ทบทวนอนามัยสิ่งแวดล้อม

วันพฤหัสบดีที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2553

ความรู้พื้นฐานด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม(การจัดการน้ำสะอาด)

การจัดการน้ำสะอาด
ตอนที่ 2.1 ความสำคัญของน้ำ วัฏจักรของน้ำและแหล่งน้ำ
ความสำคัญของน้ำ น้ำเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของผิวโลก และมีอยู่ในสิ่งมีชีวิตทุกชนิด ทั้งมนุษย์
สัตว์ พืช และจุลินทรีย์ ถือเป็นทรัพยากรที่สำคัญของมนุษย์ น้ำมีความจำเป็นต่อสิ่งมีชีวิตทุกชนิดโดยเฉพาะมนุษย์ซึ่งจำเป็นต้องใช้น้ำในการอุปโภคบริโภค มนุษย์บริโภคน้ำเข้าไปในร่างกายและปล่อยน้ำออกจากร่างกายมากกว่าสารอื่น ๆ น้ำเป็นส่วนสำคัญของเนื้อเยื่อเกือบทุกชนิด และยังทำหน้าที่เป็นตัวกลางสำหรับลำเลียงถ่ายเทสารอาหารและของเสีย นอกจากนี้ยังช่วยรักษาอุณหภูมิของร่างกายให้คงที่ ร่างกายมนุษย์ประกอบด้วยน้ำประมาณ 70 เปอร์เซ็นต์ ของน้ำหนักตัว นอกจากนี้การใช้ประโยชน์ของน้ำสำหรับมนุษย์นั้นยังมีอีกมากมายหลายอย่าง ได้แก่ การใช้เพื่อชำระล้างร่างกายและเครื่องนุ่งห่ม ใช้ในการประกอบอาหาร การเกษตร การล้างทำความสะอาดถนนและสาธารณสถานอื่น ๆ การพักผ่อนหย่อนใจ การอุตสาหกรรม การขับเคลื่อนสิ่งสกปรก การผลิตกระแสไฟฟ้าพลังน้ำ การคมนาคม และการป้องกันอัคคีภัย จึงนับว่าน้ำเป็นทรัพยากรที่มีประโยชน์มากมายต่อมนุษย์อย่างแท้จริง
วัฏจักรของน้ำ ( Hydrologic Cycle ) วัฏจักรของน้ำหมายถึง การหมุนเวียนเปลี่ยนแปลงระหว่างโมเลกุลของน้ำจากผิวโลกสู่บรรยากาศโดยการระเหย ( evaporation ) และคายน้ำของพืช ( transpiration ) และจากบรรยากาศสู่ผิวโลกโดยตกลงมาเป็นฝน หิมะ ลูกเห็บ และน้ำค้าง ณ จุดเริ่มต้นวัฏจักรจุดใดจุดหนึ่ง น้ำบนผิวโลก ได้แก่ น้ำทะเล มหาสมุทร แม่น้ำ ลำธาร เมื่อได้รับความร้อนจากดวงอาทิตย์จะเกิดการระเหย เปลี่ยนสภาวะจากของเหลวกลายเป็นไอลอยขึ้นสู่อากาศเบื้องบนเรียกว่าไอน้ำซึ่งบางส่วนอาจจะเกิดจากการคายน้ำของพืชไอน้ำรวมตัวกันกลายเป็นกลุ่มก้อนขนาดใหญ่ขึ้นกลายเป็นก้อนเมฆเมื่อมีขนาดใหญ่ขึ้นมีน้ำหนักมากขึ้นก็จะลอยลงมาใกล้พื้นผิวโลกมากขึ้น และจะถูกความร้อนที่ผิวโลกละลายก้อนเมฆเหล่านั้นทำให้เกิดการกลั่นตัวกลายเป็นหยดน้ำตกลงมาสู่พื้นผิวโลก กลายเป็นน้ำฝน หิมะ ลูกเห็บ น้ำค้าง ซึ่งเรียกโดยรวมว่าน้ำจากบรรยากาศ
แหล่งของน้ำที่ใช้เพื่อการอุปโภคบริโภค ( Source of Water Supply )
1. น้ำฝน หรือน้ำจากบรรยากาศ ( Rain Water หรือ Precipitation Water ) หมายถึง น้ำทั้งหมดที่ได้จากการกลั่นตัวเป็นหยดน้ำของก้อนเมฆโดยตรง เช่น น้ำฝน หิมะ ลูกเห็บ คุณสมบัติของน้ำฝนจึงเป็นน้ำบริสุทธิ์อย่างแท้จริง แต่เนื่องจากน้ำมีคุณสมบัติในการละลายสิ่งต่าง ๆ ได้ดี มันจึงอาจดูดซับแก๊สต่าง ๆ จากบรรยากาศถ้าเป็นบรรยากาศบริเวณทะเลหรือมหาสมุทรก็อาจดูดซับเกลือต่าง ๆ ซึ่งเกิดจากฟุ้งกระจายของน้ำทะเล หรือมหาสมุทร นอกจากนี้ถ้าน้ำฝนตกผ่านบรรยากาศที่สกปรกก็อาจทำให้น้ำฝนนั้นมีความสกปรกได้ แต่ความสกปรกต่าง ๆ ที่ละลายในน้ำฝนอาจจะมีปริมาณความสกปรกไม่มากเกินมาตรฐานน้ำดื่มน้ำใช้ และถ้ามีการเก็บกักน้ำฝนดังกล่าวไว้ในภาชนะที่สะอาด ก็อาจจะนำน้ำฝนนั้นมาใช้ในการอุปโภคบริโภคได้โดยไม่ต้องมีการปรับปรุงคุณภาพ
2. น้ำผิวดิน ( Surface Water ) หมายถึง ส่วนของน้ำฝนที่ตกลงมาสู่พื้นดินแล้วไหลลงสู่ที่ต่ำโดยจะถูกเก็บกักในส่วนของพื้นดินที่เป็นหลุมเป็นแอ่ง ในทะเล มหาสมุทร แม่น้ำ ลำคลอง ห้วย หนองสระ น้ำผิวดินมีความสำคัญต่อชุมชนเป็นอย่างมาก เพราะเป็นแหล่งน้ำขนาดใหญ่ที่ โดยเฉพาะในทะเล และมหาสมุทร แต่น้ำทะเลก็ไม่นิยมที่จะนำมาใช้ในการอุปโภคบริโภค นอกจากจะใช้เพื่อการประมง และการคมนาคม น้ำผิวดินจืดในแต่ละแห่งจะมีคุณภาพที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับว่าเมื่อน้ำฝนตกลงมายังพื้นดินแล้วไหลผ่านบริเวณใด หรือชะล้างเอาสิ่งสกปรกอะไรลงไป อาจจะมีพวกธาตุ สารอินทรีย์ จุลินทรีย์ น้ำผิวดินจึงมักสกปรกกว่าน้ำฝนหรือใต้ดินดังนั้นการที่จะนำเอาน้ำผิวดินมาใช้ในการอุปโภคบริโภค จึงจำเป็นที่จะต้องนำมาปรับปรุงคุณภาพให้สะอาดปลอดภัยเสียก่อน
3. น้ำใต้ดิน ( Ground Water หรือ Underground Water ) หมายถึงน้ำที่อยู่ตามรูพรุน( porous ) ของดินหิน กรวด หรือทราย ซึ่งอยู่ใต้ผิวโลก น้ำใต้ดินเกิดจากการที่น้ำฝนหรือน้ำจากบรรยากาศในรูปอื่น ๆ ตกลงสู่พื้นผิวโลก และบางส่วนได้จากแหล่งน้ำผิวดิน ไหลซึมลงสู่เบื้องต่ำ และน้ำก็จะถูกกักไว้ตามช่องว่างหรือรูพรุนของดิน หินกรวด หรือทราย จนถึงชั้นของดินหรือหินที่น้ำซึมผ่านไม่ได้ แหล่งน้ำดังกล่าวนี้ ได้แก่ น้ำพุ น้ำบ่อบ่อน้ำซับ เป็นต้น

ตอนที่ 2.2 ปริมาณความต้องการน้ำ การสูญเสียน้ำและคุณลักษณะของน้ำ

ปริมาณความต้องการน้ำ
ความแตกต่างของปริมาณและอัตราการใช้น้ำนี้จะขึ้นอยู่กับองค์ประกอบที่สำคัญหลายอย่างด้วยกันเป็นต้นว่า ลักษณะของชุมชนใหญ่ กลาง เล็ก ชุมชนเมืองที่แออัดหรือชุมชนชนบทที่ห่างไกล หรือชุมชนในเขตการค้าอุตสาหกรรม หรือชุมชนชนบทที่กำลังพัฒนาและมีความเจริญใกล้เคียงเมือง อัตราการใช้น้ำแบ่งเป็นประเภทได้ดังนี้คือ
1. การใช้น้ำในที่พักอาศัย ( domestic use ) การใช้น้ำในที่พักอาศัยหรือบ้านเรือนของประชาชนนั้นถือว่าเป็นประเภทที่มีจำนวนผู้ใช้น้ำทั้งหมดและในวัตถุประสงค์หลายอย่าง เป็นต้นว่า การใช้ดื่ม การใช้ซักล้างการล้างรถ การรดน้ำต้นไม้ สวนครัว การหุงต้ม และตลอดจนใช้ทำความสะอาดห้องน้ำและห้องส้วม
2. การใช้น้ำสำหรับอุตสาหกรรม ( industrial use ) การใช้น้ำในอุตสาหกรรมนั้น โดยปกติแล้วจะมีปริมาณการใช้น้ำสูงกว่าในการใช้ครัวเรือน แต่ย่อมขึ้นอยู่กับขนาดของอุตสาหกรรมนั้น ๆ ด้วยว่ามีขนาดและชนิดของอุตสาหกรรมอย่างไร
3. การใช้น้ำในกิจการสาธารณะ ( public use ) การใช้น้ำในกิจการสาธารณะนั้นเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับประชาชนทั่วไป และปริมาณการใช้ น้ำก็จะแตกต่างกันไปด้วยในกรณีชุมชนที่หนาแน่นและเจริญแล้ว กิจการสาธารณะเหล่านี้ได้แก่ การล้างและทำความสะอาดตลาดส้วมสาธารณะ ถนน ท่อน้ำโสโครก การดับเพลิงการรดสนามหญ้า ต้นไม้ตามถนนและหารบริการน้ำตามก๊อกสาธารณะ น้ำพุประดับ
4. การใช้น้ำเพื่อกิจการเลี้ยงสัตว์ ( farm animals ) การใช้น้ำในคอกปศุสัตว์ วัว ควาย ม้า สุกร ไก่ ปกติแล้วการใช้น้ำสำหรับเลี้ยงสัตว์และสวนครัวตามบ้านมักจะมีปริมาณไม่มากนักนอกจากกรณีทำฟาร์มหรือปศุสัตว์จำนวนมาก ๆ
5. การใช้น้ำสำหรับการค้า ( commercial use ) การใช้น้ำในธุรกิจการค้านั้น โดยปกติแล้วปริมาณการใช้น้ำจะสูงกว่าในการใช้ในครัวเรือน และย่อมจะขึ้นอยู่กับขนาดของธุรกิจการค้าว่ามีขนาดและกิจการอย่างไรการสูญเสียของน้ำ ( Loss and waste ) ปริมาณน้ำที่จะต้องสูญเสียไป ระบบการประปา นั้นเป็นตัวอย่างที่ดีชี้ให้เห็นถึงการสูญเสียของน้ำที่มิสามารถเก็บเงินได้ ( unaccount ) ทั้งนี้จากเหตุหลายประการ เช่นการรั่วไหลเนื่องจากท่อน้ำแตกและข้อต่อชำรุด การจ่ายน้ำเพื่อการดับเพลิงการจ่ายน้ำฟรีเพื่อประชาชนในฤดูแล้งแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำ การใช้น้ำเพื่อ ล้างหน้าทรายทำความสะอาดถังตะกอน มาตรวัดน้ำชำรุด ฯลฯ ซึ่งการสูญเสียของน้ำที่เก็บ หรือคิดเป็นตัวเงินมีได้นี้ ประมาณร้อยละ 20 ของปริมาณการผลิตน้ำทั้งหมด
คุณลักษณะของน้ำ ( Characteristic of water ) เพื่อสะดวกต่อการเลือกใช้วิธีการปรับปรุงคุณภาพจึงจัดแบ่งประเภทของคุณลักษณะของน้ำไว้เป็น 3 ประเภท คือ คุณลักษณะของน้ำทางกายภาพหรือฟิสิกส์คุณลักษณะของน้ำทางเคมี และคุณลักษณะของน้ำทางชีวภาพ ดังนี้
1. คุณลักษณะทางด้านกายภาพหรือฟิสิกส์ ( Physical Characteristics ) คือลักษณะของน้ำ ที่สามารถวิเคราะห์ได้โดยทางกายสัมผัส ได้แก่ ความขุ่น สี กลิ่น รสชาติ อุณหภูมิ เป็นต้น
1.1 ความขุ่น ( Turbidity ) ความขุ่นของน้ำหมายถึง การที่น้ำมีพวกสารแขวนลอยอยู่ในน้ำให้บดบังแสงทำให้ไม่สามารถมองลงไปในระดับน้ำที่ลึกได้สะดวก สารแขวนลอยที่ทำให้น้ำมีความขุ่น ได้แก่ ดินละเอียดอินทรีย์สาร อนินทรีย์สาร แพลงตอน และจุลินทรีย์ สารพวกนี้อาจมีบางพวกกระจายแสงบางพวกดูดซึมแสงความขุ่นของน้ำ มีความสำคัญต่อปัญหาทางด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมในด้านความน่าใช้
1.2 สี (Color) สีในน้ำตามธรรมชาติเกิดจากการหมักหมมทับถมกับของพืช ใบไม้ เศษวัสดุอินทรีย์ต่างๆความสำคัญทางด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมของสีในน้ำ ถ้าเป็นสีที่เกิดโดยธรรมชาติจาการสลายของพืช ใบไม้ใบหญ้า นั้นถึงแม้จะไม่มีอันตรายต่อผู้บริโภค แต่เนื่องจากสีของมันเป็นสีเหลืองน้ำตาล จึงอาจทำให้เกิดความรู้สึกที่ไม่ต้องการใช้น้ำดังกล่าวบริโภค จำเป็นต้องกำจัดออกถ้ามีปริมาณมาก
1.3 กลิ่น ( Odor ) กลิ่นในน้ำมักเกิดจากการที่น้ำมีจุลินทรีย์ เช่น สาหร่าย ความสำคัญทางด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมของกลิ่นในน้ำ ทำให้น้ำนั้นไม่น่าใช้สอยคู่มือการพยาบาลส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค
1.4 รสชาติ (Taste) รสชาติในน้ำเกิดจากการละลายน้ำของพวกเกลืออนินทรีย์ เช่น ทองแดงความสำคัญทางด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมของรสชาติในน้ำทำให้น้ำไม่น่าดื่มและไม่น่าใช้สอย
1.5 อุณหภูมิ (Temperature) การที่อุณหภูมิของน้ำเปลี่ยนแปลงอาจเกิดจากธรรมชาติ ในบางครั้งการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของน้ำอาจเกิดจากการที่น้ำได้รับการปนเปื้อนจากน้ำทิ้งที่เกิดจากกิจกรรมต่างๆ ของมนุษย์หรือจากโรงงานอุตสาหกรรม โรงงานผลิตกระแสไฟฟ้าเหล่านี้เป็นต้น ทำให้น้ำมีอุณหภูมิสูงหรือต่ำกว่าปรกติความสำคัญทางด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม ของอุณหภูมิในน้ำนั้นอาจเป็นผลกระทบในทางอ้อม มีผลต่อสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ในแหล่งน้ำ เช่นพวกปลาบางชนิดอาจจะมีชีวิตอยู่ไม่ได้ในน้ำที่มีอุณหภูมิสูงกว่าปรกติ มีผลต่อการทำปฏิกิริยาต่อการใช้เคมีกับน้ำ เช่น การปรับปรุงคุณภาพโดยใช้สารเคมี
2. คุณลักษณะทางด้านเคมี (Chemical Characteristics) คือ คุณสมบัติของน้ำที่มีองค์ประกอบของสารเคมี และอาศัยหลักการหาโดยปฏิกิริยาเคมี ซึ่งพบว่าส่วนใหญ่ในน้ำจะถูกกำหนดปริมาณโดยข้อบังคับที่เกี่ยวกับน้ำสำหรับบริโภค ได้แก่ ค่าความเป็นกรดด่าง ความกระด้าง ความเป็นด่าง ความเป็นกรด เป็นต้น2.1 ค่าความเป็นกรด ด่างของน้ำ หรือค่าพีเอช น้ำที่บริสุทธิ์จะมีค่าพีเอชเป็น 7 ความสำคัญทางด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมของพีเอชในน้ำถ้ามีพีเอชต่ำมากจะมีฤทธิ์ในการกัดกร่อนอาจทำให้เกิดการกัดกร่อนท่ออุปกรณ์ หรือภาชนะต่าง ๆ ได้
2.2 ความกระด้างของน้ำ น้ำกระด้างหมายถึง น้ำที่เมื่อทำปฏิกิริยากับสบู่แล้วทำให้เกิดฟองได้ยาก ความกระด้างของน้ำแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่ ความกระด้างชั่วคราว และความกระด้างถาวร2.3 ความเป็นด่างของน้ำ (Alkalinity) หมายถึง ปริมาณความจุของกรดเข็มข้นในอันที่จะทำให้น้ำเป็นกลางโดยอาศัยพีเอช หรือ เป็นการหาว่าน้ำจะต้องใช้กรดทำให้เป็นกลางเท่าไร
2.4 ความเป็นกรดของน้ำ (Acidity) หมายถึง ปริมาณความจุที่ต้องการใช้ด่างเข้มข้นในการทำให้น้ำเป็นกลางที่บ่งชี้ได้โดยค่าพีเอช
2.5 เหล็กแมงกานีส (Iron and Mageaese) ธาตุเหล็กโดยทั่ว ๆ ไปจะอยู่ในรูปแบบสารไม่ละลายน้ำ ถ้าอยู่ในน้ำและแร่ธาตุก็จะอยู่ในรูปของสารไม่ละลายน้ำ เหล็กและแมงกานีสที่อยู่ในน้ำตามธรรมชาติแล้วไม่เป็นอันตรายต่อการบริโภค
2.6 คลอไรด์ (Chloride) คลอไรด์ที่ละลายอยู่ในน้ำตามธรรมชาติจะละลายอยู่ในปริมาณความเข้มข้นแตกต่างกันไป
2.7 ฟลูออไรด์ (fluoride) โดยทั่วไปแล้วในน้ำตามธรรมชาติมักไม่มีฟลูออไรด์ละลายอยู่ แต่เนื่องจากมีความสำคัญต่อสุขภาพฟัน ถ้ามีน้อยเกินไปอาจทำให้เกิดโรคฟันเปราะหักง่าย
2.8 ทองแดง (Copper) การที่ในน้ำมีทองแดงเป็นเช่นเดียวกันกับตะกั่วคือมักไม่เกิดจากธรรมชาติมีสาเหตุจากกิจกรรมมนุษย์
2.9 ไนไตรต์ (Nitrite) ในไตรเกิดจากปฏิชีวเคมีของจุลินทรีย์ในการออกซิเดชั่นแอมโมเนีย
2.10 ไนเตรด (Nitrate) ในเตรดมีอยู่ในน้ำธรรมชาติในปริมาณน้อยมากอาจเกิดจากพืช หรือสัตว์น้ำที่มีอินทรีย์
2.11 แก๊สไฮโดรเจนซัลไฟด์ (Hydrogen Sulfide) เป็นแก๊สที่มักพบในน้ำใต้ดินโดยธรรมชาติซึ่งเกิดจากปฏิกิริยาการย่อยสลายสารอินทรีย์และจุลินทรีย์
2.12 สารหนู (Arsenic) สารหนูเกิดจากน้ำตามธรรมชาติเนื่องจากการไหลของน้ำผ่านชั้นใต้ดินหรือหินที่มีสารหนู
2.13 พวกไตรฮาโลมีเธน (Trihalomethanes= THMs) เชื่อกันว่าเกิดจากการทำปฏิกิริยาระหว่างคลอรีนหรือพวกฮาโลเจนอื่น ๆ กับสารมิวมิคและฟุลวิคหรือสารที่เกิดจากการย่อยสลายสารอินทรีย์สาร อื่น ๆ
3. คุณลักษณะของน้ำทางด้านชีวภาพ (Biological Chracteristics) คุณลักษณะของน้ำ ทางด้านชีวภาพหมายถึง การที่น้ำมีสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ อยู่ในน้ำ สิ่งมีชีวิตที่อยู่ในน้ำมีมากมายหลายอย่างตั้งแต่ พืชน้ำ สัตว์น้ำแพลงตอน และจุลินทรีย์
3.1 จุลินทรีย์ที่ไม่ทำให้เกิดโรค (Nonpathogenic Microorganism) ได้แก่พวก บัคเตรี โปรโตซัว สาหร่ายหรือราบางชนิด
3.2 จุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรค (Pathogenic Microorganism) มีมากมายหลายชนิดที่ก่อให้เกิดอาการของโรคอย่างรุนแรงถึงขั้นตายได้ และมีอาการถึงเจ็บป่วยเพียงเล็กน้อย ได้แก่ ไวรัส บัคเตรี โปรโตซัว และหนอนพยาธิ เพราะน้ำเป็นตัวแพร่กระจายโรคบางชนิดได้ดี โดยกล่าวได้ดังนี้
. ไวรัส (Virus) ไวรัสเป็นจุลินทรีย์ที่มีขนาดเล็ก มากที่สุดไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ไวรัสที่อาจพบแพร่กระจายในน้ำแล้วทำให้เกิดโรคในมนุษย์
. บัคเตรี (Bacteria) เป็นจุลินทรีย์ที่มีขนาดโตกว่าไวรัสสามารถมองใช้กล้องจุลทรรศน์ธรรมดาส่องได้ มีเซลล์เดียว ใช้อาหารในรูปสารละลาย ส่วนใหญ่ก็เป็นโรคที่สามารถป้องกันรักษาได้ ได้แก่ อหิวาตกโรคโรคไข้ไทฟอยด์ โรคบิด
. โปรโตซัว (Protozoa) เป็นจุลินทรีย์ที่มีขนาดโตกว่าบัคเตรีไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่า โปรโตซัวที่ทำให้เกิดโรคได้แก่ โรคบิดชนิดอมีบา โรคจิอาร์เดีย ทำให้เกิดท้องเสียท้องร่วงระยะนาน ปวดท้อง น้ำหนักตัวลด

ตอนที่ 2.3 การผลิตน้ำสะอาดเพื่อการอุปโภคบริโภค

ในการผลิตน้ำให้สะอาดเพื่อความปลอดภัยในการใช้อุปโภคบริโภคนั้น วัตถุประสงค์หลักก็เพื่อสุขภาพอนามัย ของมนุษย์ในการที่จะนำน้ำมาใช้ในด้านต่าง ๆ เช่น ปรุงอาหาร ชำระล้างร่างกายหรือประโยชน์ในด้านอื่น ๆ การผลิตน้ำสะอาดเพื่อการอุปโภคบริโภค จึงหมายถึง น้ำที่ผลิตหรือจัดทำขึ้นมาเพื่อใช้จะต้องปราศจาก ตัวการที่ทำให้เกิดโรคอันได้แก่เชื้อโรค และสารเคมี ที่เป็นพิษและเป็นอันตรายต่าง ๆ บางครั้งเรามักจะเรียกการเกิดโรคที่เกิดจากน้ำเป็นตัวนำว่าโรคที่เกิดจากน้ำเป็นสื่อหมายถึงโรคที่เกิดโดยการนำของน้ำซึ่งมีสิ่งอื่น ๆเจือปนอยู่ สิ่งเหล่านั้นอาจจะเป็นจุลินทรีย์และสารเคมีที่เป็นอันตรายที่ทำให้เกิดโรคเข้าไปในร่างกายเกินกว่ามาตรฐานที่กำหนดไว้ทำให้เกิดโรคขึ้นในหมู่มวลมนุษย์มาตรฐานคุณภาพน้ำ ต้องคำนึงถึงมาตรฐานของแหล่งน้ำดิบ มาตรฐานน้ำทิ้ง มาตรฐานเพื่อการอุปโภคบริโภค ซึ่งมาตรฐานทั้งสามประการมีการเกี่ยวพันกันมาตรฐานน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค โดยทั่วไปมีเกณฑ์การพิจารณาคุณภาพน้ำตามวัตถุประสงค์ของการนำไปใช้ได้อย่างกว้าง ๆ 3 ประเภท คือ เพื่อการดื่ม การเกษตร และการอุตสาหกรรม
วิธีการปรับปรุงคุณภาพน้ำ โดยทั่วไปแล้วการปรับปรุงคุณภาพน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคมีวิธีการปรับปรุงคุณภาพของน้ำดิบให้มีคุณภาพดีตามความต้องการได้หลายวิธี
1. การตกตะกอนจมตัว การตกตะกอนจมตัวเป็นการเก็บกักน้ำไว้ในคลองหรืออ่างเก็บน้ำโดยอาศัยธรรมชาติ เพื่อให้น้ำได้เกิดการฟอกตัวเองโดยธรรมชาติ
2. การกรองด้วยตะแกรง การกรองด้วยตะแกรงเพื่อสกัดของแข็งที่มีขนาดใหญ่จนถึงขนาดเล็กขึ้นอยู่กับขนาดรูของตะแกรงจึงอาจแบ่งชนิดของตะแกรงอย่างกว้าง ๆ เป็น 2 แบบ คือ ตะแกรงหยาบและตะแกรงละเอียด
3. การสร้างตะกอน การรวมตะกอน และการตกตะกอน
. การสร้างตะกอน เป็นกระบวนการที่ใช้โดยการเติมสารเคมีซึ่งเรียกสารสร้างตะกอนลงไปในน้ำซึ่งมีของแข็งขนาดเล็กฟุ้งกระจายอยู่
. การรวมตะกอน เป็นกระบวนการรวมตัวของของแข็งที่มีขนาดเล็กโดยมีสารเคมีเป็นศูนย์กลางทำให้อนุภาคมีขนาดโตพอที่จะตกตะกอนได้ง่าย เรียกตะกอนที่รวมตัวกันมีขนาดโตพอที่จะตกตะกอนได้ง่าย ว่าฟล็อก ( Floc )การใช้สารส้มในการสร้างตะกอน การใช้สารส้มในการทำให้สร้างตะกอนและรวมตะกอนควรให้มีพีเอชของน้ำอยู่ในช่วง 5.8 - 7.4 และควรมีค่าเป็นด่างพอที่จะทำให้เกิดการปรับพีเอชของน้ำเมื่อ พีเอชต่ำลงการใช้สารส้มจึงมีสูตรเคมีทั่วไปคือ AI2 ( SO4 )3 18H 2O
การทำลายเชื้อโรคด้วยคลอรีน
การเติมคลอรีน เป็นการใส่คลอรีนหรือสารประกอบคลอรีนลงในน้ำและน้ำเสียเพื่อการทำลาย เชื้อโรคและยังช่วยลดเหตุรำคาญอันเนื่องจากจุลินทรีย์และยังอาจช่วยออกซิไดส์เหล็กแมงกานีสในน้ำ รวมถึงสารที่ทำให้เกิดกลิ่นและรสชาติในน้ำได้อีกด้วย
วิธีและขั้นตอนการผลิตน้ำประปา
การประปาเป็นวิธีทำน้ำให้สะอาด หลักการทำน้ำประปานั้นก็เพื่อให้ได้น้ำสะอาดปลอดภัยปริมาณเพียงพอและจ่ายให้ได้ทั่วถึง โดยนำน้ำจากแหล่งน้ำผิวดินหรือน้ำบาดาลเป็นแหล่งน้ำดิบก็ได้
ขั้นตอนในการทำน้ำประปา
1. การสูบน้ำดิบ ติดตั้งเครื่องสูบน้ำเพื่อสูบน้ำดิบส่งเข้าไปสู่โรงกรองน้ำ
2. การกรองน้ำ เมื่อน้ำดิบถูกส่งมายังโรงกรองน้ำ จะผ่านที่ผสมสารส้มและปูนขาว เพื่อให้สิ่งสกปรกที่ปะปนหรือผสมอยู่ในน้ำนั้นเกิดรวมตัวเป็นตะกอนเกาะ ขนาดโตขึ้นมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นและตกตะกอน และสูบน้ำที่กรองแล้วในถังน้ำใสขึ้นหอถังสูงจ่ายน้ำให้กับประชาชน
3. การจ่ายน้ำ น้ำจากถังน้ำใสจะถูกสูบขึ้นหอถังสูง หอถังสูงจะทำหน้าที่เสมือนที่เก็บน้ำและจ่ายน้ำไปตามเส้นท่อภายใต้แรงดัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น