ทบทวนอนามัยสิ่งแวดล้อม

วันพฤหัสบดีที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2553

ความรู้พื้นฐานด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม(การจัดการขยะมูลฝอย)

1
การจัดการมูลฝอย
นิยามและความหมาย
มูลฝอย หมายความว่า เศษกระดาษ เศษผ้า เศษอาหาร เศษสินค้า ถุงพลาสติก ภาชนะใส่อาหาร เถ้า มูลสัตว์ หรือซากสัตว์ รวมตลอดถึงสิ่งอื่นใดที่เก็บกวาดจากถนน ตลาด ที่เลี้ยงสัตว์หรือที่อื่น
(ที่มา : พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ..2535 หน้า 2.)
ขยะมูลฝอย (Waste) หมายถึง สิ่งของเหลือทิ้งจากกระบวนการผลิตและอุปโภคซึ่งเสื่อมสภาพจนใช้การไม่ได้หรือไม่ต้องการใช้แล้ว บางชนิดเป็นของแข็งหรือกากของเสีย (Solid Waste) มีผลเสียต่อสุขภาพทางกายและจิตใจเนื่องจากความสกปรก เป็นแหล่งเพาะเชื้อโรคทำให้เกิดมลพิษและทัศนะอุจาด
มลพิษที่เกิดจากขยะมูลฝอย (Waste Pollution) หมายถึง สภาวะแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมอันเนื่องมาจากขยะมูลฝอย เช่น การทิ้งขยะลงในแหล่งน้ำและการเกิดกลิ่นเน่าเหม็นจากกองขยะ
แหล่งกำเนิดของมูลฝอย
1.มูลฝอยจากบ้านพักอาศัย (Residential Waste)
เป็นมูลฝอยที่เกิดจากกิจกรรมการดำรงชีพของคนที่อาศัยอยู่ในบ้านพักอาศัยหรืออาคารชุดหรือ
อพาทเมนท์ ได้แก่ เศษอาหารจากการเตรียมอาหารหรือจากการเหลือใช้ เศษกระดาษ เศษพืชผัก ถุงพลาสติก ขวดพลาสติก ใบไม้ใบหญ้า ภาชนะหรืออุปกรณ์ที่ชำรุดหรือเสื่อมคุณภาพ เฟอร์นิเจอร์เก่าที่ชำรุด เศษแก้ว ฯ
2. มูลฝอยจากธุรกิจการค้า (Commercial Waste)
เป็นมูลฝอยที่มาจากสถานที่ ที่มีการประกอบกิจการค้าขายส่ง ขายปลีก หรอการบริการทางการค้าต่าง ๆ ซึ่งขึ้นอยู่กับว่าจะเป็นกิจการค้าประเภทใด ได้แก่ อาคารสำนักงาน ตลาด ร้านขายอาหาร ร้านขายของชำ ร้านขายผลิตภัณฑ์อาการเกษตร โรงแรม โรงมหรสพ หรือโกดังเก็บสินค้า ซึ่งมักจะมีภาชนะเก็บมูลฝอยเป็นของตนเอง มูลฝอยที่เกิดขึ้นอาจมีเศษอาหาร เศษ แก้ว พลาสติก เศษวัสดุสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ หรืออาจมีของเสียอันตราย
3. มูลฝอยจากการเกษตร (Agriculture Wastes)
แหล่งมูลฝอยที่สำคัญมักมาจากกิจกรรมการเพาะปลกและการเลี้ยงสัตว์เพื่อเป็นอาหาร มูลฝอยจากแหล่งดังกล่าวมักประกอบด้วย มูลสัตว์ เศษหญ้า เศษพืช ภาชนะบรรจุยาปราบศัตรูพืช เป็นต้น ในอดีตของเสียจาการเกษตรเหล่านี้ส่วนใหญ่ (ยกเว้นภาชนะบรรจุยาปราบศัตรูพืช) มักถูกนำมาไถกลบลงบนพื้นที่ที่จะทำการเพาะปลูก ซึ่งถือเป็นการหมุนเวียนเอาของเสียที่เกิดขึ้นนำกลับมาใช้ประโยชน์ได้เป็นอย่างดี แต่ในปัจจุบันนี้ได้มีการเร่งผลผลิตให้ได้ปริมาณมากขึ้นตามจำนวนของประชากรที่เพิ่มมากขึ้นทำให้มีการน้ำเอาปู๋ยเคมีมาใช้แทน ทำให้ปริมาณของมูลฝอยจากการเกษตรเพิ่มมากขึ้น
4.มูลฝอยจากการพักผ่อนหย่อยใจ (Recreational Wastes)
มูลฝอยจากสถานที่พักผ่อนหย่อนใจหรือสถานที่ท่องเที่ยวไม่ว่าจะเป็นแหล่งธรรมชาติ ได้แก่ ชายหาดต่าง ๆ เขื่อน อ่างเก็บน้ำ ทะเลสาบ สระว่ายน้ำ เป็นต้น หรืออาจจะเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่เป็นศิลปกรรม ได้แก่ โบราณสถานต่าง ๆ เช่น พิพิธภัณฑสถาน วัดวาอาราม ฯลฯ กิจกรรมในการพักผ่อนมักต้องมีการรับประทานอาหาร การรับประทานเครื่องดื่มของว่างต่าง ๆ ทำให้เกิดมูลฝอย ในประเทศสหรัฐอเมริกาพบว่ามูลฝอยที่เกิดจากการตั้งแคมป์จะเกิดประมาณ 1 ปอนด์ต่อคนต่อวัน และชนิดของมูลฝอยนั้นขึ้นอยู่กับผู้ที่ไปพักผ่อนหย่อนใจนั้น ส่วนใหญ่มูลฝอยที่เกิดจากการพักผ่อนหย่อนใจจะเป็น เศษอาหาร เศษวัสดุบรรจุภัณฑ์ทั้งหลาย เช่น กล่องกระดาษหรือพลาสติก ถุงกระดาษหรือพลาสติก กระป๋องโลหะต่าง ๆ ขวดแก้วหรือพลาสติก ฯลฯ
5.มูลฝอยจากโรงพยาบาล (Hospital Waste)
มูลฝอยจากโรงพยาบาลมักถูกจัดไว้ในกลุ่มของมูลฝอยอันตราย เพราะอาจทำให้เกิดผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมได้หลายประการ เช่น อาจเป็นการแพร่กระจายเชื้อโรค ฯลฯ จึงนับว่ามีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งที่น่าจะพิจารณาจัดการแยกออกต่างหากจากมูลฝอยที่มาจากแหล่งอื่น ๆมูลฝอยจากโรงพยาบาลองค์การอนามัยโลกได้มีการแบ่งประเภทของมูลฝอยที่เกิดขึ้นเป็น 8 ประเภทคือ
1. มูลฝอยทั่วไป (General waste) เช่น เศษอาหาร เศษกระดาษ พลาสติก ฯลฯ
2. มูลฝอยพยาธิสภาพ (Pathological waste) เช่น เลือด น้ำเหลือง เนื้อเยื่อหรือชิ้นส่วนจากสัตว์ทดลอง
3. มูลฝอยติดเชื้อ (Infectious waste) เช่น สิ่งปฎิกูลที่มีเชื้อโรคเนื้อเยื้อหรือชิ้นส่วนอวัยวะที่มีเชื้อโรค ฯลฯ
4. มูลฝอยกัมมันตภาพรังสี (radiological waste) เช่น ฟิล์มเอ็กชเรย์สารกัมมันตภาพรังสีที่ใช้ในการรักษาหรือวินิจฉัยโรค ฯลฯ
5. มูลฝอยสารเคมี (Chemical waste) เช่น สารเคมีต่าง ๆ ที่ใช้ในการรักษาโรคสารเคมีที่ใช้ในห้องปฎิบัติการเพื่อการวินิจฉัยโรค สารเคมีที่ใช้ในการศึกษาวิจัยในห้องปฏิบัติการ ฯลฯ
6. มูลฝอยมีคม (Sharp waste) เช่น เข็มฉีดยา กรรไกร มัดผ่าตัด มีดโกน ฯลฯ
7. มูลฝอยประเภทยา (Medicine waste) เช่นยาที่เสื่อมคุณภาพ ยาที่เหลือจากการใช้การรักษา ยาที่ใช้การศึกษาวิจัยในห้องปฏิบัติการ ฯลฯ
8. มูลฝอยประเภทกระป๋องอัดความดัน (Pressurized container) เช่นกระป๋องยาที่ใช้ในการรักษากระป๋องสารเคมีที่ใช้ในการทำลายเชื้อโรค กระป๋องสารเคมีที่ใช้ในการฆ่าแมลง ฯลฯ
6.มูลฝอยจากโรงงานอุตสาหกรรม (Industrail Wastes)
มูลฝอยจากโรงงานอุตสาหกรรมมีความแตกต่างกันขึ้นอยู่กับกระบวนการผลิตของอุตสาหกรรมนั้นหรือประเภทของอุตสาหกรรม ส่วนใหญ่ได้แก่ พวกเศษอาหาร มูลฝอยแห้งต่าง ๆ เช่น เศษกระดาษ กระดาษแข็ง ฯลฯ ขี้เถ้า ของเสียอันตราย เป็นต้น
ประเภทของขยะมูลฝอย
การแบ่งประเภทหรือชนิดของขยะมูลฝอยได้มีการแบ่งไว้หลายอย่าง
1. จำแนกตามพิษภัยที่เกิดขึ้นกับมนุษย์และสิ่งแวดล้อม มี 2 ประเภท คือ
1) ขยะทั่วไป (General Waste) หมายถึง ขยะมูลฝอยที่มีอันตรายน้อย ได้แก่ พวกเศษอาหาร เศษกระดาษ เศษผ้า พลาสติก เศษหญ้าและใบไม้ ฯลฯ
2) ขยะอันตราย (Hazardous Waste) เป็นขยะที่มีภัยต่อคนและสิ่งแวดล้อม อาจมีสารพิษ ติดไฟหรือระเบิดง่าย ปนเปื้อนเชื้อโรค เช่น ไฟแช็กแก๊ส กระป๋องสเปรย์ ถ่านไฟฉาย แบตเตอรี่หรืออาจเป็นพวกสำลีและผ้าพันแผลจากสถานพยาบาลที่มีเชื้อโรค
2. จำแนกตามลักษณะของขยะ
1) ขยะเปียกหรือขยะสด (Garbage) มีความชื้นปนอยู่มากกว่าร้อยละ 50 จึงติดไฟได้ยาก ส่วนใหญ่ ได้แก่ เศษอาหาร เศษเนื้อ เศษผัก และผักผลไม้จากบ้านเรือน ร้านจำหน่ายอาหารและตลาดสด รวมทั้งซากพืชและสัตว์ที่ยังไม่เน่าเปื่อย ขยะประเภทนี้จะทำให้เกิดกลิ่นเน่าเหม็นเนื่องจากแบคทีเรียย่อยสลายอินทรียสาร นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งเพาะเชื้อโรคโดยติดไปกับแมลง หนู และสัตว์อื่นที่มาตอมหรือกินเป็นอาหาร
2) ขยะแห้ง (Rubbish) คือ สิ่งเหลือใช้ที่มีความชื้นอยู่น้อยจึงไม่ก่อให้เกิดกลิ่นเหม็น จำแนกได้ 2 ชนิด คือ
- ขยะที่เป็นเชื้อเพลิง เป็นพวกที่ติดไฟได้เช่น เศษผ้า เศษกระดาษ หญ้า ใบไม้ กิ่งไม้แห้ง
- ขยะที่ไม่เป็นเชื้อเพลิง ได้แก่ เศษโลหะ เศษแก้ว และเศษก้อนอิฐ
3) ขี้เถ้า (Ashes) หมายถึง สารตกค้างที่เกิดจากการสันดาปของเชื้อเพลิงต่าง ๆ โดยเฉพาะ เชื้อเพลิงที่มีสถานะเป็นของแข็ง เช่น ไม้ ถ่านไม้ ถ่านหิน ฯลฯ มูลฝอยดังกล่าวนี้มีความเฉื่อยสูง คือ ไม่เกิดการย่อยสลายอีกต่อไป มีแหล่งกำเนิดมูลฝอยเช่นเดียวกับมูลฝอยแห้ง
4) มูลฝอยจากการกวาดถนน (Street Refuse) หมายถึง มูลฝอยที่เกิดจากการกวาดถนน หรือสถานที่สาธารณะต่าง ๆ เช่น เศษใบไม้ เศษหญ้า กิ่งไม้ ฝุ่นละออง ฯลฯ
5) มูลฝอยขนาดใหญ่ (Bulky Waste) หมายถึง มูลฝอยที่มีขนาดใหญ่ หรือมีชิ้นโต ส่วนใหญ่จะเป็นอุปกรณ์เครื่องใช้ต่าง ๆ ที่เสียหรือเสื่อมสภาพใช้การไม่ได้แล้ว หรือไม่สามารถซ่อมแซมเพื่อใช้งานต่อไปได้อีกแล้ว เช่น พัดลม ตู้เย็น โทรศัพท์ เฟอร์นิเจอร์ ฯลฯ
6) ซากรถยนต์หรือยานพาหะนะต่าง ๆ (Abandoned Vehicles) หมายถึงยานพาหะนะต่าง ๆ เช่น รถยนต์ รถจักรยานยนต์ รถบรรทุก เครื่องจักรกล เรือล้อเลื่อน ฯลฯ และชิ้นส่วนของยานพาหะนะ หรือเครื่องจักรกล ที่เสียหรือเสื่อมสภาพไม่สามารถซ่อมแซมเพื่อใช้งานได้ต่อไปอีกแล้ว มักถูกนำไปจอดทิ้งในที่สาธารณะหรือสถานที่ทำการต่าง ๆ ได้มีการศึกษาว่าน้ำหนักของรถยนต์ที่หนักประมาณ 3,574 ปอนด์ ประกอบด้วยเหล็กกล้า 2,531 ปอนด์ เหล็กหล่อ 511 ปอนด์ ทองแดง 31 ปอนด์ สังกะสี 54 ปอนด์ อลูมิเนียม 50 ปอนด์ ตะกั่ว 20 ปอนด์ ยาง 145 ปอนด์ แก้ว 87 ปอนด์ สารอื่น ๆ ที่ติดไฟได้ 127 ปอนด์ สาร อื่น ๆ ที่ไม่ติดไฟ 15 ปอนด์
7) มูลฝอยสิ่งก่อสร้างและรื้อถอน (Construction and Demolition Wastes) หมายถึงมูลฝอยที่เกิดจากการก่อสร้าง และรื้อถอนบ้าน อาคารสำนักงาน โรงเรียน โรงงานอุตสาหกรรม ถนนหนทาง หรือเขื่อน มูลฝอยที่เกิดขึ้นมักเป็นพวก เศษไม้เศษหินกรวดหรือทราย เศษกระดาษ เศษกระเบื้อง เศษอิฐ เศษปูน เศษคอนกรีต ลวด สายไฟ เครื่องไฟฟ้าต่าง ๆ เศษแก้ว เศษภาชนะบรรจุสิ่งของต่าง ๆ ฯลฯ
8) มูลฝอยอุตสาหกรรม (Industrial Solid Wastes) หมายถึง มูลฝอยที่เกิดจากการประกอบอุตสาหกรรมต่าง ๆ ซึ่งปริมาณ และองค์ประกอบของมูลฝอยจะมีความแตกต่างกันขึ้นอยู่กับประเภทของการประกอบอุตสาหกรรม
9) มูลฝอยเกษตรกรรมและสัตว์เลี้ยง (Animal and Agricultural Wastes) หมายถึงมูลฝอยที่เกิดจากการกิจกรรมทางการเกษตรได้แก่ การทำนา ทำไร่ ทำสวน การประมง การป่าไม้ หรือการเลี้ยงสัตว์ เป็นต้น มูลฝอยที่เกิดจาการเกษตรกรรมส่วนส่วนใหญ่ได้แก่มูลสัตว์ เศษหญ้า ใบไม้ กิ่งไม้ เศษอาหารสัตว์ ซากภาชนะบรรจุปราบศัตรูพืชหรือปุ๋ยหรือฮอร์โมน สารตกค้างของสารปราบศัตรูพืชหรือปุ๋ยหรือฮอร์โมน เป็นต้น
10) มูลฝอยจากการบำบัดน้ำเสีย (Sewage Treatment Residues) หมายถึง ส่วนที่เหลือเศษตกค้างจากการบำบัดน้ำเสียด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น มูลฝอยจากที่ติดอยู่บนตะแกรงก่อนน้ำเสียเข้าสู่ระบบบำบัด กากตะกอนจากถึงตกตะกอน เศษกรวดทราย หรือโลหะจากรางดักรวดทราย ฯลฯ มูลฝอยเหล่านี้ส่วนใหญ่เป็นมูลฝอยที่มีความชื้นสูง
11) ซากสัตว์ (Dead Animals) มูลฝอยที่เป็นซากสัตว์ หมายถึง ซากสัตว์ที่ตายด้วยสาเหตุต่าง ๆ อาจตายโดยธรรมชาติ หรือตายโดยเจ็บป่วยเป็นโรค หรือตายด้วยอุบัติเหตุต่าง ๆ ซึ่งอาจถูกปล่อยทิ้งไว้ตามถนนหนทางหรือที่สาธารณะหรือในฟาร์มหรือในอาคารที่พักอาศัย เป็นมูลฝอยที่เน่าสลายได้ง่ายและรวดเร็วเมือเน่าสลายแล้วจะส่งกลิ่นเหม็นเป็นที่น่ารังเกียจและยังอยู่ในสภาพไม่น่าดู จึงจำเป็นต้องรีบเก็บรวบรวมและนำไปกำจัดในทันทีทันใด
12) มูลฝอยพิเศษ (Special Wastes) หมายถึง มูลฝอยที่จะต้องมีการจัดการเป็นพิเศษเพราะมิเช่นนั้นจะก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพอนามัยของมนุษย์หรือสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ รวมถึงมีปลกระทบต่อสิ่วแวดล้อม บางครั้งอาจถูกจัดไว้เป็นมูลฝอยอันตราย (hazardous waste) ได้แก่ มูลฝอยที่ระเบิดได้ มูลฝอยไวไฟ มูลฝอยมีพิษ มูลฝอยติดเชื้อ มูลฝอยกัมมันตรังสี มูลฝอยที่มีฤทธิ์ในการกัดกร่อน เป็นต้น แหล่งกำเนิดของมูลฝอยพิเศษ อาจมาจากที่พักอาศัย โรงงานอุตสาหกรรม โรงพยาบาล สถานที่ทำการต่าง ๆ
องค์ประกอบของขยะมูลฝอย
ในประเทศไทยตัวอย่างมูลฝอยที่สุ่มออกมา จะนำมาแยกองค์ประกอบเป็นประเภทต่างๆ 10 ประเภท ได้แก่
1. ผัก ผลไม้ เศษอาหาร
2. กระดาษ
3. พลาสติก
4. ผ้า
5. ไม้
6. ยางและหนัง
7. แก้ว
8. โลหะ
9. หิน กระเบื้อง
10. อื่นๆ
1. ผัก ผลไม้และเศษอาหาร
หมายถึง เศษผัก เศษผลไม้ เศษอาหารที่เหลือจากการเตรียม การปรุง และการบริโภค (ยกเว้นเปลือกหอย กระดูก ก้างปลา ซังข้าวโพด ก้านกระถิน) เช่น ข้าวสุก เปลือกผลไม้ เนื้อสัตว์ ฯลฯ
2. กระดาษ
หมายถึง วัสดุหรือผลิตภัณฑ์ที่ทำจากเยื่อกระดาษ ตัวอย่างเช่น กระดาษหนังสือพิมพ์ แมกกาซีน หนังสือต่างๆ ใบปลิว การ์ด ถุงกระดาษ กล่องกระดาษ กระดาษอัด ฯลฯ
3. พลาสติก
หมายถึง วัสดุหรือผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากพลาสติก ตัวอย่างเช่น ถุงพลาสติก ภาชนะพลาสติก ของเล่นเด็กที่ทำด้วยพลาสติก ผลิตภัณฑ์ไฟเบอร์กลาส ฯลฯ
4. ผ้า
หมายถึง สิ่งทอต่างๆที่ทำมาจากเส้นใยธรรมชาติและเส้นใยสังเคราะห์ เช่น ฝ้าย ลินิน ผ้าไนลอน ตัวอย่างเช่น ด้าย เสื้อผ้า ผ้าเช็ดมือ ถุงเท้า ฯลฯ
5. ไม้
หมายถึง วัสดุหรือผลิตภัณฑ์ที่ทำจากไม้ ไม้ไผ่ ฟาง หญ้า เศษไม้ รวมทั้งดอกไม้
6. ยางและหนัง
หมายถึง วัสดุหรือผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากแก้ว ตัวอย่างเช่น เครื่องหนัง รองเท้า ลูกบอลหนัง กระเป๋าหนัง ฯลฯ
7. แก้ว
หมายถึง วัสดุหรือผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากแก้ว ตัวอย่างเช่น กระจก ขวดแก้ว หลอดไฟ เครื่องแก้ว ฯลฯ
8. โลหะ
หมายถึง วัสดุและผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่ทำจากโลหะ ตัวอย่างเช่น กระป๋องโลหะ สายไฟ Foil ภาชนะต่างๆ ตะปู ฯลฯ
9. หิน กระเบื้อง กระดูกสัตว์และเปลือกหอย
หมายถึง เศษหิน เศษกระดูกสัตว์ เปลือกหอย ตัวอย่างเช่น Ceramics เปลือกหอย กุ้ง ปู กระดูกสัตว์ ก้างปลา ฯลฯ
10. อื่นๆ
หมายถึง วัสดุอื่นใดที่ไม่สามารถจัดกลุ่มเข้ากลุ่มต่างๆข้างต้น รวมถึง ฝุ่น ทราย เถ้า
ลักษณะมูลฝอยที่นิยมทำการวิเคราะห์เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการวางแผน ได้แก่
ลักษณะทางกายภาพของมูลฝอย (Physical Characteristies)
1.องค์ประกอบทางด้านกายภาพ (Physical composition) นิยมจำแนกตามชนิดของสิ่งของต่าง ๆ ที่ประกอบกันขึ้นมาเป็นมูลฝอยทั้งหมด โดยแบ่งเป็นมูลฝอยที่เผาไหม้ได้ (Combustible) เช่น โลหะ แก้ว กระเบื้อง อิฐ หิน กรวด และอื่น ๆ องค์ประกอบเหล่านี้อาจถูกแบ่งออกตามสัดส่วนโดยน้ำหนักหรือโดยปริมาตรก็ได้ แต่ส่วนใหญ่แล้วมักนิยมแบ่งตามสัดส่วนโดยน้ำหนักมากกว่า ในประเทศอุตสาหกรรมหรือประเทศที่ประชากรมีรายได้สูง มูลฝอยจากชุมชนส่วนใหญ่จะเป็นพวกเศษกระดาษและพลาสติก ในขณะประเทศเกษตรกรรมหรือประเทศที่ประชากรมีรายได้ต่ำ มูลฝอยจะเป็นพวกเศษอาหารเป็นส่วนใหญ่
2.ความหนาแน่น (Density) ได้แก่ ค่ามวลต่อหนึ่งหน่วยปริมาตรของมูลฝอย แบ่งได้เป็นความหนาแน่นปกติ (Bulk density) คือ ความหนาแน่นปกติโดยไม่มีการอัดหรือบีบมูลฝอยให้ผิดไปจากธรรมดา ความหนาแน่นในขณะขนส่ง (Transported density) คือ ความหนาแน่นของมูลฝอยในรถยนต์เก็บขนในขณะขนส่ง ซึ่งปกติแล้วจะถูกทำให้แน่นขึ้น เนื่องจากการสั่นสะเทือน และการอัดของพนักงานเก็บขนมูลฝอยความหนาแน่นของมูลฝอยจะขึ้นอยู่กับองค์ประกอบของมูลฝอยด้วย เชน มูลฝอยที่มีพวกเศษอาหาร จะมีค่าความหนาแน่นสูงกว่ามูลฝอยที่มีพวกกระดาษ หรือพลาสติกมาก โดยทั่วไปมูลฝอยจากชุมขนในกลุ่มประเทศที่ประชากรมีรายได้สูง จะมีค่าความหนาแน่นค่อนข้างน้อย คือ ประมาณ 100-170 กก./ลบ.. และกลุ่มประเทศที่ประชากรมีรายได้ปานกลาง จะมีค่าความหนาแน่น ประมาณ 250 กก./ ลบ.. และกลุ่มประเทศที่ป่ระชากรมีรายได้ต่ำ จะมีค่าความหนาแน่นค่อนข้างสูง ประมาณ 250-500 กก./ลบ..
ลักษณะทางเคมีของมูลฝอย (Chemical Characteristics)
1. ความชื้น (Moisture content) หมายถึงปริมาณน้ำที่มีอยู่ในมูลฝอย โดยทั่วไปปริมาณน้ำที่มีอยู่ในมูลฝอยมีทั้งน้ำที่อยู่ภายในตัวของมูลฝอยเอง (Inherent water) เช่น น้ำที่อยู่ในพืช ผัก เศษอาหาร ซึ่งมีประมาณ 1/3 ถึง 2/3 ของปริมาณน้ำทั้งหมด และน้ำที่ติดอยู่ภายนอก(Attached water) เช่น น้ำฝน น้ำที่ออกมาจากเศษอาหาร ซึ่งประมาณ 1/3 ถึง 2/3 ของปริมาณน้ำทั้งหมด
2. ปริมาณของแข็งรวม (Total solids) หมายถึง ประมาณมูลฝอยแห้งที่เหลือภายหลังจากนำน้ำออกไปหมดแล้ว
3. ปริมาณสารที่เผาไหม้ได้ (Volatile solids) หมายถึงส่วนของมูลฝอยที่สามารติดไฟหรือเผาไหม้ที่ความร้อนสูงให้หมดไปโดยแปลงสภาพเป็นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และไอน้ำ
4. ปริมาณขี้เถ้า (Ash) หมายถึงกากของมูลฝอยที่เหลือจากการเผาไหม้ ความชื้น ปริมาณสารที่เผาไหม้ได้และปริมาณเถ้า มีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน บางทีนิยมเรียกว่า “The Three Components” ถ้าทราบค่าลักษณะของมูลฝอยจำนวน 2 ค่า ในกลุ่มนี้จะสามารถหาค่าของตัวที่เหลือได้ ข้อมูลทั้ง 3 ค่าสามารถใช้เป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาประเทศเกษตรกรรมหรือประเทศกำลังพัฒนา มีค่าความชื้นสูงกว่ามูลฝอยในกลุ่มประเทศอุตสาหกรรม สำหรับมูลฝอยในประเทศไทยมีค่าความชื้นประมาณ 50-60 %
5. ค่าความร้อน (Calorific value) หมายถึงปริมาณความร้อนที่ได้จากการเผามูลฝอยซึ่งจะนำไปใช้ประโยชน์การพิจารณาเลือกวิธีการกำจัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งวิธีการเผาว่ามีความเหมาะสมหรือไม่ เนื่องจากมูลฝอยมีค่าความร้อนตำกว่า 800 กิโลแคลอรี่ / กก. ของมูลฝอยจะต้องใช้เชื้อเพลิงช่วยในการเผาด้วย ทำให้สิ้นเปลือง นอกจากนี้ค่าความร้อนของมูลฝอยยังใช้เป็นข้อมูลในการออกแบบเตาเผาและอุปกรณ์ที่เกี่ยวขอ้งอีกด้วย
6. องค์ประกอบด้านเคมี (Chemical composition) ได้แก่
- ปริมาณสารไนโตรเจน (Nitrogen N)
- ปริมาณสารฟอสฟอรัส (Phosphorus P)
- ปริมาณโปตัสเซี่ยม (Potassium K)
- ปริมาณสารคาร์บอน (Carbon C)
- ปริมาณไฮโดรเจน (Hydrogen H)
ข้อมูลองค์ประกอบด้านเคมีส่วนใหญ่จะนำมาใช้การเลือกวิธีและออกแบบระบบกำจัดมูลฝอย เข่น ใช้คำนวณปริมาณอากาศที่ต้องใช้ในเตาเผา ใช้คำนวณค่าความร้อนของมูลฝอย ตลอดจนใช้คำนวณหาสัดส่วนของ Carbon และ Nitrogen (C/N ratio) และปริมาณสารอาหารของเชื้อจุลินทรีย์ซึ่งเป็นส่วนสำคัญองการหมักปุ๋ย เป็นต้น
7. สารเคมีเป็นพิษ เช่น โลหะหนักต่าง ๆ ซึ่งจะไปเป็นข้อมูลในการประเมินขอบเขตและความรุนแรงของภาวะการปนเปื้อนของของเสียที่เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อม
ลักษณะทางชีวภาพ (Biological Characteristics)
ได้แก่ การวิเคราะห์หาปริมาณและชนิดของเชื้อจุลินทรีย์ (Micro organisms) ที่ปะปนอยู่ในมูลฝอย เช่น เชื้อแบคทีเรีย เชื้อราและไวรัส ซึ่งบางชนิดอาจทำให้เกิดโรคได้ (Pathogenic) บางชนิดไม่ทำให้เกิดโรค (Non-pathogenic) บางชนิดเป็นตัวช่วยให้มูลฝอยเกิดการย่อยสลายได้ดี เช่น Decomposition bacteria เป็นต้น จากการรวบรวมผลการศึกษาลักษณะมูลฝอยจากชุมชนในรายงานหลาย ๆ ฉบับ พบว่ามูลฝอยที่เกิดขึ้นจากชุมชนต่าง ๆ ของประเทศจะมีลักษณะคล้ายคลึงกันทั่วประเทศ คือ มีเศษอาหารเป็นองค์ประกอบหลักมีค่าความชื้นเฉลี่ยร้อยละ 50-60 ค่าความร้อนประมาณ 1,200-1,500 กิโลแคลอรี่/กก. ข้อมูลเกี่ยวกับลักษณะและองค์ประกอบของมูลฝอยนี้ สามารถนำไปใช้ในการวางแผนและออกแบบระบบจัดการมูลฝอยได้ในทุกขั้นตอน
ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดมูลฝอย
ปริมาณมูลฝอยที่เกิดจากการดำรงชีพหรือมูลฝอยชุมชนนั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยดังต่อไปนี้
- ที่ตั้งทางภูมิศาสตร์
- ฤดูกาล
- ลักษณะอุปนิสัยของประชาชนในทอ้งถิ่น
- สถานการดำรงชีพของประชาชน
- ความถี่ของการบริการเก็บรวบรวมมูลฝอย
- กฎหมายหรือระเบียบข้อบังคับ
สาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหาขยะมูลฝอย
1. ความมักง่ายและขาดความสำนึกถึงผลเสียที่จะเกิดขึ้น เป็นสาเหตุที่พบบ่อยมากซึ่งจะเห็นได้จากการทิ้งขยะลงตามพื้นหรือแหล่งน้ำโดยไม่ทิ้งลงใน ถังรองรับที่จัดไว้ให้และโรงงานอุตสาหกรรมบางแห่งลักลอบนำสิ่งปฏิกูลไปทิ้งตามที่ว่างเปล่า
2. การผลิตหรือใช้สิ่งของมากเกินความจำเป็นเช่น การผลิตสินค้าที่มีกระดาษหรือพลาสติกหุ้มหลายชั้นและการซื้อสินค้าโดยห่อแยกหรือใส่ถุงพลาสติกหลายถุงทำให้มีขยะปริมาณมาก
3. การเก็บและทำลายหรือนำขยะไปใช้ประโยชน์ไม่มีประสิทธิภาพ จึงมีขยะตกค้างกองหมักหมมและ
ส่งกลิ่นเหม็นไปทั่วบริเวณจนก่อปัญหามลพิษให้กับสิ่งแวดล้อม
ที่มา : สวัสดิ์ โนนสูง.ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม.2543.
ผลเสียที่เกิดจากขยะมูลฝอย
ขยะมูลฝอยก่อให้เกิดปัญหาต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อมหลายประการ คือ
1. ทำให้เกิดทัศนะอุจาด คือ แลดูสกปรก ขาดความเป็นระเบียบเรียบร้อย เป็นที่น่ารังเกียจแก่ผู้อยู่อาศัยในบริเวณใกล้เคียงและผู้พบเห็น โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ
2. เป็นแหล่งเพาะและแพร่เชื้อโรค โดยเฉพาะขยะติดเชื้อจากสถานพยาบาลและขยะเปียกที่แบคทีเรียทำหน้าที่ย่อยสลาย เชื้อโรคตามขยะจะแพร่ไปกับน้ำ แมลง หนู และสุนัขที่มาตอมหรือคุ้ยเขี่ย เช่น เชื้อที่ทำ ให้เกิดโรคอหิวาต์ ไทฟอยด์และโรคบิด
3. ทำให้ดินเสื่อมและเกิดมลพิษ เพราะจะทำให้พื้นดินสกปรก ดินมีสภาพเป็นเกลือ ด่าง กรด หรือมีสารพิษที่เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตในดิน ตลอดจนทำให้สมบัติทางกายภาพของดินเปลี่ยนแปลงไป เช่น โซเดียมทำให้เนื้อดินแตกร่วน
4.ทำลายแหล่งน้ำ
1. ขยะที่ตกในแหล่งน้ำลำคลองและท่อระบายน้ำจะทำให้แหล่งน้ำตื้นเขิน การไหลของน้ำไม่สะดวกจึงเกิดสภาวะน้ำท่วมได้ง่าย
2. ทำให้เกิดมลพิษทางน้ำในลักษณะต่างๆ เช่น ทำให้น้ำเน่า น้ำเป็นพิษ น้ำที่มีเชื้อโรคและน้ำที่มีคราบน้ำมันซึ่งไม่เหมาะกับการใช้อุปโภคบริโภค สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงคุณภาพเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตโดยเฉพาะพืชและสัตว์น้ำ
3. ทำให้เกิดมลพิษทางอากาศ เพราะการเผาขยะทำให้เกิดควันและขี้เถ้า การหมักหมมและเน่าสลายของขยะจะก่อให้เกิดก๊าซพิษและกลิ่นเหม็น
4. ก่อความรำคาญและบั่นทอนสุขภาพของมนุษย์ เป็นผลจากการเกิดทัศนะอุจาด ก๊าซพิษ กลิ่นเหม็น เป็นแหล่งเพาะเชื้อโรคตลอดจนการเกิดมลพิษทางน้ำและอากาศ
5. ทำให้เกิดอัคคีภัย เนื่องจากขยะหลายชนิดติดไฟได้ง่าย โดยเฉพาะเมื่อแห้ง
6. สร้างปัญหาในการจัดการ เช่น ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการรวบรวมและกำจัด
การป้องกันและแก้ไขปัญหาขยะมูลฝอย
1.ส่งเสริมให้มีการลดปริมาณขยะเพื่อลดภาระในการจัดการ ตัวอย่างได้แก่
1) กำหนดมาตรฐานของผลิตภัณฑ์ให้มีความทนทานหรือมีอายุการใช้งานนาน
2) ลดการผลิตชิ้นส่วนที่ทำให้เกิดขยะโดยไม่จำเป็น เช่น ลดปริมาณกระดาษหรือพลาสติกห่อหุ้มสินค้า
3) ส่งเสริมให้มีการนำวัสดุใช้แล้วมาเวียนใช้มากขึ้น เช่น ขวดกระป๋องโลหะ อะลูมิเนียม กระดาษ
พลาสติก เพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายในการเก็บทำลายและเป็นการประหยัดทรัพยากรอีกด้วย
4) มีมาตรการในการเรียกคืนสิ่งที่ใช้บรรจุผลิตภัณฑ์เพื่อนำมาใช้ประโยชน์
5) พิจารณาการเก็บภาษีมลพิษจากผู้ที่ใช้บรรจุผลิตภัณฑ์ที่ก่อให้เกิดขยะในสิ่งแวดล้อม
2.รณรงค์ให้ประชาชนมีจิตสำนึกในการร่วมมือกันแก้ปัญหา ซึ่งได้แก่
1)ลดการใช้ผลิตภัณฑ์ที่สลายตัวยากและก่อปัญหาได้นาน เช่น พลาสติกและโฟม แม้ขยะสองชนิดนี้จะมีอันตรายโดยตรงต่อมนุษย์น้อยแต่จะก่อปัญหาให้กับสิ่งแวดล้อมได้มาก เพราะพลาสติกต้องใช้เวลาประมาณ 40 ปีจึงจะสลายตัวไปตามธรรมชาติ ในกรณีของโฟมนั้น นอกจากสลายตัวได้ช้าแล้ว กระบวนการผลิตยังมีการใช้สารซีเอฟซี ซึ่งเป็นสารที่ทำลายชั้นโอโซนของบรรยากาศ และปัจจุบันนี้ประเทศเรายังไม่สามารถนำโฟมมาผลิตใช้ใหม่ได้อีก จึงควรใช้ใบตองหรือถุงกระดาษซึ่งสลายตัวเร็วกว่าแทนการใช้ถุงพลาสติก ใช้กระดาษแทนโฟมในการประดิษฐ์ตัวอักษร และใช้กระทงที่ทำจากต้นและใบกล้วยแทนจากการทำจากโฟม
2)ทิ้งขยะลงในถังหรือภาชนะที่จัดเตรียมไว้อย่างเป็นกิจนิสัย
3)ควรมีถังขยะประจำบ้านพร้อมทั้งแยกถังตามประเภทหรือชนิดของขยะ เช่น ขยะเปียก ขยะแห้ง ขยะทั่วไป กระดาษ หรือขยะเพื่อการรีไซเคิลที่เป็นแก้ว พลาสติก และโลหะ โดยแต่ละถังควรใช้ถุงพลาสติกสำหรับรวบรวมขยะมูลฝอยโดยเฉพาะเพื่อความสะดวกในการเก็บไปทำลายหรือใช้ประโยชน์
3.เพิ่มประสิทธิภาพในการเก็บขยะ หน่วยงานที่เก็บขยะควรดำเนินการดังนี้
1)จัดถังรองรับโดยแยกตามประเภทหรือชนิดขยะ หรือปริมาณที่เพียงพอกับความต้องการของชุมชน และตั้งอยู่ในตำแหน่งที่ทิ้งได้สะดวก เช่น ถังสีเขียวหรือน้ำเงินใช้ทิ้งขยะเปียก และถังสีแดงหรือสีเหลืองใช้ทิ้งขยะแห้ง
2)เก็บขยะตามกำหนดเวลา
3)มีเจ้าหน้าที่และเครื่องมือเก็บที่เพียงพอและมีประสิทธิภาพ
4.กำจัดขยะอย่างถูกต้องและเหมาะสม วิธีกำจัดที่ใช้กันในปัจจุบันมี 4 วิธีคือ
1) การกองไว้ให้เน่าเปื่อยหรือแบบทิ้งปล่อย ใช้กับขยะที่เน่าเปื่อยง่ายมีปริมาณน้อย โดยกองให้ห่างไกลจากชุมชน เสียค่าใช้จ่ายน้อยแต่แลดูสกปรก เกิดกลิ่น อาจเกิดมลพิษกับดินและน้ำ
2) การฝังกลบ ที่ฝังจะต้องอยู่ไกลจากชุมชน หลุมมีขนาดกว้าง 2 – 4 เมตร ยาว 6 – 12 เมตร มีการกรุก้นหลุมอย่างดีเพื่อมิให้ของเหลวจากกองขยะซึ่งอาจจะมีเชื้อโรคอยู่ซึมถังน้ำใต้ดินได้ เมื่อทิ้งขยะเต็มแล้วควรกลบดินหนา 150 – 100 เซนติเมตรและต่อท่อระบายก๊าซซึ่งส่วนใหญ่ ได้แก่ ก๊าซมีเทน เพื่อป้องกันการระเบิดหรือลุกไหม้แต่ปัญหาคือ ในเมืองใหญ่ๆ อาจจะหาที่ฝังกลบได้ยาก
3) การเผา ควรใช้ระบบกำจัดแบบเตาเผาเพื่อทำลายขยะที่ไหม้ไฟได้โดยไม่ก่อให้เกิดสารพิษ ไม่ควรใช้กับพวกโฟม ถุงพลาสติก ท่อ พี.วี.ซี. วิธีนี้จะเสียค่าใช้จ่ายในการคัดแยกขยะและวัสดุเชื้อเพลิงเพิ่มขึ้น เตาเผาควรเป็นชนิดที่ไม่เกิดควัน ใช้อุณหภูมิ 800 องศาเซลเซียสหรือมากกว่า และมีอุปกรณ์ดักมลสารก่อนปล่อยสู่บรรยากาศ
4) การนำมาใช้ประโยชน์ เป็นวิธีการที่เหมาะสมที่สุดเนื่องจากจะช่วยประหยัดทรัพยากรได้มาก โดยเลือกขยะไปใช้ประโยชน์ได้ในหลายลักษณะ คือ
- การนำไปใช้อีก (Reuse) เช่น นำถุงพลาสติกและขวดที่ยังมีสภาพดีไปทำความสะอาดแล้วเก็บไว้ใช้
- การดัดแปลงหรือประดิษฐ์สิ่งของเครื่องใช้ เช่น ประดิษฐ์งานศิลปะจากกระดาษ พลาสติก แก้ว กิ่งไม้ ใบไม้ และแมลงที่ตายแล้ว
- การเวียนใช้ (Recycle) เป็นการนำขยะที่ใช้ได้อีก เช่น กระดาษ พลาสติก โลหะและแก้ว มาผลิตเป็นสิ่งของเครื่องใช้ชิ้นใหม่ ใน พ.. 2537 กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมรายงานว่ามีการนำเศษกระดาษมาผลิตใช้ใหม่ในประเทศประมาณ 800,000 ตัน
- การใช้เป็นวัสดุก่อสร้าง เช่น ใช้ขวดเรียงเป็นพื้นล่างแทนหินหรือกรวดก่อนเทปูนทางเดินเท้า
- การใช้เป็นวัสดุคลุมดิน โดยใช้พวกอินทรียวัตถุที่ย่อยสลายหรือเก็บความชื้อได้ เช่น หญ้าแห้ง ใบไม้ เปลือกกล้วย ขี้เลื่อย หรือกาบมะพร้าวคลุมโคนต้นหรือแปลงปลูกพืชเพื่อรักษาความชื้นในดิน ในโอกาสต่อไปวัสดุเหล่านี้จะผุสลายเป็นอาหารพืชและยังช่วยทำให้โครงสร้างของดินดีขึ้น
- การใช้ผลิตปุ๋ย ได้แก่ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยเทศบาล กรณีการผลิตปุ๋ยเทศบาลของกรุงเทพมหานครนั้น กองโรงงานกำจัดมูลฝอยมีโรงงานหมักขยะจำนวน 4 โรง รับขยะสดได้ร้อยละ 60 และมีโรงงานผลิตปุ๋ยอินทรีย์ 1 โรง กำลังผลิตวันละประมาณ 100 ตัน ซึ่งไม่พอเพียงต่อการทำลายขยะ การผลิตปุ๋ยจะทำโดยหมักขยะสดในตึกหมักนาน 5 วัน เรียกการหมักครั้งที่ 1 จากนั้นจะกองขยะไว้กลางแจ้งเป็นเวลา 6 เดือน เพื่อให้สลายตัว เรียกการหมักครั้งที่ 2 เมื่อนำไปร่อนด้วยเครื่องจักรจะได้ปุ๋ย กทม. 1 จากนั้นก็จะผสมปุ๋ยนี้กับอุจจาระแห้งเพื่อทำเป็นปุ๋ย กทม. 2
- การใช้เป็นเชื้อเพลิง คือ การใช้ขยะที่ติดไฟได้เป็นเชื้อเพลิงในกิจการต่างๆ เช่น การผลิตกระแสไฟฟ้า หรือใช้ขยะในการผลิตก๊าซ
5. จัดตั้งศูนย์บริการกำจัดกากอุตสาหกรรม ควรจัดสร้างศูนย์กำจัดกากอุตสาหกรรมในแหล่งโรงงานเพื่อให้สามารถจัดการของเสียจากกระบวนการผลิตปริมาณมากได้อย่างมีประสิทธิผล เช่น ศูนย์กำจัดการอุตสาหกรรม แขวงแสมดำ เขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร และโครงการจัดตั้งศูนย์บริการกำจัดกาก
11
อุตสาหกรรมระบบกายภาพเคมี จังหวัดสระบุรี ชลบุรี และระยอง ซึ่งสามารถรองรับขยะจากโรงงานอุตสาหกรรมได้ปีละ 500,000 ตัน
ที่มา: โยธิน สุริยพงศ์.มลพิษสิ่งแวดล้อม.2542.
การจัดการมูลฝอย (Solid Waste Management)
1.การเก็บกักมูลฝอย (Solid Waste Storage)
1.1 ประเภทของภาชนะหรืออุปกรณ์เก็บกักมูลฝอย
1) ถังขยะ
เพื่อให้การจัดเก็บรวบรวมขยะมูลฝอยเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและลดการปนเปื้อนของขยะมูลฝอยที่มีศักยภาพในการนำกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่จะต้องมีการตั้งจุดรวบรวมขยะมูลฝอย (Station) และให้มีการแบ่งแยกประเภทของถังรองรับขยะมูลฝอยตามสีต่าง ๆ โดยมีถุงบรรจุภายในถังเพื่อสะดวกและไม่ตกหล่น หรือแพร่กระจาย ดังนี้
สีเขียว รองรับขยะที่เน่าเสียและย่อยสลายได้เร็ว สามารถนำมาหมักทำปุ๋ยได้ เช่น ผัก ผลไม้ เศษอาหาร ใบไม้
สีเหลือง รองรับขยะที่สามารถนำมารีไซเคิลหรือขายได้ เช่น แก้ว กระดาษ พลาสติก โลหะ
สีเทาฝาสีส้ม รองรับขยะที่มีอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต และสิ่งแวดล้อม เช่น หลอดฟลูออเรสเซนต์ ขวดยา ถ่านไฟฉาย กระป๋องสีสเปรย์ กระป๋องยาฆ่าแมลง ภาชนะบรรจุสารอันตรายต่าง ๆ
สีฟ้า รองรับขยะย่อยสลายไม่ได้ ไม่เป็นพิษและไม่คุ้มค่าการรีไซเคิล เช่น พลาสติกห่อลูกอม ซองบะหมี่สำเร็จรูป ถุงพลาสติก โฟมและฟอล์ยที่เปื้อนอาหาร
นอกจากนี้ยังมีถุงพลาสติกสำหรับรองรับขยะมูลฝอยในแต่ละถัง โดยมัดปากถุงสีเดียวกับถังที่รองรับมูลฝอยตามประเภทดังกล่าวข้างต้น ในกรณีที่สถานที่มีพื้นที่จำกัดในการจัดวางภาชนะรองรับขยะมูลฝอยและมีจำนวนคนที่ค่อนข้างมากในบริเวณพื้นที่นั้น เช่น ศูนย์การประชุมสนามบิน ควรมีถังที่สามารถรองรับขยะมูลฝอยได้ทั้ง 4 ประเภทในถังเดียวกัน โดยแบ่งพื้นที่ของถังขยะมูลฝอยออกเป็น 4 ช่อง และตัวถังรองรับขยะมูลฝอยทำด้วยสแตนเลส มีฝาผิดแยกเป็น 4 สี ในแต่ละช่องตามประเภทของขยะมูลฝอยที่รองรับ ดังนี้
ฝาสีเขียว รองรับขยะมูลฝอยที่เน่าเสียและย่อยสลายได้เร็ว
ฝาสีเหลือง รองรับขยะมูลฝอยที่สามารถนำรีไซเคิล หรือขายได้
ฝาสีแดงรองรับขยะมูลฝอยที่มีอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม
ฝาสีฟ้ารองรับขยะมูลฝอย ที่ย่อยสลายไม่ได้ ไม่เป็นพิษและไม่คุ้มค่าการรีไซเคิลและมีสัญลักษณ์ข้างถัง
สำหรับสถานที่บางแห่งควรมีคอนเทนเนอร์ขนาดใหญ่ตั้งไว้ สำหรับให้ประชาชนทิ้งขยะมูลฝอย แยกประเภทด้วย รายละเอียดดังตาราง
ประเภท/ขนาด
สถานที่รวบรวม
หมายเหตุ
1. ถังคอนเทนเนอร์ ความจุ 4,000 - 5,000 ลิตร
ห้างสรรพสินค้า สวนสาธารณะ ตลาด ภัตตาคาร สนามกีฬา
มี 4 ตอน สำหรับใส่ขยะมูลฝอย 4 ประเภท
2. ถังขนาดความจุ 120 - 150 ลิตร
ห้างสรรพสินค้าสถานศึกษา สนามกีฬา โรงแรม โรงพยาบาล สถานีบริการน้ำมันทางเข้าหมู่บ้าน
ถังสีเขียว เหลือง เทาผ่าส้ม ฟ้า หรือถัง เทาหรือครีมคาดสีเขียว เหลือง ส้ม ฟ้า
3. ถังพลาสติกความจุ 50 - 60 ลิตร
จุดที่กลุ่มชนส่วนใหญ่มีกิจกรรมร่วมกันเป็นโครงการ โรงภาพยนต์ ฯลฯ
ถังสีเขียว เหลือง เทาฝาสีส้ม ฟ้า
4.ถุงพลาสติก
ครัวเรือน ถุงสีเขียว เหลือง แดง ฟ้า หรือถุงดำ คาดปากถุงด้วยเชือกสีเขียว เหลือง แดง ฟ้า
2) ถุงขยะ
สำหรับคัดแยกขยะมูลฝอยฝนครัวเรือนและจะต้องมีการคัดแยกรวบรวมใส่ถุงขยะมูลฝอยตามสีต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
ถุงสีเขียว รวบรวมขยะมูลฝอยที่เน่าเสีย และย่อยสลายได้เร็วสามารถนำมาหมักทำปุ๋ยได้ เช่น ผัก ผลไม้ เศษอาหาร ใบไม้
ถุงสีเหลือง รวบรวมขยะมูลฝอยที่สามารถนำมารีไซเคิลหรือขายได้ เช่น แก้ว กระดาษ พลาสติก โลหะ อลูมิเนียม
ถุงสีแดง รวบรวมขยะมูลฝอยที่มีอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม เช่น หลอดฟลูออเรสเซนต์ ขวดยา ถ่านไฟฉาย กระป๋องสีสเปรย์ กระป๋องสารฆ่าแมลง ภาชนะบรรจุสารอันตรายต่าง ๆ
ถุงสีฟ้า รวบรวมขยะมูลฝอยที่ย่อยสลายไม่ได้ไม่เป็นพิษและไม่คุ้มค่าการรีไซเคิล เช่น พลาสติกห่อลูกอม ซองบะหมี่สำเร็จรูป ถุงพลาสติก โฟมและฟอล์ยที่เปื้อนอาหาร
เกณฑ์มาตรฐานภาชนะรองรับขยะมูลฝอย
_ ควรมีสัดส่วนของถังขยะมูลฝอยจากพลาสติกที่ใช้แล้วไม่ต่ำกว่าร้อยละ 50 โดยน้ำหนัก
_ ไม่มีส่วนประกอบสารพิษ (toxic substances) หากจำเป็นควรใช้สารเติมแต่งในปริมาณที่น้อยและไม่อยู่ในเกณฑ์ที่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค
_ มีความทนทาน แข็งแรงตามมาตรฐานสากล
_ มีขนาดพอเหมาะมีความจุเพียงพอต่อปริมาณขยะมูลฝอย สะดวกต่อการถ่ายเทขยะมูลฝอยและการทำความสะอาด
_ สามารถป้องกัน แมลงวัน หนู แมว สุนัข และสัตว์อื่น ๆ มิให้สัมผัสหรือคุ้ยเขี่ยขยะมูลฝอยได้
1.2 จุดรวบรวมขยะมูลฝอยขนาดย่อม
เพื่อสะดวกในการเก็บรวบรวมและประหยัด จึงต้องมีการตั้งจุดรวมรวบขยะมูลฝอยขึ้นโดยจุดรวบรวมขยะมูลฝอยจะกำหนดไว้ตามสถานที่ต่าง ๆ ได้แก่ หมู่บ้าน โรงอาหาร โรงภาพยนต์ โดยมีภาชนะรองรับตั้งไว้เป็นจุด ๆ เช่น หมู่บ้านจัดสรร กำหนดให้จุดรวบรวม 1 จุด ต่อจำนวนครัวเรือน 50 - 80 หลังคาเรือน จุดแรกจะตั้งที่ปากประตูทางเข้าหมู่บ้าน สำหรับอพาร์ตเมนต์จะตั้งที่ลานจอดรถ บ้านที่อยู่ในซอยจุดแรกจะตั้งหน้าปากซอย แต่ละครัวเรือนจะรวบรวมขยะมูลฝอยที่คัดแยกได้ โดยถุงพลาสติกตามประเภทของสีต่าง ๆ มาทิ้งที่จุดรวบรวมขยะมูลฝอย
2. การเก็บขนมูลฝอย (Solid Waste Collection)
การเก็บขนขยะนับวันจะยุ่งยากและซับซ้อนมากขึ้นเนื่องจากการเพิ่มจำนวนประชากรและซึ่งโยงไปถึงการสร้างแหล่งที่อยู่อาศัย การขยายตัวของเมือง การเพิ่มขึ้นของอาคารสถานที่ รวมทั้งการขยายตัวด้านโรงงานอุตสาหกรรมเพื่อรองรับแรงงานที่เพิ่มขึ้น กิจกรรมของมนุษย์ก่อให้เกิดขยะของเสีย การเพิ่มขึ้นของขยะนอกจากจะมีปัญหาด้านปริมาณที่เพิ่มมากขึ้นต่อการเก็บการเก็บขน ปัญหาด้านค่าใช้จ่ายในการใช้แรงงานและเชื้อเพลิงในการเก็บขน ค่าใช้จ่ายในการจัดการขยะได้แก่ การเก็บขนขยะ การขนส่ง และการกำจัด นั้นการเก็บขนขยะเป็นกิจกรรมที่ต้องใช้ค่าใช้จ่ายมากที่สุด
การเก็บขนขยะ
แบ่งตามชนิดของขยะคือการเก็บขนขยะผสม และการเก็บขนขยะที่แยก ณ แหล่งกำเนิด โดยมีระบบการเก็บขนขยะดังนี้
(1) ระบบ haul container
(2) ระบบ stationary container
เส้นทางการเก็บรวมรวมขยะ (collection routes)
การระบุเส้นทางการเก็บรวมรวมขยะช่วยให้การใช้เครื่องมือและบุคลากรในการเก็บรวมรวมขยะทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ การวางเส้นทางการเก็บรวมรวมขยะไม่มีรูปแบบที่ตายตัวสำหรับใช้ได้ทุกเส้นทาง จึงต้องมีการวางแผนของแต่ละพื้นที่โดยมีข้อแนะนำได้แก่
1.ระบุนโยบายหรือกฎข้อบังคับที่มีอยู่ที่เกี่ยวข้องกับจุดเก็บและความถี่ในการเก็บรวมรวมขยะ
2.นำเอาระบบที่มีอยู่มาใช้ร่วมกัน เช่นจำนวนพนักงานและประเภทของรถขนขยะ
3.ในพื้นที่ที่เป็นเนินเขา ควรเริ่มเส้นทางเก็บรวบรวมขยะจากบริเวณที่สูงสุดลงมา
4.ควรวางเส้นทางให้ถังขยะถังสุดท้ายอยู่ในเส้นทางที่ใกล้สถานที่กำจัดขยะมากที่สุด
5.ให้เก็บขยะที่เกิดจากบริเวณที่มีการจราจรหนาแน่นในตอนเช้าที่สุดเท่าที่จะทำได้
6.จะต้องเก็บขยะจากบริเวณที่มีขยะปริมาณมาก ในช่วงต้นของแต่ละวัน
7.ในบริเวณที่มีขยะปริมาณน้อย ควรกระจายจุดเก็บให้มีความถี่ของการเก็บเท่ากันต่อการเก็บในแต่ละครั้ง หรือแต่ละวัน
3. การแปรสภาพขยะมูลฝอย ในการจัดการขยะมูลฝอย
อาจจัดให้มีระบบที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพด้วยการแปรสภาพขยะมูลฝอยคือ การเปลี่ยนแปลงสภาพลักษณะทางกายภาพเพื่อลดปริมาณเปลี่ยนรูปร่าง โดยวิธีคัดแยกเอาวัสดุที่สามารถหมุนเวียนใช้ประโยชน์ได้ออกมา วิธีการบดให้มีขนาดเล็กลง และวิธีอัดเป็นก้อนเพื่อลดปริมาตรของขยะมูลฝอยได้ร้อยละ 20-75 ของปริมาตรเดิมทั้งนี้ขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพของเครื่องมือและลักษณะของขยะมูลฝอย ตลอดจนใช้วิธีการห่อหุ้มหรือการผูกรัดก้อนขยะมูลฝอยให้เป็นระเบียบมากยิ่งขึ้น ผลที่ได้รับจากการแปรสภาพมูลฝอยนี้ จะช่วยให้การเก็บรวบรวม ขนถ่าย และขนส่งได้สะดวกขึ้น สามารถลดจำนวนเที่ยวของการขนส่ง ช่วยให้ไม่ปลิวหล่นจากรถบรรทุก และช่วยรีดเอาน้ำออกจากขยะมูลฝอย ทำให้ไม่มีน้ำชะมูลฝอยรั่วไหลในขณะขนส่ง ตลอดจนเพิ่มประสิทธิภาพการกำจัดขยะมูลฝอยโดยวิธีฝังกลบ โดยสามารถจัดวางซ้อนได้อย่างเป็นระเบียบจึงทำให้ประหยัดเวลา และค่าวัสดุในการกลบทับ และช่วยยืดอายุการใช้งานของบ่อฝังกลบได้อีกทางหนึ่งด้วย
การพิจารณาเครื่องมือแปรสภาพขยะมูลฝอยสามารถเลือกใช้ได้ตามองค์ประกอบและลักษณะสมบัติขยะมูลฝอย ประเภทของแหล่งกำเนิด สถานที่ตั้งระบบใดมีปัจจัยที่ควรพิจารณาดังนี้
_ ความสามารถในการทำงาน : เครื่องมือจะช่วยทำงานอะไรบ้างให้ได้งานที่ดีขึ้นกว่าเดิม
_ ความเชื่อถือได้: ต้องการบำรุงรักษามากน้อยเพียงไร
_ การบริการ : การตรวจเช็คและซ่อมแซม สามารถทำได้เอง และผู้ขายมีบริการหลังการขาย
_ ความปลอดภัย : เครื่องมือมีระบบป้องกันอันตรายแก่ผู้ใช้งาน ซึ่งอาจเกิดการเลินเล่อหรือขาดความรู้ความเข้าใจ
_ ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม : ไม่ก่อให้เกิดเสียงดังกลิ่นรบกวน หรือมลพิษอื่น ๆ
_ ความสวยงาม : เครื่องมือไม่ดูเทอะทะก่อความรำคาญให้กับสายตา
_ ค่าใช้จ่าย : ต้องคำนึงถึงเงินลงทุนและค่าบำรุงรักษารายปีอยู่ในระดับราคาที่ยอมรับได้
ระบบกระบวนการ
ก่อนที่จะเข้าสู่กระบวนการเปลี่ยนรูป (transformation) ของขยะ ซึ่งได้แก่ การหมักทำปุ๋ยและวัสดุปรับปรุงดิน (composting) การเผาแล้วได้พลังงานกลับคืน (incineration with energy recovery) การเผาโดยไม่ได้พลังงานกลับคืน (incineration with no energy recovery) ส่วนการฝังกลบขยะ (land filling) มักจะจัดไว้ในการกำจัดขยะ (waste disposal) กระบวนการเตรียมขยะเพื่อความเหมาะสมของกิจกรรมนั้นๆ รวมเรียกว่าระบบกระบวนการ
ระบบกระบวนการมีจุดประสงค์เพื่อเตรียมขยะ กากของเสีย เพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิง หรือใช้ในกระบวนการชีวภาพ เช่น การหมักทำปุ๋ยและวัสดุปรับปรุงดิน ขั้นตอนของกระบวนการได้แก่ การทำให้ขยะกากของเสียที่มีขนาดใกล้เคียงกัน แยกเอาโลหะที่มีเหล็กนำไปใช้ใหม่ การแยกเอาส่วนที่มีส่วนประกอบอินทรีย์ที่เหมาะสมในกระบวนการที่ใช้ความร้อน หรือกระบวนการทางชีวภาพ
หน่วยปฏิบัติการในการแยก
การแยกเป็นหน่วยที่สำคัญในการนำเอาวัสดุที่สามารถนำมาใช้และนำกลับมาใช้ใหม่ของขยะชุมชน การแยกสามารถทำได้ทั้งที่แหล่งกำเนิดขยะหรือที่โรงงานคัดแยกขยะ (Material Recovery Facilities, MFRs)
1. วัตถุประสงค์ของหน่วยปฏิบัติการ
1) เปลี่ยนคุณลักษณะทางกายภาพ (physical characteristics) ของขยะเพื่อให้แยกส่วนประกอบของขยะได้ง่ายขึ้น
2) เพื่อแยกเอาส่วนประกอบและสารปนเปื้อนที่จำเพาะออกจากกองขยะ
2. การลดขนาด (size reduction )
เป็นหน่วยที่ใช้ลดขนาดของวัสดุในขยะชุมชนเพื่อนำวัสดุนั้นไปใช้โดยตรงเช่น ทำเป็นวัสดุคลุมดินหรือเป็นวัสดุในการหมักทำปุ๋ยและวัสดุปรับปรุงดิน หรือเป็นกระบวนการบางส่วนของการนำเอาวัสดุกลับมาใช้ใหม่ เครื่องมือที่ใช้ในการลดขนาด
1) hammermill shredders สามารถออกแบบให้มีการหมุนทั้งชนิดที่มีใบพัดอยู่ในแนวนอนและแนวตั้ง (horizontal-shaft หรือ vertical-shaft) นิยมใช้ชนิดที่เป็นแนวนอนมากกว่า
2) shear shreddersลักษณะการทำงานเหมือนการตัดด้วยกรรไกร (scissors like action) โดยมีใบมีดตัดหรือบดขยะที่ความเร็ว 60-190 รอบ/นาที ซึ่งช้ากว่าเมื่อเปรียบเทียบกับ hammermill มอเตอร์ที่ใช้ส่วนมากเป็น hydraulic motor
3) tub grinders เป็น hammermill shredder ที่สามารถเคลื่อนย้ายนำไปใช้ยังแหล่งกำเนิดขยะได้ สามารถใช้ได้กับวัสดุหลายชนิด เช่น ตัดแต่งกิ่งและตอไม้ ซากเศษสิ่งก่อสร้าง
ภาพที่ 4-2 ชนิดของ shredder (a) hammermill (b) fail mill (c) shear shredder (d) vertical
hammermill ที่มา: Tchobanoglous et al. (1993), Rhyner et al. (1995)
3. การแยก (separation)
แบ่งแยกออกเป็น 3.1 การแยกตามขนาด (size separation)
บางครั้งเรียกการแยกตามขนาดว่า screening ใช้แยกวัสดุออกจากขยะผสมเป็น 2 ส่วนหรือมากกว่า โดยใช้ ชั้นตะแกรง 1 ชั้นหรือมากว่า การแยกนี้ทำได้ทั้งในสภาพเปียกและแห้ง แต่นิยมใช้สภาพแห้งมากกว่า มัก
ใช้ก่อนหรือหลัง shredding ใช้หลังจากกระบวนการ air classification ของการทำเชื้อเพลิงขยะอนุพัทธ์ (refuse-derived fuel; RDF) เพื่อใช้เป็นวัสดุในการทำปุ๋ยหมักและวัสดุคลุมดินที่มีขนาดและรูปร่างคงที่
เครื่องมือแยกขนาด
1) vibrating screen (reciprocating screen)
ใช้มากที่สุดในการแยกวัสดุแห้ง เช่น แก้ว และโลหะ ใช้แยก เศษไม้ออกจากปุ๋ยหมัก (เศษไม้ใช้เป็น bulking agent ในการทำปุ๋ยหมักที่ทำจากกากตะกอน) และยังใช้แยกเศษแตกหักของซีเมนต์ออกจากเศษสิ่งก่อสร้าง
2) trommel screens (rotary drum screen)
เป็นเครื่องมือที่นิยมแพร่หลาย ในการแยกขนาดขยะ โดยเอาตะแกรงมาม้วนเป็นรูปทรงกระบอกให้หมุนตามแนวราบ ใช้ในแยกขยะที่ขนาดใหญ่เกินไปก่อนเข้า shredder ในการผลิต RDF ซึ่งเป็นการรักษา shredder ได้อีกแนวทางหนึ่ง และยังใช้แยก การ์ดบอร์ดและกระดาษใน MRFs
3) disc screens
เป็นเครื่องมือที่เป็นทางเลือกนอกเหนือจากการใช้ reciprocating screens ประกอบด้วยจานหมุน (disc) วางขนานกัน วัสดุที่แยกได้ตกไปตามช่องว่างของ disc ข้อดีของ disc screens เมื่อเทียบกับ reciprocating screen คือสามารถทำความสะอาดเองได้ (self-cleaning) และสามารถปรับขนาดของช่องว่างระหว่าง disc ได้
3.2 การแยกตามความหนาแน่นและความเฉื่อย (density and inertia separation)
เป็นเทคนิคใช้แยกวัสดุออกจากกันโดยใช้หลักการของความแตกต่างของความหนาแน่น (density) และคุณลักษณะของการเคลื่อนที่ในอากาศ (aerodynamic characteristics) การแยกนี้จะแยกวัสดุออกเป็น 2 ส่วน คือ
(1) ส่วนที่เบา (light fraction) ได้แก่ กระดาษ พลาสติก และสารอินทรีย์
(2) ส่วนที่หนัก (heavy fraction) ได้แก่ โลหะ ไม้ และวัสดุอนินทรีย์ ที่มีน้ำหนักค่อนข้างมาก
เครื่องมือใช้แยกโดยใช้ความหนาแน่นและความเฉื่อย
1) air classifiers นิยมใช้มากที่สุดในการแยกขยะ ขยะที่ถูกลดขนาด (shredded solid wastes) มาแล้วจะตกลงสู่ท่อแนวดิ่ง (vertical chute) ลมเคลื่อนที่จากส่วนล่างของ chute ขึ้นสู่บ้างบน พาเอาวัสดุที่มีน้ำหนักเบากว่าตามขึ้นไปสู่ส่วนบนของ chute เนื่องจากแรงลมนี้ไม่สามารถจะพาวัสดุที่มีน้ำหนักมากขึ้นไปจึงตกลงสู่ส่วนล่างของ chute ควบคุมสัดส่วนระหว่างวัตถุที่มีน้ำหนักเบาและหนัก โดยการปรับเปลี่ยนอัตราการป้อนขยะ (waste loading rate), อัตราการไหลของอากาศ และพื้นที่หน้าตัดของ chute
ภาพที่ 4-3 ระบบ air classifier
ที่มา: Tchobanoglous et al. (1993)
2) stoners or vibrating table
ใช้แยกก้อนหินหรือวัตถุที่มีน้ำหนักมากออกจากขยะ เดิมทำขึ้นเพื่อใช้ในกิจการเหมืองแร่ ประกอบด้วยโต๊ะแคบ ยาววางระดับเอียง ให้ความสั่นสะเทือนในทิศทางตัดขวางของการเคลื่อนที่ของวัตถุ ขยะจะถูกแยกตามความหนาแน่น ส่วนที่เบากว่าจะอยู่ในด้านที่มีความสั่นสะเทือนมากกว่า เรียงไปตามลำดับ ต่อการได้มีการพัฒนารูปแบบของเครื่องมือให้มีการสั่นสะเทือนเป็น reciprocating motion ( ภาพที่ 4-4)
ภาพที่ 4-4 โต๊ะสั่น (vibrating table)
ที่มา: Rhyner et al. (1995)
3) ballistic separator
เป็นเครื่องมือที่ใช้ใบพัด (rotor) พัดเอาขยะเข้าไปในกระแสลม วัสดุที่มีความหนาแน่นมากซึ่งจะมีความเฉื่อยสูงด้วยจะถูกพัดไปได้ไกลกว่า วัสดุที่มีความหนาแน่นน้อยซึ่งจะมีความเฉื่อยต่ำ จึงแยกขยะออกได้ดังภาพที่ 4-5
ภาพที่ 4-5 ballistic separator
ที่มา: Rhyner et al. (1995)
4) liquid floatation:
ใช้แยกวัตถุที่มีความหนาแน่นน้อยกว่า (ส่วนที่ลอย) ของเหลวที่นำมาใช้ออกจากวัตถุที่มีความหนาแน่นมากกว่า (ส่วนที่จม) ของเหลวที่นำมาใช้ นิยมนำ liquid floatation มาใช้แยกขวดพลาสติก
3.3 แยกโดยอาศัยคุณสมบัติการเป็นแม่เหล็ก (magnetic and electric field separation, electrostatic charge and magnetic permeability)
อาศัยคุณสมบัติของแรงดึงดูดแม่เหล็กของวัสดุที่เป็นส่วนประกอบของขยะ
- magnetic separation: เป็นเทคนิคที่นิยมมากในการนำมาแยก ferrous ออกจาก nonferrous metals.
- electrostatic separation ใช้แยกพลาสติก กระดาษ โดยอาศัยลักษณะความแตกต่างประจุที่ผิว ของวัสดุ
- eddy current separation เป็นเทคนิคที่ใช้การปรับเปลี่ยนสนามแม่เหล็กเพื่อเหนี่ยวนำให้เกิด eddy currents ใน nonferrous metals such as aluminum ผลที่ได้เรียกว่า an “aluminum magnet”
ชนิดของเครื่องมือ
1. magnetic separation สามารถแยกได้ทั้งประเภทแม่เหล็กถาวรและแม่เหล็กไฟฟ้า
(permanents or electromagnets)
2. electrostatic separation ใช้ high-voltage electrostatic fields ในการแยกวัสดุประเภท nonconductors of electricity เช่น แก้ว พลาสติก และกระดาษ ออกจากวัสดุประเภท conductors เช่นโลหะ และยังใช้แยกวัสดุที่เป็น nonconductors ด้วยกันแต่มีความแตกต่างในคุณสมบัติด้าน electrical permittivity (e) หรือความสามารถในการรักษาประจุไฟฟ้าซึ่งนำมาใช้แยกกระดาษจากพลาสติก ทั้งนี้ยังสามารถแยกพลาสติกต่างชนิดออกจากกันได้ด้วย
3. eddy current separation สามารถแยก nonferrous metals ออกจาก อโลหะ โดยเหนี่ยวนำให้เกิดกระแสไฟฟ้าในโลหะด้วย alternating magnetic field เรียกกระแสไฟฟ้าที่เกิดขึ้นนี้ว่า eddy currents ซึ่งจะให้สนามแม่เหล็กในทิศตรงกันข้ามกับสนามแม่เหล็กที่ให้ eddy currents จะไม่ดูดกับอโลหะ จึงเกิดการแยกชนิดขึ้น
ภาพที่ 4-6 ระบบ magnetic separation (a) schematic overhead magnet (b) pulley magnet (c)
belt-type magnetic separator and (d) two-drum magnetic separator ที่มา: Tchobanoglous et al. (1993)
3.4 แยกโดยอาศัย Optical/infrared/X-ray sorting
ใช้เทคนิคด้าน spectroscopic ร่วมกับเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์สมัยใหม่ แยกแก้วโดยสี และแยกพลาสติกโดยสีและชนิดของเรซิ่นที่ใช้ทำพลาสติก
อาศัยคุณสมบัติในการดูดกลืนแสงที่ต่างกันของสีของวัตถุที่นำมาทำแก้ว ส่วนของพลาสติกใช้แสง near IR หรือ x-ray radiation เพื่อแยกชนิดของเรซิ่น และใช้ visible light ในการแยกสีของพลาสติก
4. การอัดแน่นขยะ (densification, compaction)
เป็นหน่วยปฏิบัติการในการเพิ่มความหนาแน่นของขยะ กากของเสียเพื่อให้การเก็บกักและการขนย้ายมีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมถึงการลดการเก็บกักเครื่องมือที่ใช้ในนำกลับมาใช้ใหม่ ลดปริมาตรของการขนย้ายและเป็นการเตรียมการของการทำ densified refused-derived fuels (dRDF).
ชนิดของเครื่องมือ
1) baling equipment เป็นเครื่องอัดแท่งขยะเพื่อนำไปใช้กับหลุมฝังกลบขยะประเภท balefill landfill แท่งขยะที่อัดเป็นก้อนนี้สะดวกต่อการขนย้ายด้วยรถ standard forklifts และประหยัดในการขนส่งเนื่องจากมีความหนาแน่นทั้งก้อน (bulk density) สูง
ภาพที่ 4-7เครื่องอัดแท่ง (baler)
ที่มา: Rhyner et al. (1995)
2) cubing and pelleting equipment เป็นเทคนิคที่ใช้ทำ densified refused-derived fuels (dRDF) สำหรับเป็นเชื้อเพลิงใน incineration, gasification, or pyrolysis systems system)
ภาพที่ 4-8 แผนภาพของระบบการทำ cubing ที่สมบูรณ์สำหรับขยะเทศบาล
ที่มา: Tchobanoglous et al. (1993)
4.การบำบัดและกำจัดมูลฝอย (Refuse or Solid Waste Treatment and Disposal)
1.การหมักทำปุ๋ยและวัสดุปรับปรุงดิน (composting)
composting เป็นเป็นกระบวนการสลายตัวของสารอินทรีย์และให้เกิดสารที่เสถียรกว่าเดิมโดยกระบวนการทางชีววิทยาภายใต้สภาวะที่ก่อให้เกิดอุณหภูมิสูงขึ้นเรียกว่า thermophilic condition ผลที่ได้จากกระบวนการดังกล่าวจะให้ความร้อนกับผลิตภัณฑ์ที่เสถียรเพียงพอที่จะกักเก็บและเหมาะสมที่จะใช้กับพื้นที่ดินโดยไม่เกิดผลเสียหายต่อสิ่งแวดล้อม
ชนิดของขยะที่นิยมนำมาใช้ในการทำ composting ใช้ได้แก่
(1) ของเสียจากการทำสวน (yard waste)
(2) ขยะเทศบาลที่ผ่านการแยก (separated MSW)
(3) ขยะเทศบาลผสมที่ยังไม่ผ่านการแยก (commingled MSW)
(4) ขยะผสมร่วมกับกากตะกอนที่ได้จากการบำบัดน้ำเสีย (co-composting with wastewater sludge)
วัตถุประสงค์หลักและข้อดีของการทำ composting
(1) การปรับเสถียรของของเสีย (waste stabilization)
(2) การทำลายเชื้อโรค (pathogen inactivation)
(3) ธาตุอาหารและการปรับมาใช้ในการปรับปรุงพื้นที่ (nutrient and reclamation)
(4) การทำกากตะกอนให้แห้ง (sludge drying)
หลักการออกแบบในการทำ composting
(1) ขนาดของขยะที่ใช้ มักจะผ่านกระบวนการ shredding ให้มีขนาดเล็กกว่า 2 นิ้วเพิ่มความหนาแน่นรวม (bulk density) เพิ่มความเสียดทานภายในและคุณลักษณะของการไหล เพิ่มแรงฉุดของวัสดุ เพิ่มอัตราของปฏิกิริยาชีวเคมีในกระบวนการ
(2) อัตราส่วนของคาร์บอนและไนโตรเจน (C/N ratio) อัตราส่วนดังกล่าวมีความสำคัญที่สุดในการออกแบบ ค่าที่เหมาะสมอยู่ระหว่าง 20 และ 25
(3) การเติมเชื้อ (seeding) เป็นการเติมจุลินทรีย์เพื่อช่วยการย่อยสลายให้ดีขึ้นและมีอัตราการย่อยสลายที่เร็วขึ้น
(4) ปริมาณความชื้นที่เหมาะสมคือ 50-60 % การปรับความชื้นให้เหมาะสมอาศัยผลที่ได้จากการผสมวัสดุที่มีความชื้นแตกต่างกันและการกลับกองหมัก (mixing and turning)
(5) อุณหภูมิ ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นในกองขยะเป็นชนิดที่ให้ความร้อน (exothermic reaction) และเป็นเมแทโบลิซึมของการหายใจ อุณหภูมิช่วง mesophillic 30-38 ส่วนในช่วง thermophillic 55-60
(6) การควบคุมเชื้อโรคที่เกิดขึ้น
(7) ความต้องการอากาศ
(8) การควบคุม pH ในกรณีที่การถ่ายเทของอากาศไม่ดี จะเกิดสภาวะไร้อากาศ (anaerobic condition) pH จะลดลงถึง 4.5 ทำให้กระบวนการชะงักหรือช้าลง
(9) การควบคุมกลิ่นที่เกิดขึ้น กลิ่นที่ได้คือกรดอินทรีย์เนื่องจากมีกระบวนการประเภทไม่ต้องการอากาศเกิดขึ้น แก้ไขโดยการลดขนาดของขยะลง หรือแยกขยะที่ไม่สามารถย่อยสลายโดยกระบวนการทางชีววิทยาได้เช่น พลาสติก ออกจากกอง
(10) ความต้องการพื้นที่ในการทำงาน ตัวอย่างเช่น windrow: composting มีความต้องการพื้นที่ 2.5 เอเคอร์ สำหรับโรงงานที่มีกำลังผลิต 50 ตันต่อ วัน ทั้งนี้ พื้นที่1.5 เอเคอร์จะเสียไปกับ อาคาร โรงเรือนของเครื่องมือ และถนน
ปฏิกิริยาชีวเคมีที่เกิดใน composting
ตัวอย่างของการย่อยสลายโปรตีน
protein ----> peptides ---> amino acids ----> ammonium compounds ----> bacteria protoplasm, atmospheric nitrogen หรือ ammonia
การย่อยสลายคาร์โบไฮเดรต
carbohydrates ----> simple sugars organic acids CO2 และ bacterial protoplasm
การทดแทนทางชีววิทยา (biological succession
ภาพที่ 5-1 โซ่อาหารในกอง compost ที่มา: Polprasert (1996)
สภาวะแวดล้อมที่เหมาะสม
(1) ความสมดุลย์ของธาตุอาหาร (nutrient balance) พารามิเตอร์ที่สำคัญที่สุดคืออัตราส่วนของ C/N ที่สำคัญรองลงไปได้แก่ปริมาณฟอสฟอรัส ซัลเฟอร์ แคลเซี่ยมและธาตุอื่นๆ
(2) ขนาดของวัสดุที่ใช้ในการทำ composting
(3) การควบคุมความชื้น
(4) ความต้องการอากาศ
(5) อุณหภูมิและความเป็นกรด-เบส
(6) composting maturity
เกณฑ์การคัดเลือกพื้นที่ของสถานที่กำจัดโดยการหมักทำปุ๋ย
1. ไม่ตั้งออยู่ในพื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 1 และชั้นที่ 2 ตามมติคณะรัฐมนตรี ที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดชั้นคุณภาพลุ่มน้ำเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2528
2. ตั้งอยู่ห่างจากแนวเขตโบราณสถาน ตาม พ..บ โบราณสถาน โบราณวัสดุ ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑ์สดถานแห่งชาติ ไม่น้อยกว่า 1 กิโลเมตร
3. ควรตั้งอยู่ห่างจากชุมชนไม่น้อยกว่า 2 กิโลเมตร
4. ที่ตั้งของสถานทีกำจัดโดยเตาเผาควรเป็นที่โล่ง ไม่อยู่ในที่อับลม
ระบบ Composting
แบ่งเป็น 2 ระบบ คือ
(1) การทำ composting ในที่ (On-site composting) ได้แก่
1) aerobic composting toilets
2) anaerobic composting
(2) การทำ composting นอกพื้นที่ (Off-site composting)
1) Chinese ground - surface aerobic composting pile
2) window composting
3) forced-air aeration composting
4) The DANO system
5) the Jersey system
ภาพที่ 5-2 วิธีทำ composting (a) windrow with periodic turning (b) aerated static pile and (c)
in-vessel plug flow
ที่มา: Tchobanoglous et al. (1993)
ภาพที่ 5-3 ระบบ aerated static pile composting ที่มี screen filter
ที่มา: Tchobanoglous et al. (1993)
2.เตาเผาขยะ (incinerator)
จุดประสงค์หลักของการเผาขยะ
เพื่อลดปริมาณขยะ และเพื่อให้ได้พลังงานความร้อนกลับมาใช้ใหม่
ประโยชน์ที่ได้จากเตาเผา ได้แก่
(1) ลดปริมาณ และน้ำหนักของขยะ โดยเฉพาะของแข็งที่มีขนาดใหญ่เทอะทะ ที่มีค่าความ สามารถ ในการเผาไหม้สูง ช่วยลดปริมาณขยะที่ต้องนำไปทิ้งในหลุมฝังกลบได้ถึง 90 % และ ลดน้ำหนักขยะได้ 75%
(2) ทำลายของเสียบางอย่างและใช้ในการลดพิษ (detoxification) ได้ ทำให้อยู่ในรูปง่ายต่อการที่จะไปบำบัดขั้นสุดท้ายต่อไป เช่นสารก่อมะเร็งที่เผาไหม้ได้ วัสดุที่ปนเปื้อนด้วยเชื้อโรค สารอินทรีย์ที่เป็นพิษ หรือสารที่ออกฤทธิ์ทางชีววิทยาที่อาจมีผลเสียต่อการบำบัดของเสียในขั้นตอนต่อไป
(3) ทำลายองค์ประกอบประเภทอินทรีย์ของขยะ ที่สามารถย่อยสลาย ด้วยกระบวนการทางชีววิทยา ที่ก่อให้เกิดก๊าซเมื่อนำไปฝังกลบได้แก่ก๊าซมีเทนปล่อยออกสู่บรรยากาศ
(4) การนำพลังงานกลับมาใช้ได้อีกจากขยะอินทรีย์ที่มีค่าความร้อน (calorific value) เพียงพอ
(5) ทดแทนเชื้อเพลิงฟอสซิล เป็นผลดีตามมาที่ช่วยแก้ปัญหาก๊าซเรือนกระจก (greenhouse gases)
หลักการของเตาเผาขยะ
เป็นกระบวนการทางเคมีที่ออกซิไดซ์วัสดุอย่างรวดเร็ว มีลำดับขั้นตอนที่เกิดขึ้นในกระบวนการดังนี้
(1) ขยะถูกทำให้แห้งเนื่องจากเกิดการระเหยของความชื้นที่มีอยู่ในขยะ
(2) เกิดการระเหยของสารประกอบอินทรีย์
(3) เมื่อมีออกซิเจนจะเกิดการติดไฟของสารระเหย
(4) ผลผลิตที่ได้คือก๊าซเผาไหม้ที่มีอุณหภูมิสูงได้แก่ไนโตรเจน ออกซิเจน และไอน้ำ รวมทั้งกากที่ไม่ไหม้ไฟได้แก่เถ้าและพลังงานความร้อน
ค่าความร้อน (heat value หรือ fuel value) ค่าความร้อนของขยะที่เผาไหม้แบ่งได้เป็น 2 ชนิด คือ (1) Higher Heat Value (HHV) หรือ gross heat value
(2) Lower Heat Value (LHV) หรือ net heat value
ปัจจัยที่มีผลทำให้ค่าความร้อนลดลง ได้แก่
(1) ปริมาณความชื้น (moisture content)
(2) ปริมาณของวัตถุที่เผาไหม้ได้ (combustible materials)
(3) ปริมาณเถ้า (ash content
ชนิดของขยะที่นำมาเป็นเชื้อเพลิง (solid waste fuel) ได้แก่
(1) ขยะผสม (commingled solid waste) เรียกว่าเชื้อเพลิงมวลขยะ (mass-fire fuel)
(2) ขยะที่ผ่านกระบวนการแยกมาแล้ว (processed solid waste) เรียกว่าเชื้อเพลิงขยะอนุพัทธ์ (refused-derived fuel, RDF-fired fuel)
เกณฑ์การคัดเลือกพื้นที่ของสถานที่กำจัดโดยเตาเผา
1. ไม่ตั้งออยู่ในพื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 1 และชั้นที่ 2 ตามมติคณะรัฐมนตรี ที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดชั้นคุณภาพลุ่มน้ำเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2528
2. ตั้งอยู่ห่างจากแนวเขตโบราณสถาน ตาม พ..บ โบราณสถาน โบราณวัสดุ ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑ์สดถานแห่งชาติ ไม่น้อยกว่า 1 กิโลเมตร
3. ควรตั้งอยู่ห่างจากชุมชนไม่น้อยกว่า 2 กิโลเมตร
4. ที่ตั้งของสถานทีกำจัดโดยเตาเผาควรเป็นที่โล่ง ไม่อยู่ในที่อับลม
ประเภทของเตาเผาขยะแบ่งตามชนิดของขยะที่นำมาเป็นเชื้อเพลิง ได้แก่
1. การเผาไหม้มวลขยะ (mass-fired combustion)
ภาพที่ 6-1 ระบบของกรับ (grate systems) ที่ใช้ในเตาเผามวลขยะเทศบาล (mass-fired MWS
combustor) (a) Martin grate (b) Dusseldorf grat ที่มา: Tchobanoglous et al. (1993)
ภาพที่ 6-2 ระบบเผาไหม้มวลขยะ (mass-fired combustion) ที่มีเตาเผาทนความร้อนสูงมีการป้อน
ขยะอย่างต่อเนื่อง (refractory-lined furnace) โดยมีที่เติมเชื้อเพลิงเป็นตะกรับเคลื่อนที่ได้
(traveling-grate stokers) ที่มา: Rhyner et al. (1995)
2. การเผาไหม้เชื้อเพลิงขยะอนุพัทธ์ (RDF-fired combustion)
ภาพที่ 6-3 ภาพตัดขวางของ RDF-fired combustor ที่มีตะกรับชนิดเคลื่อนที่ (traveling grate stoker)
ที่มา: Tchobanoglous et al. (1993)
3. ระบบการเผาไหม้แบบชั้นฟลูอิดไดซ์ (fluidized Bed Combustion, FBC)
ภาพที่ 6-4 ระบบ FBC สำหรับเผา refuse-derived fuel
ที่มา: Tchobanoglous et al. (1993)
4. ระบบการนำพลังงานกลับมาใช้ใหม่ (energy recover systems)
(1) พลังงานในรูปไอน้ำ (steam) ที่ใช้ในกระบวนการในโรงงานอุตสาหกรรมหรือการให้ความร้อนในอาคาร ใช้กับกังหันไอน้ำ (steam turbine) เพื่อสร้างพลังงานกลหรือพลังงานไฟฟ้า
(2) พลังงานในรูปก๊าซและของเหลวเช่นเครื่องกลเชื้อเพลิง (fuel engine) กังหันก๊าซ (gas turbine) หรือการใช้ต้มหม้อต้ม (boiler)เพื่อให้เกิดไอน้ำ
ภาพที่ 6-5 ภาพตัดขวางของเตาเผาประเภท water-wall mass-fired ใช้ในการผลิตพลังงานจากขยะเทศบาล
ที่มา: Tchobanoglous et al. (1993)
ระบบการควบคุมด้านสิ่งแวดล้อม (environmental control systems)
1) ก๊าซและอนุภาคที่ปลดปล่อย (gaseous and particulate emissions)
1) ไนโตรเจนออกไซด์ (Nitrogen Oxides,NOX, NO, NO2)
2) ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (Sulfur dioxide, SO2)
3) คาร์บอนมอนนอกไซด์ (Carbon monoxide, CO)
4) อนุภาคฝุ่น (Particulate Matter, PM)
5) โลหะ (Metals)
6) ก๊าซที่มีฤทธิ์เป็นกรด (Acid gases)
7) ไดออกซินและ furans
2) กากของแข็ง (solid residues) ที่เกิดจากกระบวนการเผาไหม้แบ่งเป็น
1) เถ้าก้นเตา (bottom ash)
2) เถ้าลอย (fly ash)
3) สิ่งที่ได้จากการเครื่องชะจับ (scrubber products)
3) ของเหลวที่ปล่อยออกมาจากระบบ (liquid effluents)
ระบบการควบคุมมลพิษทางอากาศ (air pollution control systems)
เครื่องมือที่ใช้ควบคุมอนุภาคฝุ่น
(1) เครื่องดักจับอนุภาคฝุ่นด้วยไฟฟ้าสถิต (electrostatic precipitators, ESPs)
ESP มีความสามารถในการกำจัดอนุภาคฝุ่นที่มีขนาดเล็ก (fine) มีขนาดเล็กกว่า 10 mm และขนาดเล็กมาก (very fine) มีขนาดเล็กกว่า 2 mm กลไกที่ใช้ในการกำจัดคือการดึงดูดด้วยไฟฟ้าสถิต
(electrostatic attraction) กระแสไฟที่ให้เป็นประเภทไฟฟ้าแรสูง (high negative voltage) 20,000 ถึง 100,000 volts ESP มีประสิทธิภาพในการกำจัดอนุภาคที่มีขนาดเล็กได้ 99.8 % สำหรับอนุภาคที่มีขนาดเล็กมากได้ 93 %การกำจัดอนุภาคฝุ่นที่เก็บได้ออกจากเครื่อง ESP โดยใช้แรงเขย่า
ภาพที่ 6-6 ESP ใช้ในการกำจัดอนุภาคฝุ่นจากเตาเผาขยะชุมชน
ที่มา: Tchobanoglous et al.(1993)
(2) ถุงกรอง (fabric filters)
การนำถุงกรองมาต่อขนานกันในห้องเครื่อง (housing) อนุภาคในก๊าซหลังการเผาไหม้ปล่อยออกมา จะถูกจับไว้รวมตัวกันเป็นแผ่นของฝุ่น (dust bed) ที่ผิวหน้าของถุงกรองซึ่งสามารถกรองอนุภาคที่มีขนาดเล็กมากถึง 0.1 mm เมื่อเกิดความดันต่ำลง (pressure drop) เนื่องจากแผ่นของฝุ่นที่หนามากขึ้น จึงกำจัดเอาฝุ่นออกจากแผ่นกรองซึ่งมีหลายวิธี เช่นนำไปเขย่า การใช้ลมเป่ากลับและ pulse jet
ภาพที่ 6-7 Baghouse ที่มีถุงกรองสำหรับกำจัดอนุภาคฝุ่นจากเตาเผาขยะชุมชน
ที่มา: Tchobanoglous et al.(1993)
(3) electrostatic gravel bed filter
เป็นตัวกรองที่รวมอุปกรณ์ทั้งด้าน ESP กับกระบวนการกรองไว้ด้วยกัน มักใช้กับเตาเผาที่ใช้ไม้เป็นเชื้อเพลิง (wood-burning furnace)
เครื่องมือควบคุมก๊าซไนโตรเจนออกไซด์ (NOx)
1) fuel NOx แนะนำให้แยกขยะอาหารและขยะจากการตัดสนามหญ้าและสวน (yard waste) ซึ่งมีไนโตรเจนอินทรีย์เป็นองค์ประกอบ
2) thermal NOx ควบคุมที่กระบวนการเผาไหม้ (combustion control) หรือนำเอา flue gas มาบำบัด
เครื่องมือควบคุมก๊าซที่มีฤทธิ์เป็นกรด
วิธีทีควบคุมก๊าซที่มีฤทธิ์เป็นกรด ได้แก่
1. การคัดแยกขยะที่มีคลอรีนเป็นองค์ประกอบออก ณ แหล่งกำเนิดขยะ
2. ใช้เครื่องมือชะจับก๊าซหลังเผาไหม้ (flue gases) ชนิดเปียก (wet scrubber) สารที่ใช้เป็นเครื่องชะจับ (scrubber) ที่ใช้ได้แก่สารละลายปูนขาว (lime solution) บรรจุในเครื่องชะจับเวนจูรี (venturi scrubber) (ภาพที่ 50) ก่อนอื่นต้องทำให้ก๊าซหลังเผาไหม้เย็นลงมีอุณหภูมิประมาณ 90 F ก่อนที่จะให้ผ่านไปยังเครื่องชะจับ เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพของการชะจับ จึงให้ความร้อนให้ก๊าซอีกครั้งเป็นการเพิ่มแรงลอยตัว (buoyancy) ก่อนปล่อยออกไปที่ปล่อง (stack) วิธีนี้ให้ประสิทธิภาพในการกำจัด HCl 89-98%, HF 84-96% และ SO2 55-79%
3. ใช้เครื่องมือชะจับก๊าซหลังเผาไหม้ (flue gases) ชนิดแห้งเปียก (dry scrubber) การดักจับแบบแห้ง มี 2 เทคนิคคือ
(1) spray drying
(2) dry injection
เครื่องมือควบคุมคาร์บอนมอนนอกไซด์และไฮโดรคาร์บอน
วิธีแก้ไขควรจะทำระบบให้มีอากาศมากเกินพอ โดยควบคุมให้ใกล้กับปริมาณสมดุลไม่เช่นนั้นจะเป็นสาเหตุของการเกิดการปล่อยไนโตรเจนออกไซด์ออกมาจากระบบ วิธีที่นิยมใช้ในปัจจุบันคือการเฝ้าตรวจการปลดปล่อยอย่างต่อเนื่อง (Continuous Emission Monitoring, CEM) ซึ่งเป็นเฝ้าตรวจปริมาณคาร์บอนมอนนอกไซด์และออกซิเจนในอากาศที่มากเกินพอ
เครื่องมือควบคุม ไดออกซิน furans และโลหะ
หลักในการควบคุมไดออกซิน furans และโลหะมีดังนี้คือ
(1) คัดแยกขยะที่แหล่งกำเนิด เช่น แยกขยะแบตเตอรี่ ซึ่งมีปรอท และแคดเมี่ยม เป็นส่วน ประกอบอยู่ ขยะพลาสติกซึ่งมีอาจคลอรีนเป็นส่วนประกอบ
(2) ควบคุมกระบวนการเผาไหม้
(3) ควบคุมอนุภาคฝุ่น
การควบคุมกระบวนการเผาไหม้ (combustion control)
ในกระบวนการเผาไหม้ พารามิเตอร์ที่มีค่าความสัมพันธ์สูงต่อการปลดปล่อยการปลดปล่อยไดออกซิเจนและfurans ได้แก่
(1) อุณหภูมิของการเผาไหม้
(2) เวลาที่ขยะถูกเผาอยู่ในระบบ (residence time)
3. การฝังกลบ(sanitary landfilling)
การกำจัดขยะโดยการทิ้งขยะในลักษณะเทกองเปิด (open dump) ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมโดยรวม จึงมีการพัฒนาวิธีการเพื่อลดผลกระทบดังกล่าว ปัจจุบันใช้การฝังกลบขยะที่ถูกหลักสุขาภิบาล (sanitary landfilling) ซึ่งหมายถึงการวิธีการกำจัดขยะบนพื้นดิน โดยไม่ก่อให้เกิดเหตุรำคาญหรือส่งผลกระทบที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพอนามัยและความปลอดภัยของประชาชน อาศัยหลักการวิศวกรรมในการจำกัดขอบเขตมูลฝอยในพื้นที่ขนาดจำกัด เพื่อลดปริมาตรของขยะให้เหลือน้อยที่สุด และฝังกลบด้วยดินหรือวัสดุที่เหมาะสมหลังเสร็จสิ้นการปฏิบัติงานในแต่ละวันหรือตามระยะเวลาที่เหมาะสม
หลุมฝังกลบขยะ
หลุมฝังกลบขยะ หมายถึง บริเวณที่เป็นที่ทิ้งเศษขยะบนพื้นดิน แบ่งได้เป็น
1. หลุมฝังกลบขยะที่ถูกสุขลักษณะ (sanitary landfills) ควรมีลักษณะดังนี้
1) ไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของมนุษย์และสัตว์ โดยไม่เป็นแหล่งอาหารหรือ แหล่งเพาะพันธุ์ของสัตว์ และแมลงที่เป็นพาหะของโรค
2) ไม่เป็นสาเหตุให้เกิดการปนเปื้อนต่อดินและแหล่งน้ำ
3) ไม่เป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญ อันเนื่องมาจาก เสียง กลิ่น ควัน ผง และ ฝุ่นละออง
4) ไม่ทำให้สิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรมหรือทำให้สิ่งแวดล้อมเสียหายน้อยที่สุด
2. secure landfills เป็นหลุมฝังกลบสำหรับทิ้งขยะและของเสียอันตราย
ขั้นตอนการทำหลุมฝังกลบ
(1) การวางแผน (planning)
(2) การหาพื้นที่ทำหลุมฝังกลบขยะ (siting)
(3) การดำเนินการฝังกลบขยะ (implementation)
ขั้นตอนการฝังกลบขยะ
(1) การขนย้ายขยะ
(2) วางท่อหมุนเวียนก๊าซ เมื่อฝังกลบขยะเสร็จในแต่ละชั้น
(3) วางท่อระบายน้ำชะละลายขยะเพิ่มเติมในแต่ละชั้นที่เพิ่มขึ้น
(4) การปิดงานฝังกลบ (closure)
(5) การดูแลหลังจากการปิดงานฝังกลบ (post closure)
ภาพที่ 7-1 การดำเนินการฝังกลบขยะ (a) การขุดหลุมและการดาดพื้น (b) การฝังกลบขยะ (c)
ภาพตัดขวางของหลุมฝังกลบที่เสร็จแล้ว
ที่มา: Tchobanoglous et al. (1993)
วิธีการฝังกลบขยะ (landfilling methods)
(1) วิธีฝังกลบแบบร่อง (excavated cell/ trench method)
(2) วิธีฝังกลบแบบพื้นที่ (area method)
(3) วิธีฝังกลบแบบบ่อ (canyon/ depression method)
ภาพที่ 7-2 ชนิดของการฝังกลบขยะ a) excavated cell/trench, b) area, และ c)canyon/depression
ที่มา : Tchobanoglous et al. (1993)
ปัจจัยที่ใช้ในการพิจารณาในการฝังกลบขยะ
(1) ระยะทางการขนขยะจากที่กักเก็บมายังหลุมฝังกลบขยะ (haul distance)
(2) ข้อจำกัดของพื้นที่ตั้ง (location restrictions)
(3) พื้นที่ที่ใช้ประโยชน์ได้ (available land area)
(4) ทางเข้า-ออกพื้นที่ฝังกลบขยะ (site access)
(5) สภาพดินและลักษณะภูมิประเทศ (soil condition and topography)
(6) กลบ ความต้องการเครื่องมือเพิ่มเติมที่จำเป็น และงานเพิ่มเติมที่จำเป็นต้องดำเนินการเพื่อ ปรับสภาพพื้นที่ให้เหมาะสมกับลักษณะของการฝังกลบ
(7) สภาพภูมิอากาศ (climatologic conditions)
(8) คุณลักษณะของน้ำผิวดิน (surface water hydrology)
(9) ลักษณะด้านธรณีวิทยาและ อุทกวิทยา (geologic และ hydrogeologic conditions)
(10) สภาพสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น (local environmental conditions)
จากปัจจัยข้างต้น กรมควบคุมมลพิษ ได้กำหนดลักษณะพื้นที่ที่มีศักยภาพเหมาะสมในการฝังกลบขยะดังนี้
1) ไม่ตั้งอยู่พื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 1 และชั้นที่ 2
2) ตั้งอยู่ห่างจากแนวเขตโบราณสถานไม่น้อยกว่า 1 กิโลเมตร
3) ตั้งอยู่ห่างจากแนวเขตสนามบินไม่น้อยกว่า 5 กิโลเมตร
4) ควรอยู่ห่างจากบ่อน้ำดื่มหรือโรงผลิตน้ำประปาในปัจจุบันไม่น้อยกว่า 700 เมตร
5) ควรอยู่ห่างจากแหล่งน้ำธรรมชาติ หรือพื้นที่ชุ่มน้ำไม่น้อยกว่า 300 เมตรยกเว้นแหล่งน้ำที่ตั้งอยู่ ในสถานีฝังกลบ
6) เป็นพื้นที่ซึ่งสภาพธรณีวิทยาหรือลักษณะใต้พื้นดินมั่นคง แข็งแรงพอที่จะรองรับมูลฝอย
7) ควรเป็นพื้นที่ดอน ในกรณีที่เป็นพื้นที่ลุ่มที่มีโอกาสเกิดน้ำท่วมฉับพลัน หรือน้ำป่าไหลหลาก จะต้อง มีมาตรการป้องกันแก้ไข
8) ควรเป็นพื้นที่ซึ่งระดับน้ำใต้ดินอยู่ลึก ในกรณีที่ระดับน้ำใต้ดินอยู่สูงจะต้องมีมาตรการป้องกันแก้ไข
9) ควรเป็นพื้นที่ต่อเนื่องผืนเดียว และมีขนาดเพียงพอ สามารถใช้งานฝังกลบได้ไม่น้อยกว่า 20 ปี
น้ำชะละลายขยะ(leachate) และก๊าซฝังกลบ (landfill gases)
น้ำชะขยะ (leachate)
องค์ประกอบทางเคมีในน้ำชะขยะจะผันแปรไปตามอายุของหลุมฝังกลบขยะและช่วงเวลาของการเก็บตัวอย่าง (ในเฟสต่างๆ ที่เกิดในกระบวนการย่อยสลายเช่นช่วง acid phase หรือ methane phase) ตัวอย่างเช่นอัตราส่วน BOD5/COD เปลี่ยนแปลงตามอายุของหลุมฝังกลบขยะ ในหลุมฝังกลบขยะที่ฝังใหม่ BOD5/COD มีค่า 0.4-0.6 ในขณะที่หลุมฝังกลบขยะเก่า (mature landfill) BOD5/COD มีค่าอยู่ในช่วง 0.05-0.8
ภาพที่ 7-4 ระบบการเก็บรวบรวมน้ำชะล้างขยะ
ที่มา: Tchobanoglous et al. (1993)
ปัจจัยที่มีผลต่อปริมาณน้ำชะขยะเกิดขึ้น ได้แก่
- ปริมาณน้ำฝนที่ซึมผ่านวัสดุกลบผิวหน้าดิน
- ปริมาณความชื้นในขยะซึ่งจะแตกต่างไปตามฤดูกาล
- ปริมาณความชื้นในวัสดุกลบผิวหน้าขยะ โดยผันแปรไปตามชนิดและแหล่งกำเนิดของวัสดุกลบผิวหน้า และฤดูกาล ซึ่งอาจคำนวณได้จากค่าความจุสนาม (field capacity, FC)
ก๊าซฝังกลบ
ก๊าซฝังกลบที่เกิดจากการย่อยสลายของสารประกอบอินทรีย์จะเคลื่อนที่ผ่านชั้นของขยะมูลลอยตัวไปสู่บรรยากาศโดย การแพร่ผ่านของโมเลกุล (molecular effusion) การแพร่ (diffusion) และ การพา (convection)
1) การแพร่ผ่านของโมเลกุล (molecular effusion) เกิดขึ้นบริเวณผิวหน้าของหลุมฝังกลบขยะที่สัมผัสกับอากาศ เมื่อบดอัดขยะแล้วแต่ยังไม่กลบผิวหน้าขยะ ก๊าซที่ผิวหน้าขยะจะถูกปลดปล่อยสู่บรรยากาศ
2) การแพร่ (diffusion) เกิดเมื่อความเข้มข้นของก๊าซในพื้นที่ฝังกลบแตกต่างกัน ก๊าซในพื้นที่ที่มีความเข้มข้นสูง (ในกองขยะที่บดอัดแล้ว) จะเคลื่อนที่ไปยังพื้นที่ที่ความเข้มข้นของก๊าซต่ำกว่า (ในบรรยากาศ) อีกทั้งการเคลื่อนที่ของลมส่งเสริมให้ความเข้มข้นของก๊าซในพื้นที่ฝังกลบ และที่ผิวหน้ามีความแตกต่างมากขึ้น
3) การพา (convection) เกิดขึ้นเมื่อความดันอากาศในหลุมฝังกลบและบรรยากาศแตกต่างกันก๊าซฝังกลบจะเคลื่อนที่จากพื้นที่ที่มีความดันสูงกว่าไปยังบริเวณที่มีความดันต่ำกว่า
ภาพที่ 7-5 การติดตั้งระบบรวบรวมก๊าซฝังกลบ ที่มา: Tchobanoglous et al. (1993)
ปัจจัยที่มีผลต่อการย่อยสลายขยะในพื้นที่ฝังกลบ
(1) สภาพพื้นที่
(2) สมบัติของขยะ
(3) ปริมาณความชื้นในขยะ
(4) อุณหภูมิ
(5) ความเป็นกรด-เบส
(6) อายุของพื้นที่ฝังกลบ
ตารางแสดงสรุปข้อเปรียบเทยบวิธีการกำจัดขยะมูลฝอยี
วิธีการกำจัดมูลฝอย
ข้อพิจารณา
การเผา
การหมักปุ๋ย
การฝังกลบ
1. ด้านเทคนิค 1.1 ความยากง่ายในการดำเนินการและซ่อมบำรุง
- ใช้เทคโนโลยีค่อนข้างสูงการเดินเครื่องยุ่งยาก
- ใช้เทคโนโลยีสูงพอควร
> - ใช้เทคโนโลยีไม่สูงนัก
- เจ้าหน้าที่ควบคุมต้องมีความชำนาญสูง
- เจ้าหน้าที่ควบคุมต้องมีระดับความรู้สูงพอควร
- เจ้าหน้าที่ควบคุมระดับความรู้ธรรมดา
1.2. ประสิทธิภาพในการกำจัด - ปริมาณมูลฝอยที่กำจัดได้
- ลดปริมาตรได้ 60 - 65% ที่เหลือต้องนำไปฝังกลบ
- ลดปริมาตรได้ 30 - 35% ที่เหลือต้องนำไปฝังกลบหรือเผา
- สามารถกำจัดได้ 100%
- ความสามารถในการฆ่าเชื้อโรค
- กำจัดได้ 100 %
- กำจัดได้ 70 %
- กำจัดได้เพียงเล็กน้อย
1.3. ความยืดหยุ่นของระบบ - ต่ำหากเกิดปัญหาเครื่องจักรกลชำรุดไม่สามารถปฏิบัติการได้
- ต่ำหากเครื่องจักรกลชำรุดไม่สามารถปฏิบัติการได้
- สูงแม้ว่าเครื่องจักรกลจะชำรุดยังสามารถกำจัดหรือรอการกำจัดได้
1.4. ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
- น้ำผิวดิน
- ไม่มี
- อาจมีได้
- มีความเป็นไปได้สูง
- น้ำใต้ดิน
- ไม่มี
- อาจมีได้
- มีความเป็นไปได้สูง
- อากาศ
- มี
- ไม่มี
- อาจมีได้
- กลิ่น แมลง พาหนะนำโรค
- ไม่มี
- อาจมีได้
- มี
1.5. ลักษณะสมบัติของมูลฝอย - ต้องเป็นสารที่เผาไหม้ได้มีค่าความร้อนไม่ต่ำกว่า 4.500 kl/kg และความชื้นไม่มากกว่า 40% - ต้องเป็นสารที่ย่อยสลายได้มีความชื้น 50 - 70% - รับมูลฝอยได้เกือบทุกประเภท ยกเว้นมูลฝอยติดเชื้อ หรือสารพิษ
1.6. ขนาดที่ดิน - ใช้เนื้อที่น้อย - ใช้เนื้อที่ปานกลาง - ใช้เนื้อที่มาก
2. ด้านเศรษฐกิจ
 2.1 เงินลงทุนในการก่อสร้าง
ข้อด้อย - สูงมาก
ข้อด้อย - ค่อนข้างสูง
ข้อดี - ค่อนข้างต่ำ
2.2. ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการและซ่อมบำรุง - สูง - ค่อนข้างสูง - ค่อนข้างต่ำ
2. 3 ผลพลอยได้จากการกำจัด - ได้พลังงานความร้อนจากการเผา - ปุ๋ยอินทรีย์จากการหมักและพวกโลหะที่แยกก่อนหมัก - ได้ก๊าซมีเทนเป็นเชื้อเพลิง - ปรับพื้นที่เป็นสวนสาธารณะ
ที่มา : กรมควบคุมมลพิษ (2536) "การศึกษาเปรียบเทียบความเหมาะสมของวิธีการกำจัดมูลฝอย"

1 ความคิดเห็น:

  1. pg slot แจ็คพอตแตกบ่อย ที่ pg slot แจ็คพอตแตกบ่อย จาก PG-SLOT.GAME ที่กำลังเป็นที่นิยมในหมู่นักพนันออนไลน์สุด ๆ กับความปลอดภัย 100 % มีให้บริการมากยิ่งกว่า 1,000 เกม สมัครสมาชิกวันนี้รับโบนัสทันที!

    ตอบลบ