ทบทวนอนามัยสิ่งแวดล้อม

วันพฤหัสบดีที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2553

ความรู้พื้นฐานด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม(การจัดการมลพิษทางอากาศ)

มลพิษทางอากาศ
ตอนที่ 1 ความหมายและแหล่งกำเนิดของมลพิษทางอากาศ
ความหมายของมลพิษทางอากาศ
มลพิษทางอากาศ หมายถึง สภาวะการที่บรรยากาศกลางแจ้งมีสิ่งเจือปน เช่น ฝุ่นละออง ก๊าซต่าง ๆละอองไอ กลิ่น ควัน ฯลฯ อยู่ในลักษณะ ปริมาณ และระยะเวลาที่นานพอที่จะทำให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพอนามัยของมนุษย์หรือสัตว์ หรือทำลายทรัพย์สินของมนุษย์หรือสิ่งแวดล้อมอื่น
แหล่งกำเนิดของสารมลพิษทางอากาศ
1. แหล่งมนุษย์สร้าง แหล่งเกิดของมลพิษทางอากาศชนิดนี้ ได้แก่ กิจกรรมนานาประการของมนุษย์ ดังต่อไปนี้
1.1การเผาไหม้ การเผาไหม้ เช่น การผลิตกระแสไฟฟ้าและการเคลื่อนที่ของยานพาหนะเป็นต้น การเผาไหม้หากเป็นไปอย่างสมบูรณ์แล้วสิ่งที่เกิดขึ้นจะมีเพียงแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์และน้ำเท่านั้น ในสภาพของความเป็นจริงแล้ว การเผาไหม้ส่วนใหญ่จะเป็นการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ ซึ่งทำให้เกิดมีมลพิษทางอากาศขึ้นไม่มากก็น้อย
1.2 โรงงานอุตสาหกรรม ในงานอุตสาหกรรมนั้น มลพิษทางอากาศอาจเกิดขึ้นได้จากการเผาไหม้เชื้อเพลิงเพื่อพลังงานที่ต้องการในการผลิต วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต เนื่องจากการขนถ่าย เคลื่อนย้าย วัตถุดิบมาสู่โรงงานหรือภายในโรงงานเอง การปรับหรือเปลี่ยนสภาพของวัตถุดิบเหล่านั้น เช่น การบด ผสม ร่อนแยกขนาดและขัดสี เป็นต้น ในกระบวนการผลิตมักจะเกิดมีสิ่งที่เป็นผลพลอยได้จากการผลิตออกมาด้วย สิ่งเหล่านี้อาจจะถูกปล่อยให้ปะปนเข้าสู่บรรยากาศได้เสมอ ตัวอย่างเช่น อุตสาหกรรมถลุงและหลอมโลหะ การกลั่นน้ำมัน เคมีอาหาร เป็นต้น
1.3ยานพาหนะ รถยนต์เป็นแหล่งเกิดของมลพิษที่สำคัญที่สุดในกลุ่มนี้ ในระยะแรกปัญหาเรื่องมลพิษจากรถยนต์ยังไม่มี เพราะปริมาณของรถยนต์มีอยู่น้อย ในระยะต่อมาเมื่อยานพาหนะมีความจำเป็นมากขึ้นในการดำรงชีวิต ที่มีการขยายตัวอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยีและมาตรฐานการดำรงชีพ ปริมาณของรถยนต์ชนิดต่าง ๆก็ขยายตัวขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งตามเมืองใหญ่ และกลายเป็นแหล่งเกิดที่สำคัญประการหนึ่งของมลพิษทางอากาศ
2. แหล่งธรรมชาติ
2.1 ภูเขาไฟ เมื่อเกิดการระเบิดของภูเขาไฟ จะมีเถ้าถ่านและควันเป็นจำนวนมากถูกปล่อยออกมาสู่บรรยากาศ
2.2 ไฟป่า ควันจากไฟไหม้ป่าสามารถทำให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพได้ ทำให้ทัศนวิสัยเลวลงอันเป็นสาเหตุของอุบัติเหตุทางรถยนต์หรือเครื่องบินได้
2.3การเน่าเปื่อยและการหมักสารอินทรีย์หรือสารอนินทรีย์ โดยจุลินทรีย์หรือปฏิกิริยาเคมีอาจทำให้เกิดสารมลพิษสู่บรรยากาศได้แก่ ออกไซด์ของคาร์บอน แอมโมเนีย ไฮโดรเจนซัลไฟด์ เป็นต้น
2.4จุลินทรีย์ต่าง เช่น แบคทีเรีย ไวรัส เชื้อรา และสปอร์นั้นพบได้เสมอในอากาศ การฟุ้งกระจายของจุลินทรีย์จะไปได้ไกลเพียงใดขึ้นอยู่กับความเร็วและทิศทางของกระแสลมเป็นสำคัญ

ตอนที่ 2 ชนิดของสารมลพิษทางอากาศ
ชนิดของสารมลพิษทางอากาศ มลพิษทางอากาศอาจจำแนกออกเป็นประเภทใหญ่ ได้ 2 ประเภทคืออนุภาคต่าง ที่ล่องลอยอยู่ในอากาศ ก๊าซและไอต่าง
1. อนุภาคต่าง อนุภาคที่ล่องลอยอยู่ในอากาศมีอยู่หลายชนิด เช่น
1.1 ฝุ่น เป็นอนุภาคที่เป็นของแข็งเกิดจากการบด ขัดสี ทุบ ป่น ระเบิด ฯลฯ ของสารทั้งที่เป็นอินทรีย์วัตถุและอนินทรีย์วัตถุ เมื่อถูกปล่อยเข้าสู่บรรยากาศจะสามารถล่องลอยอยู่ในอากาศได้ชั่วระยะเวลาหนึ่งจากนั้นส่วนใหญ่จะตกกลับสู่พื้นดิน
1.2 ขี้เถ้า ได้แก่อนุภาคขนาดเล็กมากของสิ่งที่เหลือจากการเผาไหม้
1.3 เขม่า เป็นอนุภาคที่เกิดจากการรวมตัวของอนุภาคขนาดเล็ก ของคาร์บอนที่เกิดจากการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ของวัสดุพวกที่เป็นคาร์บอน และมีสารพวกทาร์ (tar) ซับอยู่ด้วย
1.4 ฟูม ได้แก่อนุภาคที่เป็นของแข็งและมีขนาดเล็กมาก ( เล็กกว่า 1 ไมครอน ) มักจะเกิดจากการควบแน่นของไอซึ่งเกิดจากปฏิกิริยาทางเคมีบางอย่าง การหลอมโลหะหรือการเผาไหม้สารที่มีโลหะผสมอยู่ เช่นออกไซด์ของโลหะต่าง
1.5 ละออง ได้แก่ อนุภาคที่เป็นของเหลวซึ่งเกิดจากการควบแน่นของไอหรือแก๊สต่าง หรือเกิดจากการแตกตัวของของเหลวจากกระบวนการบางอย่าง เช่น การพ่น การฉีดของเหลวไปในอากาศ
2.ก๊าซและไอต่าง
2.1 ออกไซด์ต่าง ของคาร์บอน
1. คาร์บอนไดออกไซด์ (CO 2 ) CO 2 เป็นแก๊สที่เป็นองค์ประกอบตามปกติของอากาศและเป็นส่วนหนึ่งของวงจรคาร์บอนด์ โดยปกติแล้วจะไม่ถือว่า CO 2 เป็นสารมลพิษทางอากาศ แต่ถ้ามีปริมาณความเข้มข้นสูงเกินปกติอาจก่อให้เกิดผลเสียได้ เช่น กัดกร่อนวัสดุสิ่งของต่าง
2. คาร์บอนมอนอกไซด์ (CO) เป็นแก๊สที่เกิดจากการเผาไหม้ไม่สมบูรณ์ของคาร์บอนหรือสารประกอบคาร์บอนต่าง เป็นแก๊สที่ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น และไม่ทำให้เกิดอาการระคายเคือง แต่ก็มีอันตรายมากอาจทำให้สูญเสียชีวิตได้ ถ้าหากว่าร่างกายได้รับเข้าไปด้วยปริมาณที่มากพอ
2.2 ออกไซด์ของซัลเฟอร์
1. ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO 2 ) เกิดขึ้นจากการเผาไหม้ของซัลเฟอร์หรือเชื้อเพลิงที่มีซัลเฟอร์ปะปนอยู่ เช่น น้ำมันและถ่านหิน เป็นต้น หรือจากการถลุงโลหะต่าง ที่มีซัลเฟอร์เป็นสารเจือปนอยู่ในแร่นั้น ๆเป็นก๊าซไม่ติดไฟ ไม่มีสี มีกลิ่นฉุน ทำความระคายเคือง มีความเป็นพิษ
2. ซัลเฟอร์ไตรออกไซด์ (SO 3 ) เกิดจากการเติมออกซิเจนของ SO 2 ในบรรยากาศโดยได้รับอิทธิพลจากแสงอาทิตย์ เกิดจากการเผาไหม้โดยเกิดควบคู่กันกับ SO 2 ความชื้นในอากาศจะทำปฏิกิริยากับ SO 3อย่างรวดเร็วทำให้กลายเป็นกรดซัลฟิวริก (H 2 SO 4 )
3.ไฮโดรเจนซัลไฟด์ (H 2 S) ซึ่งเป็นแก๊สที่มีกลิ่นเหม็นเหมือนแก๊สไข่เน่า มีอันตรายต่อสุขภาพมากH 2 S อาจเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติจากการเน่าเปื่อยของสารอินทรีย์ น้ำโสโครก หรือเกิดขึ้นจากกิจกรรมของมนุษย์ เช่น จากอุตสาหกรรมบางชนิด
2.3 ออกไซด์ของไนโตรเจนในอากาศที่สำคัญ ได้แก่ไนตริกออกไซด์ (NO) และไนโตรเจนไดออกไซด์ (NO 2 ) NO X เกิดขึ้นจากการเผาไหม้ของถ่านหินหรือน้ำมัน NO X ส่วนใหญ่ในก๊าซไอเสียจะอยู่ในรูป NO และถูกออกซิไดส์อย่างรวดเร็วเป็น NO 2 ในบรรยากาศ ซึ่งก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์สามารถทำปฏิกิริยาในละอองน้ำเกิดเป็นกรดไนตริก (HNO 3 ) ที่สามารถกัดกร่อนโลหะได้ และ NO X ยังเป็นสารตั้งต้นในการเกิด photochemical oxidation อีกด้วย
2.4 ไฮโดรคาร์บอนต่าง (HC)
ในอากาศมีหลายประเภท เช่น Paraffins, Naphthenes, Olefinsและ Aromatic Compounds สารเหล่านี้ส่วนใหญ่มีความเข้มข้นต่ำและไม่มีพิษภัย อย่างไรก็ดีไฮโดรคาร์บอนเป็นสารตั้งต้นในการเกิด Photochemical Oxidation และเป็นสารก่อมะเร็งด้วย แหล่งของ HC มีทั้งรถยนต์ สถานที่เก็บกักน้ำมัน กลั่นน้ำมัน และกระบวนการพ่นสี โดยเฉพาะในเขตตัวเมืองรถยนต์จะเป็นแหล่งปัญหาสำคัญ
2.5 Photochemical Oxidant คือมลพิษขั้นทุติยภูมิ หมายถึง มลสารที่เกิดจากปฏิกิริยาPhotochemical Oxidation ซึ่งมีมลสารตัวอื่นเป็นสารตั้งต้นและมีรังสีอุลตราไวโอเลตเป็นตัวเร่งปฏิกิริยา สารตัวอย่างเช่นโอโซน , Formaldehyde, Peroxy Acetyl Nitrate (PAN)
ตอนที่3 ผลกระทบจากมลพิษทางอากาศ
ผลกระทบจากมลพิษทางอากาศ
1. ผลต่อสุขภาพอนามัยของมนุษย์1.1 เกิดการเจ็บป่วยหรือการตายที่เป็นแบบเฉียบพลัน (acute sickness or death) มีสาเหตุมาจากการที่ได้สัมผัสโดยการหายใจเอามลพิษทางอากาศที่ความเข้มข้นสูงเข้าสู่ปอด และในบรรดาผู้ที่เจ็บป่วยและตายนั้น
มักจะเป็นพวกผู้สูงอายุ เด็ก และผู้ที่ป่วยด้วยโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจหรือโรคเกี่ยวกับหัวใจอยู่แล้วมากกว่าคนกลุ่มอื่น
1.2 เกิดการเจ็บป่วยที่เป็นแบบเรื้อรัง (chronic disease) การเจ็บป่วยชนิดนี้เป็นผลเนื่องจากการได้สัมผัสกับมลพิษทางอากาศที่มีความเข้มข้นไม่สูงมากนักแต่ด้วยระยะเวลาที่นานมากพอ ที่จะทำให้เกิดปัญหาสุขภาพดังกล่าวได้ ที่พบบ่อย ได้แก่ โรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจต่าง
1.3 เกิดการเปลี่ยนแปลงของหน้าที่ทางสรีระต่าง (physiologycal functions) ของร่างกายที่สำคัญได้แก่การเสื่อมระสิทธิภาพในการทำงานทางด้านการระบายอากาศของปอด การนำพาออกซิเจนของฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดง การปรับตัวให้เข้ากับความมืดของตา หรือหน้าที่อื่น ของระบบประสาท เป็นต้น
1.4 เกิดอาการซึ่งไม่พึงประสงค์ต่าง (untoward symptoms) ตัวอย่างเช่น อาการระคายเคืองของอวัยวะสัมผัสต่าง เช่น ตา จมูก ปาก เป็นต้น
1.5 เกิดความเดือดร้อนรำคาญ (Nuisance) ตัวอย่างเช่น กลิ่น ฝุ่น ขี้เถ้า เป็นต้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้มีผลกระทบกระเทือนต่อความเป็นอยู่และจิตใจ ซึ่งอาจรุนแรงถึงขั้นที่เป็นสาเหตุของการโยกย้ายที่อยู่อาศัยเพื่อหลีกหนีปัญหาดังกล่าวก็ได้
2. ผลต่อพืช
2.1 อันตรายที่เกิดกับพืช หมายถึง ในกรณีที่มีมลพิษทางอากาศเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงซึ่งเป็นอันตรายต่อพืชและอันตรายดังกล่าวนี้สามารถวัดหรือตรวจสอบได้โดยตรง เช่นPAN ทำอันตรายต่อสปองจี้เซลล์ (spongy cells) O 3 ทำอันตรายโดยเท่าเทียมกันต่อเซลล์ทุกชนิดของใบ SO 2 ทำให้ใบของพืชสีจางลง ใบเหลือง เนื่องจากคลอโรฟีลล์ถูกทำลาย
2.2 ความเสียหายที่เกิดขึ้นกับพืช หมายถึง กรณีที่การเปลี่ยนแปลงอันวัดได้และทดสอบได้ของพืชซึ่งเป็นผลเนื่องมาจากมลพิษทางอากาศ ก่อให้เกิดผลกระทบต่อประโยชน์ใช้สอยของพืชนั้น เช่น ดอกกล้วยไม้เป็นรอยด่าง มีสีจางลงเป็นจุด เนื่องจากแก๊สอะเซทิลีน
3. ผลต่อสัตว์
สัตว์จะได้รับสารมลพิษเข้าสู่ร่างกายโดยการที่หายใจเอาอากาศที่มีมลพิษปะปนอยู่ด้วยเข้าสู่ร่างกายโดยตรง หรือโดยการที่สัตว์กินหญ้า หรือพืชอื่น ที่มีมลพิษทางอากาศตกสะสมอยู่ด้วยปริมาณมากพอที่จะเกิดอันตรายได้ มลพิษทางอากาศที่พบว่าทำให้เกิดอันตรายต่อปศุสัตว์มากที่สุด ได้แก่ อาร์เซนิกหรือสารหนูฟลูออรีน ตะกั่ว และแคดเมียม เป็นต้น
4. ผลต่อวัตถุและทรัพย์สิน
โดยกลไกที่ทำให้เกิดความเสียหายต่อวัตถุ ได้แก่ การขัดสีของฝุ่นทรายที่มีอยู่ในกระแสลมในบรรยากาศกับวัตถุต่าง เช่น อาคาร สิ่งก่อสร้าง หรือสถาปัตยกรรม เป็นเวลานานก็จะทำให้วัสดุสึกกร่อน การตกตะกอนของอนุภาคมลสารลงบนพื้นผิวของวัตถุทำให้เกิดความสกปรก และวิธีการทำความสะอาดหรือกำจัดอนุภาคเหล่านั้นออกก็อาจทำให้เกิดความเสียหายขึ้นได้ รวมทั้งการทำปฏิกิริยาเคมีและการกัดกร่อนระหว่างมลสารกับผิวของวัตถุก็อาจเกิดขึ้นได้ เช่น ทำให้โลหะผุกร่อน ยางและพลาสติกเปราะและแตก ผ้าเปื่อยและขาด ผิวเซรามิกส์ด้าน เป็นต้น

ตอนที่ 4 การควบคุมและป้องกันมลพิษทางอากาศ
การควบคุมและป้องกันมลพิษทางอากาศ
1. การออกกฎหมายควบคุม ทางหน่วยงานของรัฐได้ออกกฎหมายเพื่อควบคุมมลพิษทางอากาศให้อยู่
ในเกณฑ์มาตรฐาน ดังต่อไปนี้
พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ . . 2535
พระราชบัญญัติโรงงาน . . 2535
พระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง
พระราชบัญญัติการสาธารณสุข . . 2535
พระราชบัญญัติโรงงาน . . 2535
ประกาศกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม
กฎกระทรวงต่าง
2. การกำหนดมาตรฐาน (Air Quality Standards Control) ถูกกำหนดขึ้นเพื่อประโยชน์ต่อการใช้กฎหมายเพื่อการควบคุมดูแลคุณภาพอากาศทั้งในบรรยากาศและในสถานที่ประกอบการหรือบริเวณที่อยู่อาศัยให้อยู่ในระดับที่เกิดความปลอดภัย
2.1 มาตรฐานคุณภาพอากาศในบรรยากาศ (Ambient Air Quality Standards) ถูกกำหนดขึ้นเพื่อที่จะให้หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมคุณภาพอากาศใช้เป็นมาตรการสำหรับตรวจสอบและควบคุมดูแลให้สภาพแวดล้อมของบรรยากาศอยู่ในเกณฑ์ที่กำหนด
2.2 มาตรฐานคุณภาพอากาศจากแหล่งกำเนิด (Emission Air Quality Standard) แหล่งกำเนิดของอากาศเสียที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์นั้นเป็นแหล่งสำคัญที่จะต้องถูกควบคุมไม่ให้มีการปล่อยสารมลพิษทางอากาศจนอาจเกิดปัญหาต่อสุขภาพอนามัยของมนุษย์และสิ่งมีชีวิตอื่น อีกทั้งต้องไม่ก่อให้เกิดปัญหาต่อสิ่งแวดล้อมอื่น ด้วย
3. การควบคุมที่แหล่งกำเนิด (Source Control)
3.1 การควบคุมการปล่อยสารปนเปื้อนหรือการลดผลิตสารปนเปื้อนจากแหล่งกำเนิดให้น้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ ได้แก่ การเปลี่ยนกระบวนการหรือวิธีการผลิต การลดสารปนเปื้อนที่เกิดขึ้นและการนำสารปนเปื้อนที่เกิดขึ้นกลับมาใช้ประโยชน์ การออกแบบเครื่องมืออุปกรณ์ที่ใช้ในการทำงานให้เกิดความเหมาะสมที่จะนำไปใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพและต้องมีการควบคุมการทำงานและการบำรุงรักษาเครื่องจักรเครื่องมือและอุปกรณ์อยู่เสมอ
3.2 การควบคุมสารปนเปื้อนจากแหล่งกำเนิดก่อนปล่อยออกสู่บรรยากาศ เพื่อไม่ทำให้มีสารปนเปื้อนในบรรยากาศปริมาณมากจนอาจเกิดก่อให้เกิดอันตราย ได้แก่ การลดความเร็วของอากาศเสีย การเปลี่ยนทิศทางของอากาศเสีย การสกัดกั้นหรือกรองเอาอนุภาคออกจากอากาศ การใช้แรงดึงดูดกระแสไฟฟ้าสถิต การสันดาปเชื้อเพลิงให้สมบูรณ์ การดูดซับแก๊ส (Adsorption) การดูดซึม (Absorption) การทำให้เจือจางและการควบแน่น(Vapor Condensers)3.3 อุปกรณ์ที่ใช้ในการกำจัดอนุภาคในอากาศ มีอุปกรณ์จำนวนมากต้องเลือกใช้ให้เหมาะสมกับอนุภาคนั้น ดังต่อไปนี้
Cyclone ใช้หลักของแรงหมุนเหวี่ยง เหมาะกับการควบคุมอนุภาคขนาดใหญ่ (15-40 ไมครอน ) ไม่เหมาะกับอนุภาคขนาดเล็กกว่า 10 ไมครอน วิธีค่าใช้จ่ายในการลงทุนและการบำรุงรักษาน้อยแต่ประสิทธิภาพการทำงานต่ำ
Bag House Collector ใช้หลักของการกรอง ซึ่งจะแยกอนุภาคโดยให้ผ่านตัวกรอง ตัวกรองจะเป็นถุงผ้าฝ้ายหรือไฟเบอร์กลาสหรือใยหินหรือไนลอน อุปกรณ์นี้เหมาะกับการกำจัดอนุภาคขนาดเล็ก แต่ไม่เหมาะกับอนุภาคที่มีความชื้น อุปกรณ์นี้มีประสิทธิภาพสูง ค่าก่อสร้างและการดำเนินงานสูง แต่ทนความร้อนสูงได้ไม่ดี
Wet Collector หรือ Wet Scrubber อุปกรณ์นี้ใช้หลักของการชนหรือการตกกระทบ สามารถใช้กำจัดอนุภาค ก๊าซและก๊าซที่มีฤทธิ์กัดกร่อนได้ ทนความร้อนสูง ใช้ได้ทั้งระบบเปียกและแห้ง แยกอนุภาคโดยทำให้อนุภาคเปียกโดยสัมผัสกับละอองน้ำในอากาศ เมื่ออนุภาคเปียกจะรวมกันเป็นกลุ่มก้อน อุปกรณ์นี้มีประสิทธิภาพสูง แต่ค่าใช้จ่ายสูงกว่าในการบำรุงรักษาและการลงทุน
Electrostatic Precipitator (EP) ใช้หลักของความแตกต่างทางประจุไฟฟ้า โดยการทำให้อนุภาคเกิดประจุไฟฟ้าตรงข้ามกับแผ่นดักจับแล้วเกิดการดึงดูด อุปกรณ์นี้ไม่เหมาะสำหรับกำจัดอนุภาคที่เหนียวหนืด มีประสิทธิภาพสูงถึง 99% แต่ค่าก่อสร้างสูงและใช้พื้นที่มาก




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น