมชนในพื้นที่ห่างไกลอีก 75 แห่ง ซึ่งมีระยะเวลาดำเนินงานตั้งแต่ พ.. 2546 ถึง 2551
ที่มา : รายงานสถานการณ์มลพิษของประเทศไทย พ.. 2544.กรมควบคุมมลพิษ.
สถานการณ์ของเสียอันตราย พ.. 2545
จากแนวโน้มการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของประเทศอย่างต่อเนื่องจากปีที่ผ่านมา กรมควบคุมมลพิษ
คาดการณ์ว่า ปริมาณของเสียอันตรายทั้งหมดใน พ.. 2545 จะเพิ่มขึ้นประมาณ 3-5 % จาก พ.. 2544 (1.31 ล้านต้น) ซึ่งมีการขยายตัวด้านลงทุนจากภาคเอกชน ประมาณ 8-10 % และมีการขยายตัวด้านการส่งออกมี มูลค่าเพิ่มขึ้น ประมาณ 1.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ ฉะนั้นปริมาณของเสียอันตรายจากอุตสาหกรรม คาดว่ามี อัตราเพิ่มขึ้นจากเดิม ประมาณ 5-10% (ประมาณ 1.4 ล้านตัน) ส่วนของเสียอันตรายาจากชุมชน พบว่า อัตรา การบริโภคภาคเอกชนและภาครัฐเพิ่มขึ้น ประมาณ 5-7 % ทำให้ปริมาณของเสียอันตรายจากชุมชนเพิ่มขึ้นจาก พ.. 2544 (0.37 ล้านตัน) ประมาณ 1-3 % (ประมาณ 0.38 ล้านตัน) ในปี 2545 คาดว่าปริมาณของเสีย อันตรายจากอุตสาหกรรมถูกส่งเข้ากำจัด เพิ่มขึ้นประมาณ 10% เทียบกับ พ.. 2544 (0.18 ล้านตัน) และสำนัก เทคโนโลยีสิ่งแวดล้อมโรงงาน กรมโรงงานอุตสาหกรรม ได้ประกาศรายชื่อโรงงาน ซึ่งได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการรับบริการกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุไม่ใช้แล้ว แบ่งเป็น ประเภทของเสียอันตรายตามประเภท โรงงานที่101 105 และ 106 จำนวน 12 โรงงาน และอยู่ระหว่างพิจารณาให้อนุญาตอีกจำนวน 10 โรงงาน (ใน พ..2545) ซึ่งใน พ.. 2546 คาดว่าจำนวนโรงงานที่รับกำจัดจะสามารถกำจัดของเสียอันตรายเพิ่มขึ้น สำหรับการกำจัดของเสียอันตรายจากชุมชน กรมควบคุมมลพิษอยู่ระหว่างพิจารณาดำเนินงานในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และภาคกลางฝั่งตะวันตก (18 จังหวัด) ซึ่งคาดว่าใน พ.. 2546 โครงการจัดตั้งศูนย์กำจัดของเสียอันตรายจากชุมชนจะมีความชัดเจนมากขึ้น สำหรับปริมาณมูลฝอยติดเชื้อใน พ.. 2544 และ 2545 พบปริมาณมูลฝอยติดเชื้อประมาณ 15,000 ตัน และ 16,000 ตัน ตามลำดับ หรือมีอัตราเพิ่มขึ้นประมาณ 7-10% ต่อปี ในการนี้ กระทรวงสาธารณสุข ได้แต่งตั้งคณะกรรมการและคณะทำงานจัดการมูลฝอยติดเชื้อแห่งชาติ เพื่อดำเนินการจัดทำแผนกจัดการมูลฝอยติดเชื้อแห่งชาติและจะเริ่มดำเนินการตามแผนฯ ใน พ.. 2546 เป็นต้นไป
ที่มา : รายงานสถานการณ์มลพิษของประเทศไทย พ.. 2545.กรมควบคุมมลพิษ.__

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น