ทบทวนอนามัยสิ่งแวดล้อม

วันพฤหัสบดีที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2553

ความรู้พื้นฐานด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม



เอกสารประกอบการสอนวิชา
อนามัยสิ่งแวดล้อม1


โดย

















นายดำรงค์ศักดิ์  สอนแจ้ง
วิทยาจารชำนาญการพิเศษ


ภาควิชาสาธารณสุขชุมชน
วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธรจ.ชลบุรี
ปีการศึกษา 2553


สารบัญ
                                                                                                                                                                หน้า
บทที่ 1    ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับอนามัยสิ่งแวดล้อม
ตอนที่ 1.1              นิยามและความหมาย
ตอนที่ 1.2              การจำแนกสิ่งแวดล้อม
ตอนที่ 1.3              ขอบเขตของงานอนามัยสิ่งแวดล้อม
บทที่ 2                    การจัดการน้ำสะอาด
ตอนที่ 2.1              ความสำคัญของน้ำ วัฏจักรของน้ำและแหล่งน้ำ
ตอนที่ 2.2              ปริมาณความต้องการน้ำ การสูญเสียน้ำและคุณลักษณะของน้ำ
ตอนที่ 2.3              การผลิตน้ำสะอาดเพื่อการอุปโภคบริโภค
ตอนที่ 2.4              วิธีการและขั้นตอนการผลิตน้ำประปา
บทที่ 3                    การบำบัดน้ำเสีย
ตอนที่ 3.1              นิยามและความหมาย
ตอนที่ 3.2              ความจำเป็นที่จะต้องมีการบำบัดน้ำเสีย
ตอนที่ 3.3              แหล่งกำเนิดน้ำเสีย
ตอนที่ 3.4              ลักษณะของน้ำเสีย
ตอนที่ 3.5              ทฤษฎีพื้นฐานการบำบัดน้ำเสีย
ตอนที่ 3.6              การบำบัดน้ำเสีย (Waste Water Treatment)
บทที่      4               การจัดการมูลฝอย
ตอนที่ 4.1              ความหมายและความจำเป็นในการจัดการมูลฝอย
ตอนที่ 4.2              แหล่งกำเนิด ประเภทหรือชนิดและปริมาณมูลฝอย
ตอนที่ 4.3              การกำจัดมูลฝอย
ตอนที่ 4.4              ประเภทของขยะมูลฝอย
ตอนที่ 4.5              การกำจัดมูลฝอย
ตอนที่ 4.6              หลักการที่ใช้ในการพิจารณาเลือกวิธีการกำจัดขยะมูลฝอย
บทที่ 5                    การกำจัดสิ่งขับถ่ายและสิ่งปฏิกูล
ตอนที่ 5.1              นิยามและความหมาย
ตอนที่ 5.2           หลักการกำจัดสิ่งขับถ่าย
บทที่ 6                    การสุขาภิบาลอาหาร
ตอนที่ 6.1              นิยามและความหมาย
ตอนที่ 6.2              ความสำคัญของอาหารและการสุขาภิบาลอาหาร
ตอนที่ 6.3              หลักเกณฑ์พื้นฐานของงานสุขาภิบาลอาหาร
บทที่ 7                    การควบคุมความร้อน แสง เสียง ความสั่นสะเทือน และ กัมมันตภาพรังสี
ตอนที่ 7.1              ความร้อน (Heat)
ตอนที่ 7.2              แสง (Lighting)
ตอนที่ 7.3              เสียง (noise)
ตอนที่ 7.4              ความสั่นสะเทือน (Vibration)
ตอนที่ 7.5              กัมมันตภาพรังสี (Ionizing Radiation)

























บทที่ 1
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับอนามัยสิ่งแวดล้อม
ตอนที่ 1.1 นิยามและความหมาย
สิ่งแวดล้อม หมายความถึง สิ่งที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติและที่มนุษย์สร้างขึ้นอยู่รอบ ๆ ตัวเรา ( มนุษย์ สัตว์หรือสิ่งที่กล่าวถึงและทั้งที่มีลักษณะทางกายภาพที่เห็นได้และไม่สามารถจะเห็นได้ )
อนามัย ตามความหมายจากพจนานุกรมฉบับเฉลิมพระเกียรติ พ . .2530 คือ ความไม่มีโรค ถูกหลักสุขภาพหรือมีสุขภาพดี ซึ่งคำว่า สุขภาพ หมายถึง ความสุขปราศจากโรค ความสบาย
โรค หรือ ความไม่สบาย คือภาวะผิดปกติที่เกิดขึ้นในร่างกาย เนื่องจากเกิดการทำงานผิดปกติในองค์ประกอบของร่างกาย ทำให้เกิดความรู้สึกว่าไม่สบายหรือแสดงอาการว่า ไม่สบายออกมาให้เห็น เช่น รู้สึกหนาวร้อน เป็นไข้ หรือแสดงอาการสั่น ไอ หรือ ชัก เป็นต้น ซึ่งความรู้สึกและอาการผิดปกตินี้จะไม่มีในคนปกติธรรมดาที่สบายดีหรือไม่มีโรค
การสุขาภิบาล ,การสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม ,อนามัยสิ่งแวดล้อม สุขาภิบาล มาจากคำว่า สุข + อภิบาลซึ่ง สุข นั้นมีความหมายว่า สบาย อภิบาลมีความหมายว่า บำรุงรักษา สุขาภิบาลหมายถึงการระวังรักษา เพื่อความสุขปราศจากโรค
การสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม หรืองานอนามัยสิ่งแวดล้อม หมายถึง การควบคุมปัจจัยสิ่งแวดล้อมทางกายภาพทั้งหมดของมนุษย์ที่กระทำ หรืออาจกระทำให้เกิดผลเสียต่อการพัฒนาการทางด้านสุขภาพร่างกายและการมีชีวิตอยู่รอดของมนุษย์
อนามัยสิ่งแวดล้อม สภาวะความสมบูรณ์แข็งแรงทางร่างกายและจิตใจ รวมถึงการดำรงชีวิตอยู่ในสังคมด้วยดี อนามัยมิได้ หมายถึง แต่เพียงปราศจากโรคเท่านั้น
สิ่งแวดล้อม หมายถึง สิ่งต่าง ๆ ที่อยู่รอบตัวมนุษย์ ซึ่งมีทั้งสิ่งมีชีวิตและสิ่งที่ไม่มีชีวิต ทั้งที่เป็นรูปธรรมซึ่งจับต้องได้มองเห็นได้ อาจแบ่งได้เป็น สิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้น ตามธรรมชาติ เช่น ดิน น้ำ อากาศ แร่ธาตุรวมถึง มนุษย์ด้วยกัน สัตว์ ต้นไม้ ฯลฯ และ สิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้น เช่น อาคารบ้านเรือน ยานพาหนะ  ตลอดจนสิ่งแวดล้อมที่เป็นนามธรรม เช่น วัฒนธรรมประเพณี สิ่งแวดล้อมทางสังคมการเมือง ฯลฯ ดังนั้น
อนามัยสิ่งแวดล้อม จึงหมายถึง ความสัมพันธ์ระหว่างสุขภาพอนามัยของมนุษย์กับสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบตัวมนุษย์ ฉะนั้นสุขภาพอนามัยของมนุษย์ก็ย่อมได้รับผลจากคุณภาพของสิ่งแวดล้อม ถ้าสิ่งแวดล้อมมีสภาพเสื่อมโทรมเกิดเป็นมลพิษขึ้น
ตอนที่ 1.2 การจำแนกสิ่งแวดล้อม
ในการจำแนกสิ่งแวดล้อมสามารถแบ่งได้หลายจำพวกขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการแบ่ง ดังนี้
จำแนกตามองค์ประกอบของสิ่งแวดล้อมเป็น 4 ลักษณะ
1. สิ่งแวดล้อมทางด้านกายภาพ (Physical Environment)
2. สิ่งแวดล้อมทางด้านเคมี (Chemical Environment)
3. สิ่งแวดล้อมทางด้านชีวภาพ (Biological Environment) หมายถึง คุณลักษณะสิ่งแวดล้อมที่มีองค์ประกอบของสิ่งมีชีวิต เช่น จุลินทรีย์ พืช และสัตว์ รวมถึงมนุษย์ด้วย ซึ่งมนุษย์มีบทบาทที่สำคัญทั้งในการช่วยค้ำจุน และในการทำลายสิ่งแวดล้อมด้วยกันเอง
4. สิ่งแวดล้อมทางด้านสังคม ( Social Environment ) หมายถึงสิ่งแวดล้อมที่มีความเกี่ยวข้องกับความ
เป็นอยู่ของมนุษย์ ในด้านการใช้ชีวิตในสังคม รวมถึงพฤติกรรม จารีตประเพณี วัฒนธรรมที่ถือปฏิบัติกันมา
ช้านาน เช่น ประเพณีทางศาสนา เป็นต้น
สิ่งแวดล้อมแบ่งเป็นลักษณะตามแหล่งกำเนิดได้ 2 ลักษณะ
1. สิ่งแวดล้อมที่เกิดตามธรรมชาติ ( Natural Environments ) หมายถึง สิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติ เช่น ดิน น้ำ อากาศ จุลินทรีย์ พืช และสัตว์ เป็นต้น
2. สิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้น ( Man-made Environments ) หมายถึงสิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้นเช่น อาหาร ที่อยู่อาศัย ยารักษาโรค อุปกรณ์อำนวยความสะดวกต่าง ๆ เครื่องจักร เครื่องยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า เป็นต้น
สิ่งแวดล้อมแบ่งตามการมีชีวิตได้ 2 ลักษณะ
1. สิ่งแวดล้อมมีชีวิต (Biotic Environments) หมายถึง สิ่งแวดล้อมเป็นสิ่งมีชีวิต เช่น จุลินทรีย์ พืช และสัตว์ รวมถึงมนุษย์ด้วย
2. สิ่งแวดล้อมที่ไม่มีชีวิต ( Abiotic Environments ) หมายถึงสิ่งแวดล้อมที่ไม่มีคุณสมบัติของสิ่งมีชีวิตซึ่งอาจเกิดขึ้นโดยธรรมชาติหรือมนุษย์สร้างขึ้น เช่น อากาศ น้ำ แสงสว่าง เครื่องจักร เครื่องยนต์ เครื่องอุปโภคบริโภค เป็นต้น
ตอนที่ 1.3 ขอบเขตของงานอนามัยสิ่งแวดล้อม

งานอนามัยสิ่งแวดล้อมเป็นงานที่มุ่งจะรักษาคุณภาพของสิ่งแวดล้อมให้มีคุณภาพที่เหมาะสมเกื้อกูลต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์เป็นงานที่ป้องกันมิให้โรคหรือพิษภัยเข้าสู่มนุษย์ไม่ว่าจะเป็นเชื้อโรคหรือสารที่เป็นพิษ
องค์การอนามัยโลกได้กำหนดขอบเขตของงานอนามัยสิ่งแวดล้อม ดังนี้ คือ
1.การจัดหาน้ำสะอาด น้ำประปา
2. การควบคุมมลพิษทางน้ำ การควบคุมมลพิษทางน้ำนี้ หมายถึง การที่ต้องป้องกันควบคุมรักษาแหล่งน้ำต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น ห้วย หนอง คลองบึง แม่น้ำต่าง ๆ ตลอดจนน้ำใต้ดิน ไม่ให้คุณภาพเสื่อมโทรมลงจนเกิดเป็นมลพิษ และเกิดผลเสียต่อสุขภาพอนามัยของมนุษย์
3. การจัดการเกี่ยวกับขยะมูลฝอยและของเสียที่มีลักษณะเป็นของแข็ง การจัดการนี้รวมถึงการเก็บ การขนถ่ายและการกำจัดที่ถูกหลักสุขาภิบาล ของเสียในลักษณะดังกล่าวข้างต้น เพราะเป็นแหล่งเพาะเชื้อโรคและพาหะนำโรค
4. การควบคุมสัตว์อาร์โทรพอดและสัตว์แทะ สัตว์อาร์โทรพอดและสัตว์แทะ ต่างเป็นพาหะนำโรคร้ายแรงหลายอย่างมาสู่คน และยังเป็นต้นเหตุทำให้เกิดเหตุรำคาญและทำลาย ทรัพย์สิน โรคสำคัญ ๆ ที่เห็นได้ชัด เช่น อหิวาห์ตกโรค ไข้มาลาเรีย เป็นต้น
5. มลพิษของดิน มักจะเกิดขึ้นจากการทิ้งสิ่งสกปรกต่างๆ ลงสู่พื้นดิน ไม่ว่าจะเป็นในลักษณะของขยะมูลฝอย สิ่งปฏิกูล น้ำเน่าเสียของทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรม ทำให้เกิดความสกปรกบนพื้นดิน และเมื่อความสกปรกมีมากขึ้น ก็กลายเป็นมลพิษของดินทำให้เกิดผลเสียต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ เกิดโรคภัยไข้เจ็บ
6. การสุขาภิบาลอาหาร เชื้อโรคต่าง ๆ และสารพิษหลาย ๆ อย่างสามารถที่จะเข้าสู่ร่างกายมนุษย์ได้โดยทางอาหาร การสุขาภิบาลอาหารจึงมีความจำเป็นในหลาย ๆ ส่วน เช่น สิ่งที่จะใช้ปรุงอาหาร การปรุงอาหาร การเก็บรักษา ผู้สัมผัสอาหารและอื่น ๆ และที่สำคัญอย่างยิ่งอีกประการหนึ่ง คือ การให้ความรู้ต่อผู้บริโภคอีกด้วย
7. การควบคุมมลพิษทางอากาศ เพื่อเป็นการป้องกันและควบคุมไม่ให้มีสิ่งแปลกปลอมเข้าสู่อากาศในปริมาณมากจนก่อให้เกิดเป็นพิษภัยต่อมนุษย์ สัตว์พืช
8. การป้องกันอันตรายจากรังสี ได้มีการใช้รังสีอย่างมากมายเพื่อใช้ประโยชน์ในการพัฒนาทุกทางเช่นทางการเกษตรกรรม ทางอุตสาหกรรม ทางการแพทย์ เป็นต้น ซึ่งรังสีต่าง ๆ เหล่านี้ ถ้าไม่ได้มีการป้องกันและควบคุมอย่างรัดกุมแล้ว ก็จะทำให้เกิดเป็นอันตรายต่อสุขภาพ อนามัยของมนุษย์
9. อาชีวอนามัย เป็นการจัดการเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมในการทำงานให้ดีเหมาะสม ตลอดจนการดูแลป้องกันรักษาสุขภาพอนามัยของผู้ประกอบอาชีพและอื่น ๆ มีความจำเป็นอย่างยิ่งและต้องปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง
10. การควบคุมมลพิษทางเสียง การควบคุมมิให้เกิดมีเสียงดังมาก หรือเกิดเสียงดังเป็นเวลายาวนาน จนเกิดเป็นของเสียต่อสุขภาพอนามัย
11. ที่อยู่อาศัยและสิ่งแวดล้อม การจัดให้ที่อยู่อาศัยและจัดสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ให้ถูกสุขลักษณะอันทำให้มีสุขภาพทางกาย และสุขภาพจิตดี
12. การวางผังเมือง การจัดให้ส่วนต่างๆ ของเมืองให้ถูกต้องเป็นสัดส่วน เช่น ย่านธุรกิจ ย่านอุตสาหกรรม ย่านที่พักอาศัย ทั้งนี้ เพื่อให้ได้มีสุขภาพกายและสุขภาพจิตดี และความสะดวกสบายต่าง ๆ ด้วยเช่น การจราจรที่ไม่ติดขัด
13.งานอนามัยสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับการคมนาคม
14.การป้องกันอุบัติภัยต่าง ๆ
15. การสุขาภิบาลของสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ สถานที่พักผ่อนและสิ่งที่ใช้เพื่อการพักผ่อนหย่อนใจจะต้องมีคุณลักษณะคุณภาพที่จะส่งเสริมให้สุขภาพอนามัยดี มิใช่เป็นการทำให้สุขภาพอนามัยเสื่อมโทรม หรือเป็นแหล่งแพร่กระจายโรค การดำเนินงานสุขาภิบาลเมื่อเกิดโรคระบาด เหตุฉุกเฉิน ภัยพิบัติ และการอพยพย้ายถิ่นของประชากร
16. การดำเนินงานสุขาภิบาลเมื่อเกิดโรคระบาด เหตุฉุกเฉิน ภัยพิบัติ และการอพยพย้ายถิ่นของประชากร
17. มาตรการป้องกันเพื่อให้สิ่งแวดล้อมโดยทั่วไปปราศจากความเสี่ยง หรืออันตรายใด ๆ ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นการรวมเอาโครงการอนามัยสิ่งแวดล้อมของหลายประเทศในโลกผนวกกันได้เป็น 17 รายการดังกล่าวข้างต้น ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับสาเหตุของปัญหาของสิ่งแวดล้อมของประเทศนั้น ๆ ว่าจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยทั้งโดยทางตรงและทางอ้อมอย่างไรในบท ต่อ ๆ ไปจะกล่าวถึงการจัดการอนามัยสิ่งแวดล้อมที่เป็นหลักสำคัญในการใช้แก้ไขปัญหาที่อาจเกิดในประเทศกำลังพัฒนา


แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 1
ชุดที่1
1.ให้นักศึกษาตอบคำถามต่อไปนี้
1.1ความหมายของอนามัยสิ่งแวดล้อม
ความสำคัญของงานอนามัยสิ่งแวดล้อม
1.3 ประเภทของงานอนามัยสิ่งแวดล้อม
1.4ขอบเขตของงานอนามัยสิ่งแวดล้อม
2.จากแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 10
2.1จงบอกประเด็นเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมที่สำคัญ
2.2ทิศทางของงานอนามัยสิ่งแวดล้อมหรือแนวทางปฏิบัติที่สอดคล้องกับประเด็น
ชุดที่2
จากข้อมูลของกระทรวงมหาดไทย เกี่ยวกับภัยแล้ง ในปี2551 ที่ผ่านมา จงอ่านข้อมูลโดยละเอียด
1.จงสรุปปัญหาที่เกิดขึ้น  ว่าน่าจะมีสาเหตุมาจากสิ่งใด
2.เพื่อเป็นการป้องกันมิให้เกิดปัญหาดังกล่าว หรือบรรเทาความรุนแรงของปัญหา ท่านจะประกาศนโยบายที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ว่าอย่างไร
กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย รายงานขณะนี้มี 55 จังหวัด ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ภัยแล้ง เบื้องต้นได้สั่งการหน่วยงานในสังกัด และประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เร่งจัดหาน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคแจกจ่ายแก่ผู้ประสบภัย และบริหารจัดการน้ำเพื่อการเกษตรให้เหมาะสมกับน้ำต้นทุนที่มีอยู่ พร้อมเตือนประชาชนให้ดูแลรักษาสุขภาพอนามัย และโรคระบาดในช่วงฤดูแล้ง นายอนุชา โมกขะเวส อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กล่าวว่า ขณะนี้สถานการณ์ภัยแล้งได้ส่งผลกระทบ ต่อพื้นที่หลายจังหวัด โดยเฉพาะในพื้นที่นอกเขตชลประทาน ทำให้ประชาชนได้รับความเดือดร้อนจากการขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภค และ น้ำเพื่อการเกษตรเป็นจำนวนมาก กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยได้ติดตามสถานการณ์ภัยแล้งตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2550 ถึงวันที่ 4 เมษายน 2551 พบว่า ขณะนี้มีพื้นที่ประสบภัยแล้งรวม 55 จังหวัด 487 อำเภอ 3,138 ตำบล 24,936 หมู่บ้าน คิดเป็นร้อยละ 33.5 ของจำนวนหมู่บ้านทั้งประเทศ ได้แก่ แพร่ น่าน เชียงราย อุตรดิตถ์ เชียงใหม่ ลำปาง ตาก กำแพงเพชร สุโขทัย พิษณุโลก ลำพูน พะเยา นครสวรรค์ แม่ฮ่องสอน อุทัยธานี พิจิตร ศรีสะเกษ ขอนแก่น เลย บุรีรัมย์ นครพนม อุดรธานี มหาสารคาม ยโสธร อุบลราชธานี มุกดาหาร กาฬสินธุ์ หนองบัวลำภู สุรินทร์ ชัยภูมิ สกลนคร หนองคาย นครราชสีมา อำนาจเจริญ ร้อยเอ็ด สระบุรี เพชรบุรี กาญจนบุรี อ่างทอง สุพรรณบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ราชบุรี ชัยนาท ระยอง ตราด นครนายก สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี จันทบุรี ระนอง ตรัง ภูเก็ต สตูล และสุราษฎร์ธานี ราษฎรได้รับความเดือดร้อน จำนวน 10,359,806 คน 2,582,492 ครัวเรือน พื้นที่การเกษตรได้รับความเสียหาย 150,077 ไร่ แยกเป็น พื้นที่นา 128,430 ไร่ พื้นที่ไร่ 21,535 ไร่ พื้นที่สวน 112 ไร่ สำหรับการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยแล้ง กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยได้ร่วมกับหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
















บทที่ 2
การจัดการน้ำสะอาด

ตอนที่ 2.1 ความสำคัญของน้ำ วัฏจักรของน้ำและแหล่งน้ำ
ความสำคัญของน้ำ น้ำเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของผิวโลก และมีอยู่ในสิ่งมีชีวิตทุกชนิด ทั้งมนุษย์
สัตว์ พืช และจุลินทรีย์ ถือเป็นทรัพยากรที่สำคัญของมนุษย์ น้ำมีความจำเป็นต่อสิ่งมีชีวิตทุกชนิดโดยเฉพาะมนุษย์ซึ่งจำเป็นต้องใช้น้ำในการอุปโภคบริโภค มนุษย์บริโภคน้ำเข้าไปในร่างกายและปล่อยน้ำออกจากร่างกายมากกว่าสารอื่น ๆ น้ำเป็นส่วนสำคัญของเนื้อเยื่อเกือบทุกชนิด และยังทำหน้าที่เป็นตัวกลางสำหรับลำเลียงถ่ายเทสารอาหารและของเสีย นอกจากนี้ยังช่วยรักษาอุณหภูมิของร่างกายให้คงที่ ร่างกายมนุษย์ประกอบด้วยน้ำประมาณ 70 เปอร์เซ็นต์ ของน้ำหนักตัว นอกจากนี้การใช้ประโยชน์ของน้ำสำหรับมนุษย์นั้นยังมีอีกมากมายหลายอย่าง ได้แก่ การใช้เพื่อชำระล้างร่างกายและเครื่องนุ่งห่ม ใช้ในการประกอบอาหาร การเกษตร การล้างทำความสะอาดถนนและสาธารณสถานอื่น ๆ การพักผ่อนหย่อนใจ การอุตสาหกรรม การขับเคลื่อนสิ่งสกปรก การผลิตกระแสไฟฟ้าพลังน้ำ การคมนาคม และการป้องกันอัคคีภัย จึงนับว่าน้ำเป็นทรัพยากรที่มีประโยชน์มากมายต่อมนุษย์อย่างแท้จริง
วัฏจักรของน้ำ ( Hydrologic Cycle ) หมายถึง การหมุนเวียนเปลี่ยนแปลงระหว่างโมเลกุลของน้ำจากผิวโลกสู่บรรยากาศโดยการระเหย ( evaporation ) และคายน้ำของพืช ( transpiration ) และจากบรรยากาศสู่ผิวโลกโดยตกลงมาเป็นฝน หิมะ ลูกเห็บ และน้ำค้าง ณ จุดเริ่มต้นวัฏจักรจุดใดจุดหนึ่ง น้ำบนผิวโลก ได้แก่ น้ำทะเล มหาสมุทร แม่น้ำ ลำธาร เมื่อได้รับความร้อนจากดวงอาทิตย์จะเกิดการระเหย เปลี่ยนสภาวะจากของเหลวกลายเป็นไอลอยขึ้นสู่อากาศเบื้องบนเรียกว่า ไอน้ำซึ่งบางส่วนอาจจะเกิดจากการคายน้ำของพืชไอน้ำ รวมตัวกันกลายเป็นกลุ่มก้อนขนาดใหญ่ขึ้นกลายเป็น ก้อนเมฆ เมื่อมีขนาดใหญ่ขึ้นมีน้ำหนักมากขึ้นก็จะลอยลงมาใกล้พื้นผิวโลกมากขึ้น และจะถูกความร้อนที่ผิวโลกละลาย ก้อนเมฆ เหล่านั้นทำให้เกิดการกลั่นตัวกลายเป็นหยดน้ำตกลงมาสู่พื้นผิวโลก กลายเป็นน้ำฝน หิมะ ลูกเห็บ น้ำค้าง ซึ่งเรียกโดยรวมว่า น้ำจากบรรยากาศ
แหล่งของน้ำที่ใช้เพื่อการอุปโภคบริโภค ( Source of Water Supply )
1. น้ำฝน หรือน้ำจากบรรยากาศ ( Rain Water หรือ Precipitation Water ) หมายถึง น้ำทั้งหมดที่ได้จากการกลั่นตัวเป็นหยดน้ำของก้อนเมฆโดยตรง เช่น น้ำฝน หิมะ ลูกเห็บ คุณสมบัติของน้ำฝนจึงเป็นน้ำบริสุทธิ์อย่างแท้จริง แต่เนื่องจากน้ำมีคุณสมบัติในการละลายสิ่งต่าง ๆ ได้ดี มันจึงอาจดูดซับแก๊สต่าง ๆ จากบรรยากาศถ้าเป็นบรรยากาศบริเวณทะเลหรือมหาสมุทรก็อาจดูดซับเกลือต่าง ๆ ซึ่งเกิดจากฟุ้งกระจายของน้ำทะเล หรือมหาสมุทร นอกจากนี้ถ้าน้ำฝนตกผ่านบรรยากาศที่สกปรกก็อาจทำให้น้ำฝนนั้นมีความสกปรกได้ แต่ความสกปรกต่าง ๆ ที่ละลายในน้ำฝนอาจจะมีปริมาณความสกปรกไม่มากเกินมาตรฐานน้ำดื่มน้ำใช้ และถ้ามีการเก็บกักน้ำฝนดังกล่าวไว้ในภาชนะที่สะอาด ก็อาจจะนำน้ำฝนนั้นมาใช้ในการอุปโภคบริโภคได้โดยไม่ต้องมีการปรับปรุงคุณภาพ
2. น้ำผิวดิน ( Surface Water ) หมายถึง ส่วนของน้ำฝนที่ตกลงมาสู่พื้นดินแล้วไหลลงสู่ที่ต่ำโดยจะถูกเก็บกักในส่วนของพื้นดินที่เป็นหลุมเป็นแอ่ง ในทะเล มหาสมุทร แม่น้ำ ลำคลอง ห้วย หนองสระ น้ำผิวดินมีความสำคัญต่อชุมชนเป็นอย่างมาก เพราะเป็นแหล่งน้ำขนาดใหญ่ที่ โดยเฉพาะในทะเล และมหาสมุทร แต่น้ำทะเลก็ไม่นิยมที่จะนำมาใช้ในการอุปโภคบริโภค นอกจากจะใช้เพื่อการประมง และการคมนาคม น้ำผิวดินจืดในแต่ละแห่งจะมีคุณภาพที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับว่าเมื่อน้ำฝนตกลงมายังพื้นดินแล้วไหลผ่านบริเวณใด หรือชะล้างเอาสิ่งสกปรกอะไรลงไป อาจจะมีพวกธาตุ สารอินทรีย์ จุลินทรีย์ น้ำผิวดินจึงมักสกปรกกว่าน้ำฝนหรือใต้ดินดังนั้นการที่จะนำเอาน้ำผิวดินมาใช้ในการอุปโภคบริโภค จึงจำเป็นที่จะต้องนำมาปรับปรุงคุณภาพให้สะอาดปลอดภัยเสียก่อน
3. น้ำใต้ดิน ( Ground Water หรือ Underground Water ) หมายถึงน้ำที่อยู่ตามรูพรุน( porous ) ของดินหิน กรวด หรือทราย ซึ่งอยู่ใต้ผิวโลก น้ำใต้ดินเกิดจากการที่น้ำฝนหรือน้ำจากบรรยากาศในรูปอื่น ๆ ตกลงสู่พื้นผิวโลก และบางส่วนได้จากแหล่งน้ำผิวดิน ไหลซึมลงสู่เบื้องต่ำ และน้ำก็จะถูกกักไว้ตามช่องว่างหรือรูพรุนของดิน หินกรวด หรือทราย จนถึงชั้นของดินหรือหินที่น้ำซึมผ่านไม่ได้ แหล่งน้ำดังกล่าวนี้ ได้แก่ น้ำพุ น้ำบ่อบ่อน้ำซับ เป็นต้น

ตอนที่ 2.2 ปริมาณความต้องการน้ำ การสูญเสียน้ำและคุณลักษณะของน้ำ
2.2.1ปริมาณความต้องการน้ำ
ความแตกต่างของปริมาณและอัตราการใช้น้ำนี้จะขึ้นอยู่กับองค์ประกอบที่สำคัญหลายอย่างด้วยกันเป็นต้นว่า ลักษณะของชุมชนใหญ่ กลาง เล็ก ชุมชนเมืองที่แออัดหรือชุมชนชนบทที่ห่างไกล หรือชุมชนในเขตการค้าอุตสาหกรรม หรือชุมชนชนบทที่กำลังพัฒนาและมีความเจริญใกล้เคียงเมือง อัตราการใช้น้ำแบ่งเป็นประเภทได้ดังนี้คือ
1. การใช้น้ำในที่พักอาศัย ( domestic use ) การใช้น้ำในที่พักอาศัยหรือบ้านเรือนของประชาชนนั้นถือว่าเป็นประเภทที่มีจำนวนผู้ใช้น้ำทั้งหมดและในวัตถุประสงค์หลายอย่าง เป็นต้นว่า การใช้ดื่ม การใช้ซักล้างการล้างรถ การรดน้ำต้นไม้ สวนครัว การหุงต้ม และตลอดจนใช้ทำความสะอาดห้องน้ำและห้องส้วม
2. การใช้น้ำสำหรับอุตสาหกรรม ( industrial use ) การใช้น้ำในอุตสาหกรรมนั้น โดยปกติแล้วจะมีปริมาณการใช้น้ำสูงกว่าในการใช้ครัวเรือน แต่ย่อมขึ้นอยู่กับขนาดของอุตสาหกรรมนั้น ๆ ด้วยว่ามีขนาดและชนิดของอุตสาหกรรมอย่างไร
3. การใช้น้ำในกิจการสาธารณะ ( public use ) การใช้น้ำในกิจการสาธารณะนั้นเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับประชาชนทั่วไป และปริมาณการใช้ น้ำก็จะแตกต่างกันไปด้วยในกรณีชุมชนที่หนาแน่นและเจริญแล้ว กิจการสาธารณะเหล่านี้ได้แก่ การล้างและทำความสะอาดตลาดส้วมสาธารณะ ถนน ท่อน้ำโสโครก การดับเพลิงการรดสนามหญ้า ต้นไม้ตามถนนและหารบริการน้ำตามก๊อกสาธารณะ น้ำพุประดับ
4. การใช้น้ำเพื่อกิจการเลี้ยงสัตว์ ( farm animals ) การใช้น้ำในคอกปศุสัตว์ วัว ควาย ม้า สุกร ไก่ ปกติแล้วการใช้น้ำสำหรับเลี้ยงสัตว์และสวนครัวตามบ้านมักจะมีปริมาณไม่มากนักนอกจากกรณีทำฟาร์มหรือปศุสัตว์จำนวนมาก ๆ
5. การใช้น้ำสำหรับการค้า ( commercial use ) การใช้น้ำในธุรกิจการค้านั้น โดยปกติแล้วปริมาณการใช้น้ำจะสูงกว่าในการใช้ในครัวเรือน และย่อมจะขึ้นอยู่กับขนาดของธุรกิจการค้าว่ามีขนาดและกิจการอย่างไรการสูญเสียของน้ำ ( Loss and waste ) ปริมาณน้ำที่จะต้องสูญเสียไป ระบบการประปา นั้นเป็นตัวอย่างที่ดีชี้ให้เห็นถึงการสูญเสียของน้ำที่มิสามารถเก็บเงินได้ ( unaccount ) ทั้งนี้จากเหตุหลายประการ เช่นการรั่วไหลเนื่องจากท่อน้ำแตกและข้อต่อชำรุด การจ่ายน้ำเพื่อการดับเพลิงการจ่ายน้ำฟรีเพื่อประชาชนในฤดูแล้งแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำ การใช้น้ำเพื่อ ล้างหน้าทรายทำความสะอาดถังตะกอน มาตรวัดน้ำชำรุด ฯลฯ ซึ่งการสูญเสียของน้ำที่เก็บ หรือคิดเป็นตัวเงินมีได้นี้ ประมาณร้อยละ 20 ของปริมาณการผลิตน้ำทั้งหมด
2.2.2คุณลักษณะของน้ำ ( Characteristic of water )
 เพื่อสะดวกต่อการเลือกใช้วิธีการปรับปรุงคุณภาพจึงจัดแบ่งประเภทของคุณลักษณะของน้ำไว้เป็น 3 ประเภท คือ คุณลักษณะของน้ำทางกายภาพหรือฟิสิกส์คุณลักษณะของน้ำทางเคมี และคุณลักษณะของน้ำทางชีวภาพ ดังนี้
1. คุณลักษณะทางด้านกายภาพหรือฟิสิกส์ ( Physical Characteristics ) คือลักษณะของน้ำ ที่สามารถวิเคราะห์ได้โดยทางกายสัมผัส ได้แก่ ความขุ่น สี กลิ่น รสชาติ อุณหภูมิ เป็นต้น
                  1.1 ความขุ่น ( Turbidity ) ความขุ่นของน้ำหมายถึง การที่น้ำมีพวกสารแขวนลอยอยู่ในน้ำให้บดบังแสงทำให้ไม่สามารถมองลงไปในระดับน้ำที่ลึกได้สะดวก สารแขวนลอยที่ทำให้น้ำมีความขุ่น ได้แก่ ดินละเอียดอินทรีย์สาร อนินทรีย์สาร แพลงตอน และจุลินทรีย์ สารพวกนี้อาจมีบางพวกกระจายแสงบางพวกดูดซึมแสงความขุ่นของน้ำ มีความสำคัญต่อปัญหาทางด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมในด้านความน่าใช้
              1.2 สี (Color) สีในน้ำตามธรรมชาติเกิดจากการหมักหมมทับถมกับของพืช ใบไม้ เศษวัสดุอินทรีย์ต่างๆความสำคัญทางด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมของสีในน้ำ ถ้าเป็นสีที่เกิดโดยธรรมชาติจาการสลายของพืช ใบไม้ใบหญ้า นั้นถึงแม้จะไม่มีอันตรายต่อผู้บริโภค แต่เนื่องจากสีของมันเป็นสีเหลืองน้ำตาล จึงอาจทำให้เกิดความรู้สึกที่ไม่ต้องการใช้น้ำดังกล่าวบริโภค จำเป็นต้องกำจัดออกถ้ามีปริมาณมาก
              1.3 กลิ่น ( Odor ) กลิ่นในน้ำมักเกิดจากการที่น้ำมีจุลินทรีย์ เช่น สาหร่าย ความสำคัญทางด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมของกลิ่นในน้ำ ทำให้น้ำนั้นไม่น่าใช้สอยคู่มือการพยาบาลส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค
1.4 รสชาติ (Taste) รสชาติในน้ำเกิดจากการละลายน้ำของพวกเกลืออนินทรีย์ เช่น ทองแดงความสำคัญทางด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมของรสชาติในน้ำทำให้น้ำไม่น่าดื่มและไม่น่าใช้สอย
1.5 อุณหภูมิ (Temperature) การที่อุณหภูมิของน้ำเปลี่ยนแปลงอาจเกิดจากธรรมชาติ ในบางครั้งการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของน้ำอาจเกิดจากการที่น้ำได้รับการปนเปื้อนจากน้ำทิ้งที่เกิดจากกิจกรรมต่างๆ ของมนุษย์หรือจากโรงงานอุตสาหกรรม โรงงานผลิตกระแสไฟฟ้าเหล่านี้เป็นต้น ทำให้น้ำมีอุณหภูมิสูงหรือต่ำกว่าปรกติความสำคัญทางด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม ของอุณหภูมิในน้ำนั้นอาจเป็นผลกระทบในทางอ้อม มีผลต่อสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ในแหล่งน้ำ เช่นพวกปลาบางชนิดอาจจะมีชีวิตอยู่ไม่ได้ในน้ำที่มีอุณหภูมิสูงกว่าปรกติ มีผลต่อการทำปฏิกิริยาต่อการใช้เคมีกับน้ำ เช่น การปรับปรุงคุณภาพโดยใช้สารเคมี
              2. คุณลักษณะทางด้านเคมี (Chemical Characteristics) คือ คุณสมบัติของน้ำที่มีองค์ประกอบของสารเคมี และอาศัยหลักการหาโดยปฏิกิริยาเคมี ซึ่งพบว่าส่วนใหญ่ในน้ำจะถูกกำหนดปริมาณโดยข้อบังคับที่เกี่ยวกับน้ำสำหรับบริโภค ได้แก่ ค่าความเป็นกรด ด่าง ความกระด้าง ความเป็นด่าง ความเป็นกรด เป็นต้น 2.1 ค่าความเป็นกรด ด่างของน้ำ หรือค่าพีเอช น้ำที่บริสุทธิ์จะมีค่าพีเอชเป็น 7 ความสำคัญทางด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมของพีเอชในน้ำถ้ามีพีเอชต่ำมากจะมีฤทธิ์ในการกัดกร่อนอาจทำให้เกิดการกัดกร่อนท่ออุปกรณ์ หรือภาชนะต่าง ๆ ได้
2.2 ความกระด้างของน้ำ น้ำกระด้างหมายถึง น้ำที่เมื่อทำปฏิกิริยากับสบู่แล้วทำให้เกิดฟองได้ยาก ความกระด้างของน้ำแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่ ความกระด้างชั่วคราว และความกระด้างถาวร2.3 ความเป็นด่างของน้ำ (Alkalinity) หมายถึง ปริมาณความจุของกรดเข็มข้นในอันที่จะทำให้น้ำเป็นกลางโดยอาศัยพีเอช หรือ เป็นการหาว่าน้ำจะต้องใช้กรดทำให้เป็นกลางเท่าไร
2.4 ความเป็นกรดของน้ำ (Acidity) หมายถึง ปริมาณความจุที่ต้องการใช้ด่างเข้มข้นในการทำให้น้ำเป็นกลางที่บ่งชี้ได้โดยค่าพีเอช
2.5 เหล็กแมงกานีส (Iron and Mageaese) ธาตุเหล็กโดยทั่ว ๆ ไปจะอยู่ในรูปแบบสารไม่ละลายน้ำ ถ้าอยู่ในน้ำและแร่ธาตุก็จะอยู่ในรูปของสารไม่ละลายน้ำ เหล็กและแมงกานีสที่อยู่ในน้ำตามธรรมชาติแล้วไม่เป็นอันตรายต่อการบริโภค
2.6 คลอไรด์ (Chloride) คลอไรด์ที่ละลายอยู่ในน้ำตามธรรมชาติจะละลายอยู่ในปริมาณความเข้มข้นแตกต่างกันไป
2.7 ฟลูออไรด์ (fluoride) โดยทั่วไปแล้วในน้ำตามธรรมชาติมักไม่มีฟลูออไรด์ละลายอยู่ แต่เนื่องจากมีความสำคัญต่อสุขภาพฟัน ถ้ามีน้อยเกินไปอาจทำให้เกิดโรคฟันเปราะหักง่าย
2.8 ทองแดง (Copper) การที่ในน้ำมีทองแดงเป็นเช่นเดียวกันกับตะกั่วคือมักไม่เกิดจากธรรมชาติมีสาเหตุจากกิจกรรมมนุษย์
2.9 ไนไตรต์ (Nitrite) ในไตรเกิดจากปฏิชีวเคมีของจุลินทรีย์ในการออกซิเดชั่นแอมโมเนีย
2.10 ไนเตรด (Nitrate) ในเตรดมีอยู่ในน้ำธรรมชาติในปริมาณน้อยมากอาจเกิดจากพืช หรือสัตว์น้ำที่มีอินทรีย์
2.11 แก๊สไฮโดรเจนซัลไฟด์ (Hydrogen Sulfide) เป็นแก๊สที่มักพบในน้ำใต้ดินโดยธรรมชาติซึ่งเกิดจากปฏิกิริยาการย่อยสลายสารอินทรีย์และจุลินทรีย์
2.12 สารหนู (Arsenic) สารหนูเกิดจากน้ำตามธรรมชาติเนื่องจากการไหลของน้ำผ่านชั้นใต้ดินหรือหินที่มีสารหนู
2.13 พวกไตรฮาโลมีเธน (Trihalomethanes= THMs) เชื่อกันว่าเกิดจากการทำปฏิกิริยาระหว่างคลอรีนหรือพวกฮาโลเจนอื่น ๆ กับสารมิวมิคและฟุลวิคหรือสารที่เกิดจากการย่อยสลายสารอินทรีย์สาร อื่น ๆ
3. คุณลักษณะของน้ำทางด้านชีวภาพ (Biological Chracteristics) คุณลักษณะของน้ำ ทางด้านชีวภาพหมายถึง การที่น้ำมีสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ อยู่ในน้ำ สิ่งมีชีวิตที่อยู่ในน้ำมีมากมายหลายอย่างตั้งแต่ พืชน้ำ สัตว์น้ำแพลงตอน และจุลินทรีย์
3.1 จุลินทรีย์ที่ไม่ทำให้เกิดโรค (Nonpathogenic Microorganism) ได้แก่พวก บัคเตรี โปรโตซัว สาหร่ายหรือราบางชนิด
3.2 จุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรค (Pathogenic Microorganism) มีมากมายหลายชนิดที่ก่อให้เกิดอาการของโรคอย่างรุนแรงถึงขั้นตายได้ และมีอาการถึงเจ็บป่วยเพียงเล็กน้อย ได้แก่ ไวรัส บัคเตรี โปรโตซัว และหนอนพยาธิ เพราะน้ำเป็นตัวแพร่กระจายโรคบางชนิดได้ดี โดยกล่าวได้ดังนี้
. ไวรัส (Virus) ไวรัสเป็นจุลินทรีย์ที่มีขนาดเล็ก มากที่สุดไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ไวรัสที่อาจพบแพร่กระจายในน้ำแล้วทำให้เกิดโรคในมนุษย์
. บัคเตรี (Bacteria) เป็นจุลินทรีย์ที่มีขนาดโตกว่าไวรัสสามารถมองใช้กล้องจุลทรรศน์ธรรมดาส่องได้ มีเซลล์เดียว ใช้อาหารในรูปสารละลาย ส่วนใหญ่ก็เป็นโรคที่สามารถป้องกันรักษาได้ ได้แก่ อหิวาตกโรคโรคไข้ไทฟอยด์ โรคบิด
. โปรโตซัว (Protozoa) เป็นจุลินทรีย์ที่มีขนาดโตกว่าบัคเตรีไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่า โปรโตซัวที่ทำให้เกิดโรคได้แก่ โรคบิดชนิดอมีบา โรคจิอาร์เดีย ทำให้เกิดท้องเสียท้องร่วงระยะนาน ปวดท้อง น้ำหนักตัวลด

ตอนที่ 2.3 การผลิตน้ำสะอาดเพื่อการอุปโภคบริโภค

ในการผลิตน้ำให้สะอาดเพื่อความปลอดภัยในการใช้อุปโภคบริโภคนั้น วัตถุประสงค์หลักก็เพื่อสุขภาพอนามัย ของมนุษย์ในการที่จะนำน้ำมาใช้ในด้านต่าง ๆ เช่น ปรุงอาหาร ชำระล้างร่างกายหรือประโยชน์ในด้านอื่น ๆ การผลิตน้ำสะอาดเพื่อการอุปโภคบริโภค จึงหมายถึง น้ำที่ผลิตหรือจัดทำขึ้นมาเพื่อใช้จะต้องปราศจาก ตัวการที่ทำให้เกิดโรคอันได้แก่เชื้อโรค และสารเคมี ที่เป็นพิษและเป็นอันตรายต่าง ๆ บางครั้งเรามักจะเรียกการเกิดโรคที่เกิดจากน้ำเป็นตัวนำว่า โรคที่เกิดจากน้ำเป็นสื่อ หมายถึงโรคที่เกิดโดยการนำของน้ำซึ่งมีสิ่งอื่น ๆเจือปนอยู่ สิ่งเหล่านั้นอาจจะเป็นจุลินทรีย์และสารเคมีที่เป็นอันตรายที่ทำให้เกิดโรคเข้าไปในร่างกายเกินกว่ามาตรฐานที่กำหนดไว้ทำให้เกิดโรคขึ้นในหมู่มวลมนุษย์มาตรฐานคุณภาพน้ำ ต้องคำนึงถึงมาตรฐานของแหล่งน้ำดิบ มาตรฐานน้ำทิ้ง มาตรฐานเพื่อการอุปโภคบริโภค ซึ่งมาตรฐานทั้งสามประการมีการเกี่ยวพันกันมาตรฐานน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค โดยทั่วไปมีเกณฑ์การพิจารณาคุณภาพน้ำตามวัตถุประสงค์ของการนำไปใช้ได้อย่างกว้าง ๆ 3 ประเภท คือ เพื่อการดื่ม การเกษตร และการอุตสาหกรรม
2.3.1วิธีการปรับปรุงคุณภาพน้ำ
โดยทั่วไปแล้วการปรับปรุงคุณภาพน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคมีวิธีการปรับปรุงคุณภาพของน้ำดิบให้มีคุณภาพดีตามความต้องการได้หลายวิธี
1. การตกตะกอนจมตัว การตกตะกอนจมตัวเป็นการเก็บกักน้ำไว้ในคลองหรืออ่างเก็บน้ำโดยอาศัยธรรมชาติ เพื่อให้น้ำได้เกิดการฟอกตัวเองโดยธรรมชาติ

2. การกรองด้วยตะแกรง การกรองด้วยตะแกรงเพื่อสกัดของแข็งที่มีขนาดใหญ่จนถึงขนาดเล็กขึ้นอยู่กับขนาดรูของตะแกรงจึงอาจแบ่งชนิดของตะแกรงอย่างกว้าง ๆ เป็น 2 แบบ คือ ตะแกรงหยาบและตะแกรงละเอียด

3. การสร้างตะกอน การรวมตะกอน และการตกตะกอน

. การสร้างตะกอน เป็นกระบวนการที่ใช้โดยการเติมสารเคมีซึ่งเรียกสารสร้างตะกอนลงไปในน้ำซึ่งมีของแข็งขนาดเล็กฟุ้งกระจายอยู่
. การรวมตะกอน เป็นกระบวนการรวมตัวของของแข็งที่มีขนาดเล็กโดยมีสารเคมีเป็นศูนย์กลางทำให้อนุภาคมีขนาดโตพอที่จะตกตะกอนได้ง่าย เรียกตะกอนที่รวมตัวกันมีขนาดโตพอที่จะตกตะกอนได้ง่าย ว่าฟล็อก ( Floc )การใช้สารส้มในการสร้างตะกอน การใช้สารส้มในการทำให้สร้างตะกอนและรวมตะกอนควรให้มีพีเอชของน้ำอยู่ในช่วง 5.8 - 7.4 และควรมีค่าเป็นด่างพอที่จะทำให้เกิดการปรับพีเอชของน้ำเมื่อ พีเอชต่ำลงการใช้สารส้มจึงมีสูตรเคมีทั่วไปคือ AI2 ( SO4 )3 18H 2O

2.3.2การทำลายเชื้อโรคด้วยคลอรีน

การเติมคลอรีน เป็นการใส่คลอรีนหรือสารประกอบคลอรีนลงในน้ำและน้ำเสียเพื่อการทำลาย เชื้อโรคและยังช่วยลดเหตุรำคาญอันเนื่องจากจุลินทรีย์และยังอาจช่วยออกซิไดส์เหล็กแมงกานีสในน้ำ รวมถึงสารที่ทำให้เกิดกลิ่นและรสชาติในน้ำได้อีกด้วย

ตอนที่ 2.4วิธีการและขั้นตอนการผลิตน้ำประปา

การประปาเป็นวิธีทำน้ำให้สะอาด หลักการทำน้ำประปานั้นก็เพื่อให้ได้น้ำสะอาดปลอดภัยปริมาณเพียงพอและจ่ายให้ได้ทั่วถึง โดยนำน้ำจากแหล่งน้ำผิวดินหรือน้ำบาดาลเป็นแหล่งน้ำดิบก็ได้
ขั้นตอนในการทำน้ำประปา
1. การสูบน้ำดิบ ติดตั้งเครื่องสูบน้ำเพื่อสูบน้ำดิบส่งเข้าไปสู่โรงกรองน้ำ
2. การกรองน้ำ เมื่อน้ำดิบถูกส่งมายังโรงกรองน้ำ จะผ่านที่ผสมสารส้มและปูนขาว เพื่อให้สิ่งสกปรกที่ปะปนหรือผสมอยู่ในน้ำนั้นเกิดรวมตัวเป็นตะกอนเกาะ ขนาดโตขึ้นมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นและตกตะกอน และสูบน้ำที่กรองแล้วในถังน้ำใสขึ้นหอถังสูงจ่ายน้ำให้กับประชาชน
3. การจ่ายน้ำ น้ำจากถังน้ำใสจะถูกสูบขึ้นหอถังสูง หอถังสูงจะทำหน้าที่เสมือนที่เก็บน้ำและจ่ายน้ำไปตามเส้นท่อภายใต้แรงดัน





















แบบฝึกหัดท้ายบทที่2
ชุดที่1
1.กิจกรรม        ให้นักศึกษาอ่านศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมจากห้องสมุดในหัวข้ออนามัยสิ่งแวดล้อมการจัดการน้ำสะอาดแล้ว
2.จงตอบคำถามโดยให้นักศึกษาบอกแนวคิดหลักการและปัญหาของน้ำสะอาดเหล่านี้
     1.บอกแนวคิดสำคัญของน้ำ
     2.บอกวัตถุประสงค์การจัดหาน้ำสะอาด
     3.บอกขั้นตอนการจัดหาน้ำสะอาด
     4.บอกปัญหาของโรคที่เกิดจากน้ำเป็นสื่อ

ชุดที่2
คุณลักษณะทางแบคทีเรียของมาตรฐานน้ำดื่มหรือน้ำบริโภคควรเป็นอย่างไร
ชุดที่3
1.ในกรณีที่บ่อน้ำสำหรับอุปโภคบริโภคของประชาชนในหมู่บ้านเกิดสกปรกและเริ่มมีกลิ่นท่านได้ไปดูและพบว่าหากปล่อยไว้อาจจะเน่าเสียและไม่สามารถใช้อุปโภคบริโภคได้ท่านจึงได้ดำเนินการตตามลำดับต่อไปนี้พร้อมทั้งเหตุผล

ความเสียหาย
2.จากตารางแสดงแหล่งที่มาสารปนเปื้อนในน้ำชนิดและความเสียหาย จงเติมข้อความตามตัวเลข ()
แหล่งที่มาแหแหงที่า  สารปนเปื้อน              การปนเปื้อนในน้ำ          ชนิดของสารความเสียหาย

(1)
น้ำทิ้ง
สารอินทรีย์
จุลินทรีย์
น้ำขาดออกซิเจนน้ำเน่า
(4)
(2)
น้ำทิ้ง
สารอินทรีย์
สารพิษ
ความร้อน
น้ำขาดออกซิเจนน้ำเน่า
(5)



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น