การจัดลำดับความสำคัญของปัญหา องค์การอนามัยโลกใช้ 4 องค์ประกอบ สำหรับพิจารณา
1.เทคโนโลยีในการแก้ปัญหา : ได้แก่ มีวิธีการที่ได้ผลในการลดปัญหา, บุคคล และเงินพร้อมที่จะนำไปใช้หรือไม่, ผู้ปฏิบัติทั่วไปใช้เป็นเพียงใด, แก้ปัญหาได้หลายด้านหรือไม่
2.ขนาดของปัญหา :ได้แก่ความชุกของการป่วยตาย,ความรุนแรงของโรค,การแพร่กระจาย,การขาดแคลนผู้บริการ
3.การยอมรับของสังคม :ได้แก่ ความสำคัญต่อพื้นที่และการยอมรับของชุมชน,ผลกระทบติอกลุ่มคน,ปัญหาของกลุ่มและพื้นที่
4.ความเป็นไปได้ในการสนับสนุน และความสนใจของหัวหน้า :ได้แก่ ความสอดคล้องกับแผนและนโยบายของประเทศและพื้นที่ ความเป็นไปได้ในการสนับสนุน
กำหนดปัญหาที่ต้องแก้ไข | ||
ประเด็นที่ต้องทำ | รายละเอียดของงาน | สิ่งที่คาดว่าจะเกิด |
1.การทบทวนข้อมูล | -สำรวจข้อมูลที่บกพร่องหรือขาดหายไปหรือที่ต้องการเพิ่มเติม -กำหนดหัวข้อที่ควรเพิ่มเติมและดำเนินการจัดทำ | -ตารางวิเคราะห์ที่สมบูรณ์ -รายการข้อมูลที่เพิ่มขึ้น |
2.การวิเคราะห์ปัญหา | - วิเคราะห์สาเหตุทั้งทางตรง และทางอ้อมอีกทั้งปัจจัยอื่นๆที่เกี่ยวข้องทั้งหลาย ให้ครอบคลุม และตามสภาพในแต่ละพื้นที่ -เขียนแผนภูมิโยงใยปัญหา(web of causation) - เลือกตัวชี้วัดที่จำเป็นและสำคัญ | -แผนภูมิโยงใยปัญหา(web of causation) - ข้อมูลเพิ่มเติม |
3. รูปแบบการเก็บรวบรวมข้อมูลภาคสนาม / เพิ่มเติม | - พิจารณาแหล่งข้อมูล ทั้งที่มีอยู่เดิม และจะเก็บเพิ่มเติม - ออกแบบเครื่องมือ เช่น แบบสำรวจ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ รวมทั้ง ออกแบบตารางนำเสนอข้อมูลนั้นๆ (Dummy Table) | - ตารางแหล่งข้อมูล - เครื่องมือเก็บข้อมูล - ตารางนำเสนอข้อมูล (Dummy Table) |
4. การกำหนดปัญหา และขอบเขตของปัญหา | - เขียนสรุปปัญหาให้ชัดเจน ในเชิงพรรณนา และเชิงปริมาณ | - ตารางข้อมูลปัญหา - แผนภูมิปัญหาขั้นสุดท้าย - สรุปปัญหา สาเหตุ และปัจจัยที่เกี่ยวข้อง |
5. การแจกแจงแนวคิด และกลวิธีแก้ปัญหา | - ทบทวนแผนภูมปัญหา เลือกตัวแปรที่เป็นสาเหตุสำคัญของปัญหาโดยพิจารณาตัวแปรที่มีความเป็นไปได้ในการแก้ปัญหา - รวบรวมแนวคิด กลวิธีการแก้ปัญหา ว่าจะทำอะไร เพื่อแก้ปัญหา แล้วนำมาเรียงลำดับกลวิธี โดยใช้หลักการดังนี้ -เป็นวิธีลดปัญหาที่เกิดขึ้นได้ -ตอบสนองต่อนโยบาย -ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน -เป็นกลวิธีที่สามารถดำเนินการได้ ในเวลาที่กำหนด และงบประมาณที่มีอยู่ -เป็นแนวทางใหม่ที่ต่างจากทางปฏิบัติเป็นประจำ | -แนวคิดกลวิธีการแก้ปัญหา |
ประเด็นที่ต้องทำ | รายละเอียดของงาน | สิ่งที่คาดว่าจะเกิด |
6. การกำหนดวัตถุประสงค์ และเป้าหมาย | - ทบทวนนโยบายที่เกี่ยวข้องกับปัญหา - เลือกตัวชี้วัดปัญหาที่เหมาะสม กำหนดระดับปัญหาที่สอดคล้องกับนโยบาย และข้อมูล และวางแผนระยะยาวเพื่อแก้ปัญหาอย่างต่อเนื่อง หรือเป็นระยะ - พิจารณากลวิธี หรือการให้บริการเร่งด่วน ที่มีประสิทธิผล เพื่อกำหนดเป้าต่างๆ | -วัตถุประสงค์และเป้าหมาย |
7. การกำหนดแนวทาง / กิจกรรมการแก้ปัญหา | -กำหนดกิจกรรมที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์แต่ละข้อ -กำหนดผู้รับผิดชอบแต่ละกิจกรรม | -แนวทางแก้ปัญหา/กิจกรรม -ผู้รับผิดชอบแต่ละกิจกรรม |
8.การประเมินผล | - คัดเลือกตัวชี้วัดที่มีความเหมาะสมกับกิจกรรม/ การแก้ปัญหา - ให้ความหมายตัวชี้วัด - กำหนดเวลา และวิธีการประเมินผล | -รูปแบบการประเมินผล -ความสำเร็จของงาน |
9.การเตรียมโครงการแก้ปัญหา | -เขียนโครงการอย่างละเอียดจากสรุปหัวข้อต่างๆ(หลักการ-วิธีการประเมิน) -นำเสนอโครงการ | -ผลงาน |
ข้อควรพิจารณาเพิ่มเติม
โดยทั่วไปการจัดลำดับความสำคัญของปัญหาข้อควรคำนึงเสมอในการจัดลำดับความสำคัญของปัญหาสาธารณสุข คือ ปัญหาสำหรับใคร และต้องพิจารณาองค์ประกอบอื่น ได้แก่ ผู้ป่วย ครอบครัว ชุมชน และการบริการสาธารณสุขด้วยทุกครั้งก่อนตัดสินใจวางแผนแก้ปัญหาซึ่งสำรวจและจัดลำดับความสำคัญแล้ว เช่น กรณีจัดลำดับแล้วปัญหานั้นขาดความสนใจหรือร่วมมือจากชุมชน ทำให้ดำเนินโครงการได้ยากก็อาจต้องมีการจูงใจหรือให้ความรู้ต่อชุมชนเพิ่มเติมว่า ทำไมเป็นปัญหาและต้องรับการแก้ไข หรืออาจเปลี่ยนไปเลือกปัญหาที่ลำดับความสำคัญรองลงมาต่อไป
1. ขนาดของปัญหา ได้แก่
1. อุบัติการณ์ (Incidence) จำนวนผู้ป่วยใหม่ที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาหนึ่ง
2. ความชุก (Prevalence) จำนวนผู้ป่วยใหม่และเก่าที่จุดเวลาหนึ่ง
3. อัตราป่วย (Morbidity rate) และผลที่เกิดต่อปัญหาอื่น
2. ความรุนแรงหรือผลกระทบของปัญหา ได้แก่
1. อัตราตาย (Mortality rate)
2. ความพิการ (Disability)
3.ความยากง่ายในการแก้ไขปัญหา ได้แก่
1. รักษาได้ (Treatability)
2. ป้องกันได้ (Preventability)
4.ค่าใช้จ่ายหรือการสูญเสียทางเศรษฐกิจ ได้แก่
1. การสูญเสียความสามารถในการทำงานหรือผลิต (Productivity loss)
2. ค่าใช้จ่ายจากความเจ็บป่วย (Cost incurred from illness)
3. ทรัพยากรและเทคโนโลยีที่ใช้ดำเนินการแก้ปัญหา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น