โครงการสุขาภิบาลอาหารตัวอย่าง
โครงการสุขาภิบาลอาหาร เพื่อส่งเสริมให้ผู้ประกอบการด้านอาหาร มีความตระหนักในการรักษาคุณภาพของอาหาร ทั้งด้านความสะอาด ความปลอดภัย รสชาติ และคุณค่าทางสารอาหาร โดยมีดำเนินกิจกรรมต่างๆ ดังนี้
• การตรวจสอบสารปนเปื้อนในอาหาร โดยเจ้าหน้าที่ทำการเก็บตัวอย่างอาหารจากทุกแผงในตลาดสด และตลาดนัด แล้วนำมาวิเคราะห์สารปนเปื้อน ได้แก่ สารบอแรกซ์, สารกันรา, ฟอร์มาลีน, สารฆ่าแมลง และสารฟอกขาว ซึ่งเมื่อตรวจพบสารใดสารหนึ่ง จะทำการเก็บอาหารดังกล่าวทันที แต่เมื่อทำการตรวจครบ 3 ครั้งและไม่พบสารดังกล่าว ก็ดำเนินการประสานกับร้านเพื่อมอบป้ายร้านอาหารปลอดภัยให้แก่แผงค้านั้นๆ
• การตรวจวิเคราะห์หาปริมาณแบคทีเรียในอาหารปรุงสำเร็จ โดยเจ้าหน้าที่จะทำการเก็บตัวอย่างอาหารที่ปรุงสำเร็จแล้ว รวมทั้ง น้ำดื่ม น้ำแข็ง และภาชนะบรรจุ นอกจากนี้ยังทำการเก็บตัวอย่างจากมือของผุ้สัมผัสอาหารในร้านอาหารและร้านค้า โดยเมื่อตรวจไม่พบแบคทีเรียในปริมาณที่ไม่เกินมาตรฐาน จะมอบป้ายอาหารสะอาด รสชาติอร่อย หรือ Clean Food Good taste ให้แก่ร้านดังกล่าว
• การอบรมผู้ประกอบการร้านอาหาร โดยเน้นการให้ความรู้แก่ผู้ที่สัมผัสโดยตรงกับอาหาร ซึ่งต้องดำเนินการเป็นประจำทุกปี ผู้ผ่านการอบรมจะได้รับบัตรประจำตัว เพื่อสร้างความมั่นใจแก่ผู้บริโภค
• การป้องกันการแพร่กระจายโรคในอาหาร โดยได้ทำการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์และแมลงนำโรค เช่น หนุ แมลงสาบ แมลงวัน เป็นต้น และทำการประชาสัมพันธ์ให้เจ้าของตลาดและผู้ประกอบการ เพื่อขอความร่วมมือในการทำความสะอาด เพื่อตัดวงจรของพาหะนำโรค โดยมีกิจกรรมล้างตลาดย่อยในทุกสัปดาห์ ดำเนินการโดยกลุ่มผู้ประกอบการ ส่วนการล้างตลาดใหญ่โดยประสานงานหน่วยงานระดับเทศบาล หรืออบต.ร่วมดำเนินการกับผู้ประกอบการ
กิจกรรมทั้งหมดข้างต้น เป็นเพียงส่วนหนึ่งของหลายกิจกรรม เพื่อให้ประชาชนมีความปลอดภัยในการบริโภคอาหาร
โครงการรณรงค์บริโภคอาหารตามธงโภชนาการ
ตัวอย่างโครงการที่ 1
โครงการสุขาภิบาลอาหาร
เหตุผล
ปัจจุบันการบริโภคอาหารของประชาชนมีความเสี่ยงจาการปนเปื้อนในอาหาร ทั้งจากสารพิษตกค้าง เชื้อโรค และสิ่งแปลกปลอมต่าง ๆ รวมทั้งจากสภาพปัญหาการสุขาภิบาล การขาดจิตสำนึกด้านสุขอนามัย ซึ่งก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพของผู้บริโภคทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ร้านอาหารและแผงลอยถือเป็นแหล่งบริโภคที่สำคัญ ที่จำเป็นต้องปรับปรุงให้ได้มาตรฐานทั้งด้านสุขาภิบาล คุณภาพอาหาร และความปลอดภัย ให้ปราศจากสารปนเปื้อนที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ และถูกสุขลักษณะ (ระบุชื่อหน่วยงานเจ้าของโครงการ) จึงได้จัดทำโครงการสุขาภิบาลอาหารขึ้น เพื่อการเฝ้าระวังคุณภาพอาหารให้ได้มาตรฐาน ทั้งด้านสุขาภิบาล คุณภาพอาหาร และความปลอดภัยในอาหาร และเพื่อยกระดับให้ได้มาตรฐาน “อาหารสะอาด รสชาติอร่อย”
ขั้นตอนและกระบวนการดำเนินโครงการ
1. สำรวจข้อมูล
2. เขียนโครงการ เสนอโครงการเพื่อขออนุมัติ
3. ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
3.1 หน่วยงานระดับอำเภอ จังหวัด
3.2 หน่วยงานระดับอำเภอ ตำบล
4. ดำเนินการตามโครงการ
- อบรมให้ความรู้ ในวันเดือนปี เวลา xx.xx– xx.xxน.
- ติดตามตรวจประเมินร้านอาหารและแผงลอย ทุก x เดือน
- จัดประกวดร้านอาหารและแผงลอยดีเด่น ประจำปี xxxx
- มอบประกาศนียบัตรร้านอาหารและแผงลอยดีเด่น ประจำปี xxxx
งบประมาณในการดำเนินโครงการ
งบประมาณรายจ่าย ประจำปี xxxx แผนงบประมาณ
เพื่อจ่ายเป็นค่า
1. ค่าวัสดุในการดำเนินการ เป็นเงิน xxx บาท
2. ค่ารางวัล ประกวดร้านอาหารและแผงลอยดีเด่น จำนวน xx รางวัล
เป็นเงิน xxxx บาท
3. ค่าอาหารกลางวัน สำหรับผู้เข้ารับอบรม ผู้ดำเนินการ และวิทยากร จำนวน xx คน
เป็นเงิน xxxxบาท
4. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม สำหรับผู้เข้าอบรม ผู้ดำเนินการ และวิทยากร
จำนวน xx คน จำนวน x มื้อ เป็นเงิน xxx บาท
5. ค่าวิทยากร x คน เป็นเงิน xxxx บาท
6. ค่าตอบแทนกรรมการตรวจประเมิน x คน จำนวน x วัน เป็นเงิน xxxx บาท
รวมเป็นเงิน xxxxx บาท (xxxxxxxxxxxxxxx)ทุกรายการถัวเฉลี่ยได้
ผลลัพธ์ และ / หรือบทเรียนที่ได้รับจาการดำเนินโครงการ (ทั้งด้านบวกและด้านลบ)
ด้านบวก
- ร้านอาหารและแผงลอยได้มาตรฐานมากขึ้น
ด้านลบ
- เจ้าของร้านอาหารและแผงลอยบางส่วนไม่ให้ความร่วมมือในการปรับปรุงแก้ไข
โครงการใส่ใจบริโภคอาหารปลอดภัยโครงการตัวอย่าง 2
โครงการรณรงค์“คนรักสุขภาพ ไม่กินหวาน”
1.หลักการและเหตุผล
ปัจจุบันประชาชนมีพฤติกรรมการบริโภคที่เปลี่ยนไป โดยหันมานิยมการบริโภคอาหารสำเร็จรูป อาหารหวาน มัน และเค็ม ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในขนมขบเคี้ยว น้ำอัดลม และเครื่องดื่มประเภทชา กาแฟ และน้ำผลไม้ที่เติมน้ำตาลเพิ่มขึ้น ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพจากการกินอาหารดังกล่าว ส่งผลให้เกิดโรคแทรกซ้อนต่างๆตามมาอีกมากมาย
การพยายามสร้างค่านิยมในการกินแบบใหม่ของ(บุคคลกลุ่มเป้าหมาย) ให้ใส่ใจสุขภาพโดยการลดนิสัยการกินหวานๆ ลง การทำงานของเครือข่ายโครงการรณรงค์ใช้แนวคิดด้านการสื่อสารที่หลากหลาย เพื่อทำให้(ชื่อกลุ่มบุคคลเป้าหมาย)เปลี่ยนค่านิยมในการกินได้
2. วัตถุประสงค์
1. เพื่อปลูกฝังนิสัยด้านการรับประทานอาหารที่เอื้อต่อสุขภาพดี
2. เพื่อให้(ชื่อกลุ่มบุคคลเป้าหมาย)ได้รับทราบถึงผลกระทบของการบริโภคหวานเกินความจำเป็น
3. สร้างเครือข่ายเป็นฐานในการร่วมผลักดันนโยบายสาธารณะ
3. กลุ่มเป้าหมาย
1. (ชื่อกลุ่มบุคคลเป้าหมายหลัก)
2. (ชื่อกลุ่มบุคคลเป้าหมายรอง)
4. กลยุทธศาสตร์ในการดำเนินงาน
การดำเนินงานภายใต้โครงการรณรงค์ “คนรักสุขภาพ ไม่กินหวาน”นั้น ถือเป็นอีกหนึ่งโครงการที่ทำการประชาสัมพันธ์เพื่อความให้(ชื่อกลุ่มบุคคลเป้าหมาย)ตระหนักถึงปัญหาสุขภาพ ลดการกินหวานให้น้อยลง และให้พอดีกับความต้องการของร่างกาย โดยใช้กลยุทธ์ดังนี้
1. การใช้สื่อในทุกรูปแบบ ทั้งสื่อวิทยุ รวมทั้งสื่อสิ่งพิมพ์ เพื่อการประชาสัมพันธ์ให้(ชื่อกลุ่มบุคคลเป้าหมาย)ตระหนักถึงความสำคัญของการรักษาสุขภาพ โดยการลดความหวานในอาหารต่อมื้อให้พอดีกับความต้องการของร่างกาย
2. การใช้กิจกรรมต่างๆที่ทำให้(ชื่อกลุ่มบุคคลเป้าหมาย)ได้มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมนั้นๆ เพื่อให้เกิดความรู้และเป็นการสร้างแนวร่วมของโครงการรณรงค์
5. วิธีดำเนินการ
5.1 เขียนโครงการ / ขออนุมัติโครงการ
5.2 ประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อทุกระดับ
5.3 จัดกิจกรรมรณรงค์ “คนรักสุขภาพ ไม่กินหวาน”
กิจกรรม 1. เด็กไทยช่างเลือก การคำนวณ ปริมาณ น้ำตาล ในขนม
2. แจกแผ่นพับ / จัดป้ายนิเทศ / นิทรรศการ เรื่อง ความรู้เกี่ยวกับน้ำตาล
3. ติดสติกเกอร์แท็กทู รูปมด
5.4 จัดเวที เสวนา สื่อมวลชน เรื่อง “ สื่อ กับการรณรงค์ เพื่อ(ชื่อกลุ่มบุคคลเป้าหมาย)ไม่ติดหวาน”
5.5 สนับสนุนสื่อ ผ่าน รายการวิทยุ และเคเบิลทีวี
5.6 ติดตาม ประเมินผล สรุปโครงการ
6. พื้นที่ดำเนินการ
พื้นที่เป้าหมาย
7. ระยะเวลา
8. งบประมาณ
9. การประเมินผล
1. การสังเกต
2. จากแบบสอบถาม
3. สรุปผลการเสวนา
10. ผู้รับผิดชอบโครงการ
11. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
เกิดการสร้างนิสัยการบริโภคที่เอื้อต่อการมีสุขภาพดี รู้เท่าทันขนมหวาน เกิดเครือข่ายในการควบคุมและลดการบริโภคน้ำตาลเกินความจำเป็น ทั้งในครอบครัว และชุมชน ทำให้ประชาชนไม่ติดหวาน ไม่ฟันผุ และไม่เป็นโรคอ้วน มีความแข็งแรง สมบูรณ์ มีสุขภาพดีต่อไป
โครงการตัวอย่าง 3
โครงการเยาวชนรักสุขภาพห่างไกลจากโรคอ้วน
หลักการและเหตุผล
ปัจจุบันเยาวชนมีแนวโน้มที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคอ้วนสูงขึ้น สาเหตุหลักของการที่เยาวชนมีแนวโน้มที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคอ้วนสูงขึ้นนั้น เนื่องจากปัจจุบัน ประเทศไทยรับเอาวัฒนธรรมการบริโภคอาหารแนวตะวันตกมา มีค่านิยมในการเลือกบริโภคอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการต่ำ รวมไปถึงอาหารที่มีไขมัน และโคเรสเตอรอลสูง เป็นต้น
เพื่อให้เยาวชนได้ตระหนักถึงผลกระทบที่ตามมาหากเป็นโรคอ้วน และเกิดการป้องกันมากขึ้น จึงมีความคิดริเริ่มในการทำ โครงการ “เยาวชนรักสุขภาพ ห่างไกลโรคอ้วน”มารองรับโดยโครงการดังกล่าว จะดำเนินการร่วมกับนักเรียน(ชื่อโรงเรียนกลุ่มเป้าหมาย)อย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลา 1 เดือน เพื่อให้นักเรียนที่เข้าร่วมโครงการได้มีโอกาสควบคุมน้ำหนักกับทางโครงการ มีแนวทางในการเลือกบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพมากขึ้น รวมไปถึงสามารถปรับพฤติกรรมในการใช่ชีวิตประจำวันที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคอ้วนได้อีกด้วย
วัตถุประสงค์โครงการ
1. เพื่อให้เยาวชนมีความรู้ ความเข้าใจต่อโรคอ้วน และวิธีการดูแลสุขภาพให้ห่างไกลจากโรคอ้วนเพิ่มขึ้น
2. เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องหันมาให้ความสำคัญ และมีการรณรงค์ เพื่อป้องกันการเกิดโรคอ้วนมากขึ้น
กลุ่มเป้าหมาย
นักเรียนกลุ่มเป้าหมาย ที่สมัครใจเข้าร่วมโครงการ และมีน้ำหนักตัวเกินเกณฑ์มาตรฐานของทางกระทรวงสาธารณสุขกำหนดจำนวน xx คน
ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
1. มีนักเรียนเข้าร่วมโครงการตามเป้าหมายที่กำหนดไว้
2. นักเรียนที่เข้าร่วมโครงการสามารถควบคุมน้ำหนักได้
3. นักเรียนที่เข้าร่วมโครงการ มีความพึงพอใจต่อโครงการอยู่ในระดับมาก
4. โครงการได้รับความร่วมมือ จาก(ชื่อองค์กร หน่วยงาน)
จัดตั้งคณะทำงาน โดยแบ่งหน้าที่ให้ชัดเจน
จัดตั้งคณะทำงาน โดยแบ่งหน้าที่ให้ชัดเจน
รวบรวมข้อมูลจากเอกสาร และงานวิจัย ที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพของเยาวชน และโรคอ้วน
จัดทำแผนการดำเนินการโครงการ กำหนดงบประมาณ
ดำเนินการเขียนโครงการ เพื่อขออนุมัติงบประมาณ
เสนอโครงการต่อ(ผู้มีอำนาจอนุมัติ)และรอการอนุมัติ
ติดต่อ และประสานงานกับ(หน่วยงานระดับที่สูงขึ้น)เพื่อขอความร่วมมือในการจัดหาวิทยากร หรือผู้เชี่ยวชาญ
ด้านโรคอ้วน มาบรรยาย
ติดต่อ และประสานงานกับชมรมแอโรบิค ในการจัดกิจกรรมเต้นแอโรบิค ให้กับนักเรียนที่เข้าร่วมโครงการ
ติดต่อ และประสานงานกับทางโรงเรียน เพื่อขอความร่วมมือในการจัดกิจกรรม
นักเรียนที่เข้าร่วมโครงการ เข้ารับฟังการบรรยาย ตรวจสุขภาพโดยเจ้าหน้าที่ และรับเมนูอาหารสำหรับการควบคุมน้ำหนัก ประกอบการรับฟังการบรรยาย และตอบแบบสอบถามเพื่อวัดความรู้ ความเข้าใจเรื่องโรคอ้วนก่อนและหลังการอบรม 1 ชั่วโมง(xx.xxน. – xx.xxน.)
|
ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ
ตอบลบ